กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาการจัดการสุขภาพของประชาชนตำบลยะหาเพื่อห่างไกล NCDs ปี2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ

หมู่ที่ 4,5,7,8

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงคุมระดับความดันได้ไม่ดี

 

51.62
2 ร้อยละของผู้ป่วยของเบาหวานคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี

 

64.58
3 ร้อยละการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต

 

10.60
4 ร้อยละการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดสมอง

 

1.97
5 เกิดผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่

 

11.00
6 เกิดผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่

 

33.00

โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่ทำให้สูญเสียชีวิตทันที แต่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เกิด
ความสูญเสียทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมี ภาวะแทรกซ้อน ทำ ให้เกิดข้อจำกัดด้าน
ความสามารถหรือมีความพิการหรือเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร สิ่งเหล่านี้เกิดจากพฤติกรรมทั้งสิ้น
คลินิก NCDของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตา บลบ้านลากอมีผู้ป่ วยความดันโลหิตสูง 405 ราย สามารถ
ควบคุมความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 48.38 ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิต ร้อยละ 51.62 เกิด
ภาวะแทรกซ้อนทางไต ร้อยละ 10.60 ภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดสมองจา นวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.97
โรคหลอดเลือดหัวใจ 2 รายคิดเป็นร้อยละ 0.48 และมีผู้ป่ วยเบาหวาน จา นวน 147 ราย สามารถควบคุมระดับ
น้า ตาลในเลือดร้อยละ 35.42 ไม่สามารถคุมระดับน้า ตาลในเลือดได้ ร้อยละ 64.58 ผู้ป่ วยเบาหวานรายใหม่ 12
ราย ผู้ป่ วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ 33 ราย จากข้อมูลจานวนรายใหม่ของความดันโลหิตสูงและเบาหวานมี
เพิ่มขึ้นทุกๆปี
ดังนั้นเพื่อให้มีการดูแลสุขภาพที่ดีแบบยึดหลักผู้ป่ วยเป็ นศูนย์กลางพร้อมส่งเสริมให้เกิดการดูแลสุขภาพ
ตนเองที่เหมาะสมและมีคุณภาพสร้างความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง(Health Literacy Program)
ปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อที่สาคัญต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำจิตอาสาเพื่อสร้างความรอบรู้ในการ จัดการสุขภาพ

1.ร้อยละ100ของแกนนำจิตอาสาเข้ารับการพัฒนาศักยภาพในการ จัดการสุขภาพ

67.00 1.00
2 เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนรายใหม่ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ร้อยละ 40ของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 60ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี

146.00 1.00
3 เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม และลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรครายใหม่

ร้อยละ 90 การตรวจติดตามกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3ส 3อ.1น

335.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 67
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 291
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 235
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดบริการคลินิกเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงวิถีใหม่ เพื่อตอบสนองต่อการจัดการสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดบริการคลินิกเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงวิถีใหม่ เพื่อตอบสนองต่อการจัดการสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.นำข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงจากการคัดกรองภาวะสุขภาพมาประมวลเพื่อจัดระดับความเสี่ยงทางคลินิกแยกเป็นกลุ่มผู้ป่วยตามความรุนแรงเป็น 3 กลุ่ม
ผู้ป่วยคุมโรคได้ดี (สีเขียว) ผู้ป่วยคุมโรคได้ปานกลาง (สีเหลือง)ผู้ป่วยคุมโรคไม่ได้(สีแดง) 2.กำหนดวิธีการให้บริการที่แตกต่างในแต่ละกลุ่ม •ผู้ป่วยคุมโรคได้ดี (สีเขียว) พบแพทย์ทุก3เดือน ผู้ป่วยส่งผล Self+monitoring ทุกครั้งที่นัด การเติมยา refilled/remed •ผู้ป่วยคุมโรคได้ปานกลาง (สีเหลือง)ให้บริการเหมือนกลุ่มแรกเพิ่มเรื่องการจัดโปรแกรมวางแผนการดูแลสุขภาพและทบทวนแผนการดูแลตนเองใช้หลักการเวชศาสตร์
ครอบครัวและเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย
•ผู้ป่วยคุมโรคไม่ได้(สีแดง)พบแพทย์ทุกครั้งความถี่การนัดตามดุลพินิจของแพทย์ใช้หลักการดูแลเหมือนกลุ่มปานกลาง เพิ่มวิเคราะห์ปัญหาเชิงลึก

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 7 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีทะเบียนจัดแบ่งกลุ่มสภาวะสุขภาพ/เพื่อจัดบริการได้ตรงตามจุดตามกลุ่มบริการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพแกนนำจิตอาสาประจำหมู่บ้านในการจัดการสุขภาพเพื่อเป็นพี่เลี้ยง ผู้ดูแลที่คอยช่วยดูแล ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพแกนนำจิตอาสาประจำหมู่บ้านในการจัดการสุขภาพเพื่อเป็นพี่เลี้ยง ผู้ดูแลที่คอยช่วยดูแล ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำจิตอาสา โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการประจำหมู่บ้าน - ค่าอาหารกลางวัน 67 คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,350บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 67 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 3,350บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร 2 คน x 300 บาท x 3 ชั่วโมงเป็นเงิน1,800 บาท รวมเงิน 8,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มีนาคม 2568 ถึง 18 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแกนนำจิตอาสาในการดูแลสุขภาพประจำหมู่บ้าน/เพื่อเป็นพี่เลี้ยง ผู้ดูแลที่คอยช่วยดูแล ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดีผ่านโปรแกรม Healthy DM

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดีผ่านโปรแกรม Healthy DM
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดีผ่านโปรแกรม Healthy DM - ค่าอาหารกลางวัน 50 คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 2,500บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 คน x 300 บาท x 6 ชั่วโมงเป็นเงิน1,800 บาท - ค่า Healthy DM Box set จำนวน1 ชุด เป็นเงิน2,790บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 เมษายน 2568 ถึง 22 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดการดูแลสุขภาพตนเองที่เหมาะสมและมีคุณภาพสร้างความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง(Health Literacy Program)ปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง /ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีและลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9590.00

กิจกรรมที่ 4 จัดกิจกรรมสร้างความรอบรู้สุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงผ่านโปรแกรม Pre DM Remission

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมสร้างความรอบรู้สุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงผ่านโปรแกรม Pre DM Remission
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมให้ความรู้เพื่อสร้างความรอบรู้สุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงผ่านโปรแกรม Pre DM Remission - ค่าอาหารกลางวัน 50 คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 2,500บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 คน x 300 บาท x 6 ชั่วโมงเป็นเงิน1,800 บาท - ค่า Pre DM Remission Box set จำนวน1 ชุดเป็นเงิน 2,350บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 เมษายน 2568 ถึง 29 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงต่อความดันโลหิสูงและเบาหวานมีความรู้ในการดูแลตนเอง/ลดการเกิดโรครายใหม่และลดโรคไม่ติดต่อที่สำคัญลดภาวะแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,240.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้และนำไปปฏิบัติ ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
2 .กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังสุขภาพ และจัดการสุขภาพของตนเอง
3. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นผู้ป่วยรายใหม่ลดลดลงจากปีก่อน
4. กลุ่มป่วยมีการควบคุมระดับความดันและน้ำตาลดีขึ้นจากปีก่อนและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน


>