กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาพระ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มอายุ ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาพระ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาพระ

หมู่บ้าน หมู่ 4 , 5 , 6 , 7 ,10 , 11 , 12,ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตรับผิด(รพ.สตบ้านเขาพระ) , โรงเรียนในเขตรับผิดชอบ(รพ.สต.บ้าน เขาพระ)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพปีงบประมาณ2567ของจังหวัดสงขลา พบว่าเด็ก 3 ปี ในอำเภอรัตภูมิ มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 66.2 และนักเรียน 6 – 12 ปี ในเขตรับผิด รพ.สต บ้านเขาพระมีฟันผุร้อยละ 30.82ยังเป็นปัญหาที่ต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยต้องอาศัยความช่วยเหลือในการดูแลสุขภาพช่องปากจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆกลุ่มอายุ ซึ่งแต่ละกลุ่มอายุ ก็ยังมีพฤติกรรมในการดูแลทันตสุขภาพที่ไม่เหมาะสม การแก้ปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือจาก ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็ก โดยจะต้องมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีทางทันตสุขภาพตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์การเลี้ยงดูบุตรตลอดจนครูพี่เลี้ยงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและคุณครูประจำชั้นในระดับประถมศึกษา
งานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาพระ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มอายุต่างๆ ขึ้นเพื่อลดการเกิดโรคฟันผุ ส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มอายุต่างๆ และช่วยให้ผู้ปกครอง ,ครูพี่เลี้ยงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก , ได้มีความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี ทั้งของตนเองและครอบครัวอันจะส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายสำคัญคือกลุ่มเด็กเล็กได้รับการใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมนำไปสู่การแก้ปัญหาทันตสุขภาพอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อหญิงตั้งครรภ์ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้มีความรู้ทันตสุขภาพ

หญิงตั้งครรภ์ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้มีความรู้ทันตสุขภาพร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อเด็ก 0 – 2 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วานิช

เด็ก 0 – 2 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วานิชร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อผู้ปกครองเด็ก 0 – 2 ปี ได้มีความรู้ความเข้าใจทันตสุขภาพเพิ่มขึ้น

ผู้ปกครองเด็ก 0 – 2 ปี ได้มีความรู้ความเข้าใจทันตสุขภาพเพิ่มขึ้น

0.00
4 เพื่อเด็ก 3 – 5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วานิช

เด็ก 3 – 5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ 90

0.00
5 เพื่อผู้ปกครองเด็ก 3 – 5 ปี ได้มีความรู้ความเข้าใจทันตสุขภาพเพิ่มขึ้น

ผู้ปกครองเด็ก 3 – 5 ปี ได้มีความรู้ความเข้าใจทันตสุขภาพเพิ่มขึ้น

0.00
6 เพื่อเด็กนักเรียน 6 – 12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

เด็กนักเรียน 6 – 12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากร้อยละ 95

0.00
7 เพื่อเด็กนักเรียน 6 – 12 ปี ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้มีความรู้ความเข้าทันตสุขภาพเพิ่มขึ้น

เด็กนักเรียน 6 – 12 ปี ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้มีความรู้ความเข้าทันตสุขภาพเพิ่มขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 445
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 991
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ - ให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ - ให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม - แปรงสีฟัน จำนวน 30 ด้าม ด้ามละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท -ยาสีฟัน จำนวน 5 หลอด หลอดละ 55 บาท เป็นเงิน275 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2525.00

กิจกรรมที่ 2 กลุ่มอายุ 0 – 2 ปี - ให้ความรู้ผู้ปกครอง 0 – 2 ปี

ชื่อกิจกรรม
กลุ่มอายุ 0 – 2 ปี - ให้ความรู้ผู้ปกครอง 0 – 2 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม - แปรงสีฟัน จำนวน 250 ด้าม ด้ามละ 25 บาท เป็นเงิน 6,250 บาท -ยาสีฟัน จำนวน 60 หลอด หลอดละ 45 บาท เป็นเงิน2,700 บาท - ค่าอาหารว่างผู้ปกครองจำนวน 250 ชุด ชุดละ 25 บาท x ๑ มื้อ เป็นเงิน 6,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15200.00

กิจกรรมที่ 3 กลุ่มอายุ 3 – 5 ปี - ให้ความรู้ผู้ปกครอง 3 – 5 ปี

ชื่อกิจกรรม
กลุ่มอายุ 3 – 5 ปี - ให้ความรู้ผู้ปกครอง 3 – 5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม - แปรงสีฟัน จำนวน 195 ด้าม ด้ามละ 25 บาท เป็นเงิน 4,875 บาท -ยาสีฟัน จำนวน 45 หลอด หลอดละ 45 บาท เป็นเงิน2,025 บาท - ค่าอาหารว่างผู้ปกครอง จำนวน 195 ชุด ชุดละ 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,875 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11775.00

กิจกรรมที่ 4 กลุ่มเด็กนักเรียน 6 – 12 ปี - ให้ความรู้ทันตสุขภาพเด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
กลุ่มเด็กนักเรียน 6 – 12 ปี - ให้ความรู้ทันตสุขภาพเด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม - แปรงสีฟัน จำนวน 991 ด้าม ด้ามละ 30 บาท เป็นเงิน 29,730 บาท -ยาสีฟัน จำนวน 130 หลอด หลอดละ 45 บาท เป็นเงิน 5,850 บาท - ค่าอาหารว่างนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก จำนวน 500 ชุด ชุดละ 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 12,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
48080.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 77,580.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากถูกต้องและเหมาะสมลดปัญหาเหงือกอักเสบและฟันผุ
2 เด็ก 0 – 2 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วานิชป้องกันฟันผุในระยะแรก
3 ผู้ปกครองเด็ก 0 – 2 ปี มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลและทักษะการทำความสะอาดสุขภาพช่องปากเด็กที่ถูกต้อง
4 เด็ก 3 – 5 ปีได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วานิชป้องกันฟันผุในระยะแรก
5 ผู้ปกครองเด็ก 3 – 5 ปี มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กที่ถูกต้อง
6 เด็กนักเรียน 6 – 12 ปี ในเขตรับผิดชอบ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และได้รู้ถึงปัญหาสุขภาพช่องปากของตนเอง ได้รู้วิธีการรักษาที่ถูกวิธี
7 เด็กนักเรียน 6 – 12 ปี ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากและรู้วิธีการรักษาที่ถูกต้อง


>