กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง

1. นายสามัน ดอเลาะ
2. นางอามีเร๊าะ เจ๊ะเกาะอูเซ็ง
3. นางสาวซาลิสา สะแลแม

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่มีการเข้าถึงข้อมูลและการรักษาไม่เพียงพอ ผู้ป่วยมักมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่ดี การขาดการออกกำลังกาย และการไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ ซึ่งอาจทำให้โรคมีความรุนแรงมากขึ้นและนำมาซึ่งความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเอง และผู้ดูแลค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ นอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น
ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ของประชาชนประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถึชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทาง โภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียดทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุ การนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำาบลตะบิ้ง ในปีงบประมาณ 2567พบว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิต จำนวน 113 คนผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 20 คนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 18 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้100 คน คิดเป็นร้อยละ 88.50ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดได้ 16 คน คิดเป็นร้อยละ 80 และจากการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่ม ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน1,117 คนพบว่ามีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน239 คนคิดเป็นร้อยละ 21.40 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการนี้ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยในตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี โดยใช้วิธีการให้ความรู้และสนับสนุนการปฏิบัติตนเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในตำบลตะบิ้งมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ร้อยละ 60

60.00 60.00
2 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย

การติดตามการบันทึกพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายของผู้ป่วย

0.00
3 3. เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยสามารถควบคุมเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำอสม. 6

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เช่น สาเหตุ อาการ และวิธีการดูแลตนเอง โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาบรรยาย

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เช่น สาเหตุ อาการ และวิธีการดูแลตนเอง โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาบรรยาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 1 มื้อ สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 70 คนๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท 1.2 ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 2 มื้อ สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 70 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท 1.3 ค่าป้ายโครงการฯ 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 750 บาท 1.4 คู่มือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 60 ชุดๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 1.5 ค่าวิทยากร 1 ท่าน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13950.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมคัดกรองภาวะแทรกซ้อน (ตรวจตา ไต เท้า โรคหัวใจและหลอดเลือด) ในผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง จากทีมงานโรงพยาบาลแม่ข่าย

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมคัดกรองภาวะแทรกซ้อน (ตรวจตา ไต เท้า โรคหัวใจและหลอดเลือด) ในผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง จากทีมงานโรงพยาบาลแม่ข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 1 มื้อ สำหรับทีมงานคัดกรองภาวะแทรกซ้อนจากโรงพยาบาลแม่ข่าย
จำนวน 5 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน 300 บาท 2.2 ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 2 มื้อ สำหรับทีมงานคัดกรองภาวะแทรกซ้อนจากโรงพยาบาลแม่ข่าย จำนวน 5 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 300 บาท 2.3 ค่าเดินทางสำหรับทีมงานจากโรงพยาบาลแม่ข่าย เป็นเงิน 300 บาท 2.4 อุปกรณ์ตรวจเท้า จำนวน 2 เครื่องๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1900.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมสาธิตการออกกำลังกายโดยนักกายภาพ

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมสาธิตการออกกำลังกายโดยนักกายภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ค่าวิทยากร 1 ท่าน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท 1 วัน เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

กิจกรรมที่ 4 4. สาธิตอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
4. สาธิตอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 ค่าจัดซื้อสื่อการสอน และวัสดุอุปกรณ์ประกอบโครงการ เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 5 5. ติดตามผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงหลังเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
5. ติดตามผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงหลังเข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงหลังเข้าร่วมโครงการ โดยจัดให้มีการตรวจสุขภาพ เช่น การวัดระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตในช่วงเริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการ 5.1 เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 1,550 บาท 5.2 เครื่องวัดความดันโลหิตสูงแบบพกพาจำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 1,550 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยมีความรู้ และทัศนคติที่เหมาะสมในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
2. ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสมและออกกำลังกายที่บ้านได้เอง
3. ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
4. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้ดี


>