กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการนักเรียนสุขภาพดี ด้วยการคัดแยกขยะและบริโภคอาหารปลอดภัย โรงเรียนอันซอเรี๊ยะห์อัดดีนียะห์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงเรียนอันซอเรียะห์อัดดีนียะห์

1.นางกาศมา นาคกระวัศ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน เบอร์โทรศัพท์ 081-7488373 (หลัก)
2.นายตายุดดีน อาเล็ม ตำแหน่ง ครู เบอร์โทรศัพท์ 095-0734220
3.นายฟาดิล นาคกระวัศ ตำแหน่ง ครู เบอร์โทรศัพท์ 0847474034
4.นายไมตรี หยังดี ตำแหน่ง ครู เบอร์โทรศัพท์ 0950316616
5.นางสาวหนุนยานี ลำมาลี ตำแหน่ง ครู เบอร์โทรศัพท์ 0935981788

โรงเรียนอันซอเรียะห์อัดดีนียะห์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เพื่อเพิ่มจำนวนนักเรียนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle)

 

20.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนนักเรียนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)

 

10.00
3 เพื่อเพิ่มผักปลอดสารพิษให้นักเรียนได้บริโภค

 

35.00

โรงเรียนอันซอเรียะห์อัดดีนียะห์ เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะนับว่าเป็นปัญหาของโรงเรียน สาเหตุเนื่องมาจากนักเรียนมีจำนวนมากขึ้น ขยะก็เพิ่มขึ้น สถานประกอบการ ร้านค้าเพิ่มขึ้น และสิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ขยะ ย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย จนกระทั่งการจัดการขยะไม่สมดุลกับการเพิ่มของจำนวนขยะในแต่ละวัน ซึ่งจะมีขยะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน สร้างปัญหาอย่างมากทั้งในเรื่องทัศนวิสัย กลิ่น ความสะอาด มีผลต่อสุขภาวะนักเรียน เกิดปัญหาขยะ ถึงแม้ได้จัดการและแก้ปัญหา แต่ผลลัพธ์ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ประกอบกับนักเรียนยังขาดจิตสำนึกในการทิ้งขยะให้เป็นที่ การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง รวมทั้งการขาดความรู้เกี่ยวกับการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ เพราะพอได้ยินคำว่า ขยะ หลายๆคนจะไม่สนใจ ละเลยไม่เห็นคุณค่า ทั้งที่ขยะเหล่านั้นหากนำมาคัดแยกอย่างถูกวิธี ก็สามารถสร้างประโยชน์ได้และยังสามารถนำกลับมาหมุนเวียนเข้ากระบวนการผลิตเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง และยังมีเศษอาหารที่เหลือจากอาหารกลางวันของนักเรียนซึ่งเป็นขยะอินทรีย์ก็สามารถนำมาทำปุ๋ยหมักในการปลูกผักปลอดสารพิษ เพราะปัจจุบันผักที่นำมาใช้ปรุงอาหารในโรงเรียนเป็นผักที่จัดซื้อจากท้องตลาด ซึ่งผักส่วนใหญ่มีการปนเปื้อนสารเคมี โดยปกติก่อนการปรุง ถึงจะล้างทำความสะอาดอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถชะล้างสารตกค้างออกได้ทั้งหมด ส่งผลให้นักเรียนอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งนี้เนื่องจากการบริโภคพืชผักที่ไม่ปลอดภัยทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆ ได้ซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาวหากเด็กรับประทานผักมีสารเคมีปนเปื้อน แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการรณรงค์ส่งเสริมในเรื่องการลดละเลี่ยงเลิกการใช้สารพิษในการเกษตรแต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงชินกับรูปแบบเดิมโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยทางด้านสุขภาพของผู้บริโภคการปลูกพืชผักสวนครัวที่ไร้สารพิษตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่ดี มีกิจกรรมร่วมกัน สามารถพึ่งพาตนเอง “ปลูกเอง กินเอง” และสามารถดำเนินชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ลดความเสี่ยงจากสารเคมีสะสมในร่างกาย เพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง จากการได้รับประทานผักปลอดสารพิษในปริมาณที่เพียงพอ ทำให้สุขภาพดีแข็งแรงปลอดจากสารพิษตกค้าง ซึ่งจะส่งผลดีต่อนักเรียน ครู ชุมชน และสิ่งแวดล้อมต่อไป
ดังนั้น โรงเรียนอันซอเรียะห์อัดดีนียะห์ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาขยะ การคัดแยกขยะในโรงเรียน และการปลูกผักปลอดสารเคมี เพิ่มอาหารปลอดภัยให้นักเรียนได้บริโภค จึงได้จัดทำโครงการนักเรียนสุขภาพดี ด้วยการคัดแยกขยะและบริโภคอาหารปลอดภัย โรงเรียนอันซอเรียะห์อัดดีนียะห์ เพื่อให้นักเรียน ครู ชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัย ในขณะเดียวกันก็มีสุขภาพจิตที่สดใส ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ด้วยการร่วมมือร่วมใจกันดำเนินการลดและคัดแยกขยะมูลฝอย ตามหลักการ 3Rs นั่นคือ การใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ นำสู่โรงเรียนปลอดขยะตามนโยบายของรัฐบาล และได้นำขยะอินทรีย์มาทำปุ๋ยหมักในการปลูกผักปลอดสารเคมีเพื่อเพิ่มอาหารปลอดภัยให้กับนักเรียน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนนักเรียนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle)

