กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการChange your life by Yoga (สุขภาพดีด้วยโยคะ)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี

นักวิชาการอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา 16 ให้เทศบาลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง(19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล โดยในช่วงอายุระหว่าง 21-60 ปีเป็นช่วงวัยผู้ใหญ่หรือวัยทำงาน การดำเนินชีวิตประจำวันมักจะประสบกับความเครียด ที่มีปัจจัยมาจากสังคม เศรษฐกิจ หรือการทำงาน รวมถึงสุขภาพร่างกายที่คนวัยทำงานมักจะพบเจอ คือ อาการ Office Syndrome ที่เกิดจากอิริยาบถในการทำงานที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ เช่น บ่า หลัง ข้อมือ เป็นต้นส่วนช่วงวัยสูงอายุ ก็มักจะพบกับปัญหาด้านสุขภาพร่างกายเสื่อมโทรม และปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ไม่มีโอกาสได้รับความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ขาดการดูแลเอาใจใส่จากลูกหลานอย่างเพียงพอ ทำให้เกิดความวิตกกังวล ซึมเศร้า เกิดภาวะทางอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายไปด้วย ผู้สูงอายุจึงควรได้รับการดูแลเอาใจใส่และได้รับความรู้ที่ถูกต้องเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตในช่วงนี้ได้อย่างมีความสุข
เนื่องด้วยอุทยานการเรียนรู้ปัตตานีเปิดให้บริการมาเป็นระยะเวลา 10 เดือน ให้บริการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยและสนับสนุนการเรียนรู้แก่ผู้ใช้บริการทุกช่วงวัย ไม่เฉพาะการให้ความรู้ทางวิชาการเท่านั้น แต่รวมถึงการให้ความรู้ที่ส่งเสริมในทักษะการใช้ชีวิตอีกด้วย ปัจจุบันมีผู้สมัครเป็นสมาชิกในช่วงอายุ21-60ปี และช่วงอายุมากกว่า 60 ปีจำนวน 1,142 คน แบ่งเป็นช่วงวัยทำงาน จำนวน 1,069 คนและช่วงวัยสูงอายุ จำนวน 73 คน การจัดกิจกรรมตามช่วงวัยจะช่วยผ่อนคลายความเครียดโดยเฉพาะการออกกำลังกายด้วยโยคะมีประโยชน์ต่อสุขภาพตั้งแต่การฟื้นฟูสมดุลการทรงตัว ความยืดหยุ่น ความแม่นยำ สุขภาพ และร่างกายที่แข็งแรง จนถึงการสร้างความสงบด้านจิตใจ ความสมดุลทางอารมณ์ และความแข็งแรง "ภายใน" ในแง่ของร่างกาย ท่าโยคะช่วยกระตุ้นต่อม อวัยวะ กล้ามเนื้อและผ่อนคลายความปวดเมื่อย ทำให้การย่อยอาหารและการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น อาการอันมีผลมาจากความเครียด เช่น การนอนไม่หลับ ความเหนื่อยล้า กล้ามเนื้อกระตุก ความกังวล และอาการอาหารไม่ย่อย จะดีขึ้นมาก การฝึกท่าโยคะอย่างต่อเนื่องจะมีผลอย่างล้ำลึกต่อร่างกายภายใน โดยทำให้เกิดความมั่นคงทางอารมณ์ สมาธิ และความมั่นใจ ทางอุทยานการเรียนรู้ปัตตานีจึงจัดกิจกรรมการฝึกโยคะแก่ผู้ใช้บริการในช่วงวัยดังกล่าวโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านโยคะ และจัดกิจกรรมอบรมสุขภาพจิตเบื้องต้นจากนักจิตวิทยา

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การจัดทำแบบสำรวจความต้องการของผู้ใช้บริกา

ชื่อกิจกรรม
การจัดทำแบบสำรวจความต้องการของผู้ใช้บริกา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กระดาษ ถ่ายเอกสาร ขนาด A4 จำนวน 3 รีม รีมละ 100 บาท      เป็นเงิน 300 บาท
  • กระดาษโฟโต้ 130 แกรม จำนวน 1 แพค แพคละ 180 บาท        เป็นเงิน 180 บาท
  • ปากกา จำนวน 1 กล่อง กล่องละ 150 บาท              เป็นเงิน 150 บาท
  • ค่าจ้างจัดทำสมุดบันทึกสุขภาพ จำนวน 50 เล่ม เล่มละ 10 บาท      เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1130.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนและรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์เชิญชวนและรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์กิจกรรม จำนวน10 แผ่น แผ่นละ 50 บาท      เป็นเงิน 500 บาท
  • สายคล้องคอ จำนวน 50 อัน อันละ 20 บาท              เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 3 . กิจกรรม รู้เท่าทันตนเอง

ชื่อกิจกรรม
. กิจกรรม รู้เท่าทันตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากรกิจกรรมรู้เท่าทันตนเอง2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรมประเมินสุขภาพจิต/เจ้าหน้าที่ดำเนินการ 30 คน คนละ 25 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1950.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมโยคะบำบัด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมโยคะบำบัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากรกิจกรรมโยคะบำบัด 48 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 28,800 บาท
    • ค่าเสื่อโยคะ 20 ผืน ผืนละ 400 บาท                เป็นเงิน 8,000 บาท
  • ค่าป้ายความรู้สแตนด์ดี้ฟิวเจอร์บอร์ด ขนาด 80×150 ซม. จำนวน 3 ชิ้น ชิ้นละ 2,000 บาท                                 เป็นเงิน 6,000 บาท
  • สายวัดตัว จำนวน 1 อัน อันละ 12 บาท                    เป็นเงิน 12 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44812.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,392.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพกายและจิตที่ดี
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ใช้การฝึกโยคะเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพ


>