กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพนางตุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรู้เร็ว รีบรักษา ยุติปัญหาวัณโรค หมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 4 และ 13 ตำบลพนางตุง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพนางตุง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลพนางตุง (เขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.ทะเลน้อย)

1. นางบำเพ็ญปิดเมือง
2. นางกนกพรรัตนะ
3. นางสุพรบุญช่วย
4. นายชาญจเรทัพชัยยุทธ
5. นางวีระวรรณพัดชา

พื้นที่หมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 4 และ 13 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย โดยองค์การอนามัยโลกจัดให้ไทยอยู่ในกลุ่ม 30 ประเทศ ที่มีปัญหาวัณโรคสูง การดำเนินงานเพื่อยุติวัณโรคให้ประสบความสำเร็จนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกระดับ สถานการณ์วัณโรคในพื้นที่ภาคใต้ตอน

 

71.20
2 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน

 

5.09

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย โดยองค์การอนามัยโลกจัดให้ไทยอยู่ในกลุ่ม 30 ประเทศ ที่มีปัญหาวัณโรคสูง การดำเนินงานเพื่อยุติวัณโรคให้ประสบความสำเร็จนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกระดับ
สถานการณ์วัณโรคในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง หรือเขตสุขภาพที่ 12 คาดประมาณว่า ในปี 2565 จะมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ และกลับเป็นซ้ำประมาณ 7,400 ราย แต่ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 16 มีนาคม 2565 มีผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนรักษาเพียง 1,617 ราย สำหรับในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 4 และ 13 ตำบลพนางตุง ปี 2567 มีผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนรักษาเพียง 2 ราย (หมู่ที่ 3 กับ 13) คิดเป็น 78.80 ต่อแสนประชากร ซึ่งต่ำกว่าคาดประมาณ 71.20 ต่อแสนประชากร แสดงว่ายังมีผู้ป่วยอีก 2 ราย ที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษา และกำลังแพร่เชื้ออยู่ในชุมชน
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลพนางตุง หมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 4 และ 13 ตำบลพนางตุง (เขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.ทะเลน้อย) เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาวัณโรค จึงได้เขียนโครงการเพื่อเร่งค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงวัณโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เชิงรุก

สามารถค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ตามคาดประมาณการ 150 ต่อแสนประชากร

0.00
2 เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในชุมชน

อัตราการรักษาหายขาดของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการตรวจคัดกรองวัณโรคเบื้องต้น

ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตรวจคัดกรองวัณโรคเบื้องต้น ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 111
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,070
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมการสัมภาษณ์อาการสงสัยวัณโรค

ชื่อกิจกรรม
อบรมการสัมภาษณ์อาการสงสัยวัณโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท จำนวน 1 รุ่น เป็นเงิน 900.- บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการอบรม (อสม. 54 คน วิทยากร 1 คน เจ้าหน้าที่ 2 คน) จำนวน 57 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,710.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2568 ถึง 10 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. จัดอบรม 1 ครั้ง 2. มีผู้เข้าร่วมอบรมร้อยละ 100 ผลลัพธ์ 1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 2. ผู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติได้ถูกต้องร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2610.00

