กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบล เทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

นาข้าวอินทรีย์บ้านพรุหมาก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

องค์การบริหารส่วนตำบล เทพา

อบต.เทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

 

0.00
2 ศูนย์การเรียนรู้การทำนาอินทรีย์

 

0.00
3 ศูนย์การจัดเก็บพันธ์ุข้าวในชุมชน

 

0.00
4 การตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดของชาวนา

 

0.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพ่ิ่มสัดส่วนพื้นที่นาข้าวอินทรีย์ต่อพื้นที่นาข้าวทั้งหมด

ปรับลดการทำนาข้าวเคมีให้เป็นการทำนาข้าวอินทรีย์ 

30.00
2 เพื่อตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรที่ทำนาข้าว

เกษตรกรที่ทำนาข้าวได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

90.00
3 เพื่อให้ได้ผลผลิดข้าวอินทรีย์บริโภคภายในชุมชน

ผลผลิตข้าวอินทรีย์เพิ่มขึ้น

30.00
4 เพื่อให้มีธนาคารพันธุ์ข้าวตำบลเทพา

มีธนาคารพันธ์ุข้าวในชุมชน

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เกษตรกรชาวนา 100

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2018

กำหนดเสร็จ 31/12/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจข้อมูลการใช้สารเคมีและต้นทุนการผลิตการทำนาข้าวที่ใช้สารเคมีในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลการใช้สารเคมีและต้นทุนการผลิตการทำนาข้าวที่ใช้สารเคมีในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจชนิดสารเคมีที่ชาวนาใช้ในการทำนา
  2. เก็บข้อมูลต้นทุนการผลิตการทำนาข้าวที่ใช้สารเคมี
  3. รวบรวมข้อมูลต้นทุนการผลิตการทำนาข้าวอินทรีย์พื้นที่ใกล้เคียง
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ฐานข้อมูลการใช้สารเคมีในการทำนาข้าวในชุมชน
  2. มีฐานข้อมูลต้นทุนการผลิตนาข้าวที่ใช้สารเคมี
  3. มีฐานข้อมูลข้อมูลต้นทุนการผลิตการทำนาข้าวอินทรีย์
  4. มีข้อมูลผลการเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตการทำนาข้าวนาเคมีและการทำนาข้าวอินทรีย์
  5. ทราบผลกระทบต่อร่างกายในการใช้สารเคมีจากการทำนา
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขเพื่อตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดของชาวนาในตำบลเทพา

ชื่อกิจกรรม
ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขเพื่อตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดของชาวนาในตำบลเทพา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประสานงานหน่วยงานสาธารณสุขในการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดของชาวนา
  2. กำหนดวันเพื่อตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดของชาวนา
  3. ดำเนินการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดของชาวนา
  4. ติดตามและสรุปผลจากตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ทราบผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดของชาวนา
  2. เป็นฐานข้อมูลในการเปรียบเทียบสารเคมีตกค้างในเลือดของชาวนาที่ใช้สารเคมีและชาวนาอินทรีย์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 3 การทำประชาคมคืนข้อมูลของตำบล

ชื่อกิจกรรม
การทำประชาคมคืนข้อมูลของตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การคืนข้อมูลสารเคมีตกค้างในเลือดและผลการเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตของการทำนาเคมีและการทำนาอินทรีย์
  2. รับสมัครสมาชิกและจัดตั้งกลุ่มชาวนาอินทรีย์ตำบลเทพา
  3. จัดทำกติกากลุ่มฯ
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีกลุ่มชาวนาอินทรีย์ตำบลเทพา
  2. มีกติกาในการดำเนินกิจกรรมการของกลุ่ม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 4 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของสารเคมี การทำนาอินทรีย์ การทำปุ๋ยหมัก/นำหมักชีวภาพ และการเพิ่มมูลค่าของข้าว

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของสารเคมี การทำนาอินทรีย์ การทำปุ๋ยหมัก/นำหมักชีวภาพ และการเพิ่มมูลค่าของข้าว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประสานความร่วมมือจากหน่วยนงานสาธารณสุข เกษตรอำเภอและพัฒนาชุมชนในการให้ความรู้แก่ชุมชน
  2. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของสารเคมี การทำนาอินทรีย์ การทำปุ๋ยหมัก/นำหมักชีวภาพ และการเพิ่มมูลค่าของข้าว
  3. ประเมินผล
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มชาวนามีความรู้เกี่ยวกับโทษของสารเคมี การทำนาอินทรีย์ การทำปุ๋ยหมัก/นำหมักชีวภาพ และการเพิ่มมูลค่าของข้าว
  2. มีการทำนาข้าวอินทรีย์ในพื้นที่
  3. มีการทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ
  4. ผลิตข้าวปลอดสารพิษ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

กิจกรรมที่ 5 ศูนย์การเรียนรู้แปลงนาอินทรีย์ต้นแบบและการจัดทำนาข้างอินทรีย์

ชื่อกิจกรรม
ศูนย์การเรียนรู้แปลงนาอินทรีย์ต้นแบบและการจัดทำนาข้างอินทรีย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประสานความร่วมมือจากเกษตรอำเภอ และปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำศูนย์การเรียนรู้และเป็นพี่เลี้ยงในการให้คำแนะนำการทำนาข้าวอินทรีย์แก่กลุ่มชาวนา
  2. กำหนดสถานที่ในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ และกำหนดจัดทำแปลงนาข้าวอินทรีย์ต้นแบบ
  3. จัดทำแปลงนาข้าวอินทรีย์ต้นแบบพร้อมกับกลุ่มนาข้าวอินทรีย์ของชาวนากลุ่มเป้าหมาย โดยประสานผู้นำชุมชน ชาวบ้าน กลุ่มเยาวชนและเด็ก เพื่อร่วมกิจกรรม "ลงแขกดำนาข้าวอินทรีย์"
  4. ติดตามและประเมินผล
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีนาข้าวอินทรีย์เพิ่มขึ้น
  2. มีศูนย์การเรียนรู้รู้แปลงนาอินทรีย์ต้นแบบ
  3. มีผลผลิตข้าวปลอดสารพิษ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 6 จัดตั้งธนาคารพันธุ์ข้าว

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งธนาคารพันธุ์ข้าว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจชนิดของพันธุ์ข้าวที่ชาวนาในกลุ่มนาข้าวอินทรีย์ปลูก
  2. เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าว และจัดทำทะเบียนพันธุ์ข้าว
  3. แลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าวในกลุ่มนาข้าวอินทรีย์สำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงพันธุ์
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีธนาคารพันธุ์ข้าว
  2. มีทะเบียนพันธุ์ข้าวในพื้นที่
  3. มีอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 การเพิ่มมูลค่าของข้าวอินทรีย์

ชื่อกิจกรรม
การเพิ่มมูลค่าของข้าวอินทรีย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดตั้งกลุ่มเพิ่มมูลค่าข้าวอินทรีย์โดยรับสมัครจากชาวนาที่มีผลผลิตเหลือจากการบริโภคในครัวเรือน
  2. การจัดทำข้าวกล้อง ออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อออกไปจำหน่ายสู่ตลาดภายนอกได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถเพิ่มมูลค่าของข้าวอินทรีย์


จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สัดส่วนพื้นที่นาข้าวอินทรีย์เพิ่มขึ้น
2. เกษตรกรที่ทำนาข้าวได้รับการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด
3. ประชาชนในตำบลเทพาได้บริโภคข้าวปลอดสารพิษ
4. มีธนาคารพันธุ์ข้าวตำบลเทพา
5. อนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง


>