กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและเฝ้าระวังติดตามกลุ่มเสี่ยงNCD ชุมชนปานชูรำลึก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

อสม.ชุมชนปานชูรำลึก

1.นางผกาพรรณ จุนฉีด 086-9587198
2.นางกนิษฐา รับไทรทอง 098-3452799
3.นางสาววิชญา แซ่ลิ้ม 086-4093847
4.นางไพวรรณ กัลยาศิริ 081-4131461
5.นางโศรายา ธีรรัตนกุล 080-5402499

ที่ทำการชุมชนปานชูรำลึก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับการคัดกรองและพบความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน (คน)

 

20.00
2 จำนวนประชาชนที่ได้รับการคัดกรองและพบความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (คน)

 

20.00
3 อสม.ชุมชนปานชูรำลึกที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง (คน)

 

10.00

โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานเป็นโรคติดต่อเรื้อรังและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานแต่ความชุกและอุบัติการณ์กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในชุมชนเมืองและในชนบท อีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานนั้นถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจะเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจ หรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำติดเชื้อง่ายหลอดเลือดตีบหรือแตกในสมองทำให้เป็นอัมพาตได้ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัวคือจะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆการรักษาพยาบาลรวมทั้งสูญเสียอวัยวะและความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มากกว่าคนปกติรวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วยนอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพซึ่งทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เนื่องจากการทำงานของอสม.ในชุมชนกับประชากรที่อสม.รับผิดชอบในชุมชนเป็นกลุ่มเสี่ยง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตัวเอง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตัวเอง

40.00 40.00
2 เพื่อให้ อสม ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตัวเอง

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตัวเอง

10.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 40
คณะวิทยากร 3
อสม.คณะทำงาน 12
อสม.ชุมชนปานชูรำลึกที่ป่วยด้วย DM และ HT 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รูปแบบกิจกรรม
ครั้งที่ 1 ลงทะเบียน คัดกรองความดันโลหิต คัดกรองเบาหวานและให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
ครั้งที่ 2 ลงทะเบียน คัดกรองความดันโลหิตสูง คัดกรองเบาหวานแก่กลุ่มเป้าหมาย
ครั้งที่ 3 คัดกรองความดันโลหิตสูง คัดกรองเบาหวานแก่กลุ่มเป้าหมาย

กำหนดการจัดอบรม
07.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน/คัดกรองความดันโลหิตและเบาหวาน/แจกอาหารว่างและเครื่องดื่ม
09.00-12.00 น.ให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยวิทยากร คุณอัญชนา คุณลักษณ์ธำรง
12.00-13.00 น.พักรับประทานอาหารเที่ยง
13.00-14.00 น. ให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
14.30 น.สรุปโครงการ

งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมาย วิทยากร และคณะทำงาน 1 มื้อๆละ 70 บาทจำนวน 65คน เป็นเงิน 4,550 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 30บาท จำนวน 65คน เป็นเงิน 1,950 บาท
3.ค่าวิทยากร 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
4.ค่าป้ายไวนิล 1*3 เมตรๆละ 150 บาท เป็นเงิน 450บาท
5.ค่าถ่ายเอกสารแบบตรวจสุขภาพสำหรับกลุ่มเป้าหมาย 50 ชุดๆละ10 บาท เป็นเงิน 500 บาท
6.เครื่องเจาะวัดค่าน้ำตาล จำนวน 2 ชุดๆละ 3,519 บาท เป็นเงิน 7,038 บาท
7.แผ่นพร้อมเข็มชุดละ 600บาท 6ชุด เป็นเงิน 3,600บาท
8.สำลีพร้อมแอลกฮอล์ 5 กล่องๆละ 100 บาท เป็นเง็น 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมอบรมและมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตัวเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20988.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามคัดกรองระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
ติดตามคัดกรองระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รูปแบบกิจกรรม เป็นการคัดกรองเพื่อติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายงดน้ำ งดอาหาร เจาะเลือดซ้ำและวัดความดันโลหิต

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการประเมินระดับน้ำตาล และความดันโลหิต ของกลุ่มเป้าหมายครั้งที่ 2

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามคัดกรองระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 3

ชื่อกิจกรรม
ติดตามคัดกรองระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 3
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รูปแบบกิจกรรม คัดกรองน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต สรุปผลการดำเนินโครงการ และรวบรวมรายชื่อกลุ่มเป้าหมายที่จำเป็นต้องส่งต่อเพื่อรับการรักษาพยาบาลต่อไป

งบประมาณ
1. ค่าสรุปโครงการ 2 เล่ม เล่มละ 250 บาท *2เล่ม เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผลการประเมินระดับน้ำตาล และความดันโลหิต ของกลุ่มเป้าหมายครั้งที่ 3
2.สรุปผลการดำเนินโครงการจำนวน 2 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,488.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง
2.ประชาชนสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูงได้อยู่ในเกณฑ์ปกติ


>