กิจกรรมที่ 2 เชิญกลุ่มเสี่ยงสูงไปใช้บริการเอกซเรย์

ชื่อกิจกรรม
เชิญกลุ่มเสี่ยงสูงไปใช้บริการเอกซเรย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าพาหนะในการเดินทางลงพื้นที่ เชิญกลุ่มเสี่ยงสูงไปใช้บริการเอกซเรย์ (ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมน้ำตาลไม่ได้ 33 ราย , ผู้สูบบุหรี่ 65 ปีขึ้นไป 78 ราย) โดย อสม. จำนวน 5 หมู่ๆ ละ 2 คนๆ ละ 100 บาท     เป็นเงิน 1,000.- บาท
  2. ค่าถ่ายเอกสารใบเชิญกลุ่มเสี่ยงสูงไปใช้บริการเอกซเรย์ (ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมน้ำตาลไม่ได้ 33 ราย , ผู้สูบบุหรี่ 65 ปีขึ้นไป 78 ราย) จำนวน 111 แผ่นๆ ละ 0.50 บาท เป็นเงิน 55.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 มีนาคม 2568 ถึง 28 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. เชิญกลุ่มเสี่ยงไปเอกซเรย์ร้อยละ 100 ผลลัพธ์ 1. กลุ่มเสี่ยงไปเอกซเรย์ร้อยละ 85 2. พบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เพิ่มขึ้น 2 ราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1055.00

กิจกรรมที่ 3 เยี่ยมติดตามสัมภาษณ์กลุ่มเสี่ยงสูง

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมติดตามสัมภาษณ์กลุ่มเสี่ยงสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าพาหนะในการเดินทางลงพื้นที่ สัมภาษณ์กลุ่มเสี่ยงสูง (ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมน้ำตาลไม่ได้ 33 ราย , ผู้สูบบุหรี่ 65 ปีขึ้นไป 78 ราย) โดย อสม. จำนวน 5 หมู่ๆ ละ 2 คนๆ ละ 100 บาท  เป็นเงิน 1,000.- บาท
  2. ค่าถ่ายเอกสารแบบสัมภาษณ์ จำนวน 222 แผ่นๆ ละ 0.50 บาท    เป็นเงิน 111.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 4 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. เยี่ยมติดตามสัมภาษณ์กลุ่มเสี่ยงสูง ทุกราย 1 ครั้ง ผลลัพธ์ 1. ตัดกรองกลุ่มเสี่ยงสูงด้วยคำถามอาการสงสัยวัณโรค 6 ข้อ (กรณีไม่ไปเอกซเรย์)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1111.00

กิจกรรมที่ 4 สัมภาษณ์อาการสงสัยวัณโรค ในกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป ด้วยคำถาม 6 ข้อ

ชื่อกิจกรรม
สัมภาษณ์อาการสงสัยวัณโรค ในกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป ด้วยคำถาม 6 ข้อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าพาหนะในการเดินทางลงพื้นที่ สัมภาษณ์ผู้มีอาการสงสัยป่วยเป็นวัณโรค อายุ 15 ปีขึ้นไป ด้วยคำถาม 6 ข้อ โดย อสม. จำนวน 54 คนๆ ละ 100 บาท        เป็นเงิน 5,400.- บาท
  2. ค่าถ่ายเอกสารแบบสัมภาษณ์ จำนวน 2,181 แผ่นๆ ละ 0.50 บาท  เป็นเงิน 1,080.- บาท
  3. ค่าวัสดุ เครื่องเขียน อุปกรณ์สำหรับใช้ในการลงพื้นที่สัมภาษณ์
    • ค่าปากกา จำนวน 54 ด้ามๆละ 5 บาท      เป็นเงิน   270.- บาท
    • ค่าแฟ้มหนีบเอกสาร A4 จำนวน 54 แฟ้มๆ ละ 55 บาท   เป็นเงิน 2,970.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
7 เมษายน 2568 ถึง 30 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.สัมภาษณ์อาการสงสัยวัณโรค ในกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป ด้วยคำถาม 6 ข้อ 1 ครั้ง ผลลัพธ์ 1. พบกลุ่มเสี่ยงมีอาการสงสัยวัณโรค 3+ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 2. ส่งต่อกลุ่มเสี่ยง 3+ เอกซเรย์วัณโรคปอดที่ รพ.ควนขนุน 3. พบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เพิ่มขึ้น 2 ราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,496.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. พบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ตามคาดประมาณการ 150 ต่อแสนประชากร
2. อัตราการหายขาดของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ร้อยละ 80
3. ลดการแพร่ระบาดของวัณโรคในชุมชน


>