กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามเกณฑ์คุณภาพการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม (GREEN & CLEAN Sub-district Health Promoting Hospital (GCSh)) ปี ๒๕๖๘

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามเกณฑ์คุณภาพการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม (GREEN & CLEAN Sub-district Health Promoting Hospital (GCSh)) ปี ๒๕๖๘

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้านการสาธารณสุขในอดีตมีนโยบายพัฒนานโยบายการสาธารณสุขที่เน้นในการให้บริการรักษาพยาบาลเป็นหลัก มีการขยายบริการโดยการสร้างสถานบริการสาธารณสุขระดับต่างๆ ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศจนกระทั่งมีการกำหนดทิศทางการพัฒนามาสู่นโยบายสร้า

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้านการสาธารณสุขในอดีตมีนโยบายพัฒนานโยบายการสาธารณสุขที่เน้นในการให้บริการรักษาพยาบาลเป็นหลัก มีการขยายบริการโดยการสร้างสถานบริการสาธารณสุขระดับต่างๆ ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศจนกระทั่งมีการกำหนดทิศทางการพัฒนามาสู่นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อพัฒนาการสาธารณสุขให้ครอบคลุมทั้งด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีเป้าหมายการพัฒนาให้ได้มาตรฐานเสมอภาคและเท่าเทียมกันโดยกำหนดยุทธศาสตร์นโยบายและแผนเพื่อให้มีการดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุม ๕ ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรค การฟื้นฟูสภาพ การรักษาพยาบาล การและการดูแลสุขภาพตนเองและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ซึ่งงานแต่ละด้านจะมีความสอดคล้องกันแบบบูรณาการ
การจัดการด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดีมีผลโดยตรงต่อการมีสุขภาพดีของประชาชนในชุมชนที่เสริมคุณภาพงานด้านการป้องกันควบโรคและงานระบาดวิทยา โดยเฉพาะกลุ่มโรคติดต่อระบบทางเดินอาการ และกลุ่มโรคติดต่อที่นำโดยแมลง รวมทั้งเป็นปัจจัยเอื้อต่อการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีด้านอื่น การจัดการขยะครัวเรือน โดยปฏิบัติตามแนวทาง 3Rs กล่าวคือ Reduce : ใช้ให้น้อยลง ลดการใช้ ใช้เท่าที่จำเป็นรวมทั้งการเลือกใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างยาวนานReuse : การนำกลับมาใช้ซ้ำ Recycle : การแปรรูปกลับมาใช้ใหม่
หน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิทุกประเภทและทุกสังกัดจะต้องดำเนินการพัฒนาให้ได้อย่างน้อยตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภพ การพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามเกณฑ์คุณภาพการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม (GREEN & CLEAN Hospital ) เป็นการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข หน่วยบริการใช้เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาหน่วยบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับ และได้พัฒนาแนวคิดมาเป็น GREEN & CLEAN Sub - district Health Promoting Hospital (GCSh) และได้เชิญชวนองค์กรภายนอกรวมทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง ซึ่งมีหน่วยบริการสาธารณสุขระดับสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดเข้าร่วมโครงการ โดยมีกิจกรรมการพัฒนา ดังนี้
ส่วนที่ ๑ การพัฒนากิจกรรม GREEN & CLEAN ใน รพ.สต. หมวด ๑ CLEAN: การสร้างกระบวนการพัฒนา หมวด ๒ G : GARBAGE การจัดการมูลฝอยทุกประเภท หมวด ๓ R : RESTROOM การพัฒนาส้วมมาตรฐานและการจัดการสิ่งปฏิกูล หมวด ๔ E : ENERGY การจัดการด้านพลังงานและทรัพยากร หมวด ๕ E : ENVIRONMENT การจัดการสิ่งแวดล้อมใน รพ.สต หมวด ๖ N : NUTRITION การส่งเสริมด้านอาหารและน้ำปลอดโรคปลอดภัย และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชน ส่วนที่ ๒ การพัฒนากิจกรรม GREEN Community
หมวด ๗ การพัฒนา GREEN ลงสู่ชุมชนเพื่อให้เกิด GREEN Community โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือได้ศึกษาและดำเนินการพัฒนาสิ่งแนวล้อมตามแนวคิด GREEN & CLEAN Hospital ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในหน่วยบริการสาธารณสุขตั้งแต่ระดับโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลระดับอำเภอขึ้นไป โดยนำมาปรับใช้ในหน่วยบริการ และมีแนวคิดว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติตามแนวคิดดังกล่าว ซึ่งนอกจากเกิดประโยชน์ในส่วนของการพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชนแล้ว ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นแนวทางการพัฒนาให้หน่วยบริการอื่นได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงานในโอกาสต่อไป
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือจึงได้จัดทำ “โครงการการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามเกณฑ์คุณภาพการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม (GREEN & CLEAN Sub-district Health Promoting Hospital (GCSh)) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ ปี ๒๕๖๘” เพื่อพัฒนาการจัดการด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีผลโดยตรงต่อการมีสุขภาพดีของประชาชน และเกิดภูมิทัศน์ที่ดีของหน่วยบริการ