ร้อยละของนักเรียนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle)

10.00 80.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนนักเรียนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)

ร้อยละของนักเรียนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

20.00 80.00
3 เพื่อเพิ่มผักปลอดสารพิษให้นักเรียนได้บริโภค

ร้อยละของนักเรียนที่ได้บริโภคผักปลอดสารพิษอย่างพอเพียง

35.00 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
1.ประชุมชี้แจงคณะครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบเกี่ยวกับโครงการ
2.จัดอบรมกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด ในเรื่องการจัดการขยะและการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน
กำหนดการ
เวลา 08.00 น.-08.30 น.- ลงทะเบียน
เวลา 09.30 น.-09.00 น.- เปิดโครงการ โดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน
เวลา 09.00 น.-10.00 น.- ให้ความรู้ชนิดขยะและคัดแยกขยะ
เวลา 10.00 น.-11.00 น.- การจัดการขยะแต่ละประเภทและการนำมาใช้เป็นประโยชน์
เวลา 11.00 น.-12.00 น.- การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี
เวลา 12.00 น.-13.00 น.- พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 น.-16.00 น.-ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ และประโยชน์ของขยะและประดิษฐ์สิ่งของจากขยะ ดังนี้ 1. กล่องใส่เอกสาร 2. ถังขยะ 3. กล่องทิชชู 4.ไม้กวาดจากขวดพลาสติก
เวลา 16.00 น.- 16.30 น. - สรุปและปิดการอบรม
หมายเหตุ - พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.30-10.45 น. และเวลา 14.00-14.15 น.

งบประมาณ 11,500 บาท
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน 1 มื้อๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน 2 มื้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
4. ค่าวัสดุประกอบการอบรม ประกอบด้วย สมุดบันทึก ปากกา แฟ้มพลาสติกแบบกระดุม ชุดละ 35 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 1,750 บาท
5. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท
6. ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ในโครงการ (ค่าเข้าเล่มและจัดทำรูปเล่มหลักฐานเอกสาร,ค่าถ่ายเอกสาร,ค่าพริ้นรูป ) เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในเรื่องขยะและสามารถจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนได้ดีขึ้นได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11500.00

กิจกรรมที่ 2 ปลูกผักสวนครัว พืชรั้วกินได้

ชื่อกิจกรรม
ปลูกผักสวนครัว พืชรั้วกินได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
1.มีการปลูกผักสวนครัวพืชรั้วกินได้ โดยให้ปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ที่ได้จากการคัดแยกมาทำปุ๋ยหมัก
2.นำผักที่ปลูกได้มาทำอาหารกลางวันให้นักเรียนเป็นการเพิ่มอาหารที่ปลอดสารเคมี

งบประมาณ 2,400 บาท
1. ค่าเมล็ดพันธุ์ผัก เป็นเงิน 300 บาท
2. ปุ๋ยคอก จำนวน 10 กระสอบ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 500 บาท
3. หน้าดิน 1 คันรถ เป็นเงิน 700 บาท
4. บัวรดน้ำ ขนาด 10 ลิตร จำนวน 5 อัน ๆ ละ 180 บาท เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีพืชผักสวนครัว ที่ปลอดภัยให้นักเรียนได้บริโภคเป็นอาหารกลางวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประดิษฐ์ของใช้จากขยะรีไซเคิล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประดิษฐ์ของใช้จากขยะรีไซเคิล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
1.จัดกิจกรรมประดิษฐ์ของใช้จากขยะรีไซเคิล ในกิจกรรมชุมนุมทุกสัปดาห์
1.1 กล่องใส่เอกสาร
1.2 ถังขยะ
1.3 กล่องทิชชู
1.4 ไม้กวาดจากขวดพลาสติก

งบประมาณ
1.กรรไกรตัดกระดาษ จำนวน 5 อัน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 175 บาท
2.ปืนกาวยิงไฟฟ้าขนาดใหญ่ จำนวน 5 อันๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 1250 บาท
3.กาวแท่งขนาดใหญ่ จำนวน 50 แท่ง เป็นเงิน 400 บาท
4.กาวลาเท็ก TOA ขนาด 32 ออนซ์ จำนวน 5 ขวด ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 750 บาท
5.เชือกปอ ขนาด 8 มิลลิเมตร จำนวน 5 ม้วน ๆ ละ 95 บาท เป็นเงิน 475 บาท
6.คัดเตอร์ จำนวน 5 อัน ๆละ 45 บาท เป็นเงิน 225 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีของใช้จากการนำขยะรีไซเคิลมาใช้ในการเรียนการสอนและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3275.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,175.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.โรงเรียนสามารถลดปริมาณขยะในพื้นที่ และสามารถจัดการนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามวิธีการที่เหมาะสม
2. นักเรียนได้บริโภคผักปลอดสารพิษอย่างพอเพียง


>