20.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมความรู้แกนนำชุมชน บุคลากร ภาคีเครือข่าย ที่เกี่ยวข้อง และแต่งตั้งคณะทำงาน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ - มีแกนนำชุมชน บุคลากร และภาคีเครือข่าย ร่วมกิจกรรม ดังนี้
๑.แกนนำชุมชน และแกนนำสุขภาพ จำนวน๓ หมู่บ้านรวม ๗๐คน ๒.บุคลากรสาธารณสุข๔คน ๓.ภาคีเครือข่าย ๕ คน

0.00
2 เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการโดยจัดกิจกรรม Kick Off โครงการ
  • มีการประชาสัมพันธ์โครงการโดยจัดกิจกรรม Kick Off โครงการ  ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกหมู่บ้าน (๓ หมู่บ้าน : ร้อยละ ๑๐๐)
0.00
3 กิจกรรมพัฒนาหน่วยบริการ/เครือข่าย GREEN / GREEN Community และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม

๑. มีกิจกรรมพัฒนาหน่วยบริการตามเกณฑ์ GREEN ๑ แห่ง ๒. สนับสนุนกิจกรรม GREEN Community และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม ๓ หมู่บ้าน/ชุมชน ๓. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือผ่านเกณฑ์(GREEN & CLEAN Sub-district Health Promoting Hospital (GCSh))

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมความรู้แกนนำชุมชน บุคลากร ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และแต่งตั้งคณะทำงาน (จำนวน ๗๐ คน : เวลา ครึ่งวัน)

ชื่อกิจกรรม
อบรมความรู้แกนนำชุมชน บุคลากร ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และแต่งตั้งคณะทำงาน (จำนวน ๗๐ คน : เวลา ครึ่งวัน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ป้ายโครงการ ขนาด๑x๔ เมตร จำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน ๖๐๐บาท
๒.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๑ มื้อx ๓๐ บาท เป็นเงิน ๒,๑๐๐ บาท
๓.ค่าตอบแทนคุณวิทยากร ๓ ชั่วโมง X ๖๐๐ บาท = ๑,๘๐๐ บาท
๔.ค่าตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท โดยจัดฐานการเรียนรู้ ๕ ฐาน คือ
ฐานที่ ๑ การจัดการมูลฝอยทุกประเภท
ฐานที่ ๒ การพัฒนาส้วมมาตรฐานและการจัดการสิ่งปฏิกูล
ฐานที่ ๓ การจัดการด้านพลังงานและทรัพยากร
ฐานที่ ๔ การจัดการสิ่งแวดล้อม
ฐานที่ ๕ การส่งเสริมด้านอาหารและน้ำที่ปลอดโรคปลอดภัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โครงการโดยจัดกิจกรรมKick Off โครงการ ( ๙๐ คน ; เวลา ครึ่งวัน

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการโดยจัดกิจกรรมKick Off โครงการ ( ๙๐ คน ; เวลา ครึ่งวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด๑x๒ เมตร จำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน ๔๐๐ บาท x ๓ แผ่น = ๑,๒๐๐ บาท
๒.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๑ มื้อ x ๓๐ บาท เป็นเงิน ๒,๗๐๐ บาท
๓. ค่าวัสดุ ๖,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๙.๙๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9900.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมพัฒนาหน่วยบริการ/เครือข่าย GREEN / GREEN Community และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม - ประชุมกลุ่มแกนนำเพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการจำนวน ๒๑ คน : ใช้เวลา ครึ่งวัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาหน่วยบริการ/เครือข่าย GREEN / GREEN Community และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม - ประชุมกลุ่มแกนนำเพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการจำนวน ๒๑ คน : ใช้เวลา ครึ่งวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๑ มื้อ x ๓๐ บาท เป็นเงิน๖๓๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
630.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,030.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้เข้าประชุมมีความรู้และสามารถพัฒนากิจกรรมส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง
๒. หน่วยงานมีการพัฒนากิจกรรม CLEAN ที่ถูกต้อง ครบถ้วน ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ
๓. หน่วยบริการสามารถขยายผลกิจกรรม CLEAN Community ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย
๔. ได้รับการรับรองการพัฒนาตามโครงการจากองค์กรหรือหน่วยงานรับผิดชอบระดับจังหวัด


>