กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ เทศบาลตำบล บ้านไร่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ช่องแคบมะละกอ สิบล้อผักสวนครัว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านไร่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

เทศบาลตำบล บ้านไร่

กองการศึกษา เทศบาลตำบลบ้านไร่

นายประพันธ์ จันทโชโต
นางฟาติเม๊าะ ทองมาก
นางสาวจริยาวดี บินโส๊ะ
นางสาวชุติภา พิพัฒน์เจริญชัย
นางสาวขวัญชนก พยัคฆญาติ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านไร่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

 

20.00
2 ร้อยละของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

 

40.00
3 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

20.00

เด็กภายในศูนย์เด็กเล็กฯ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบรับประทานผัก ผลไม้ และเด็กมีร่างกายที่ผอม โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อให้เด็กมีส่วนร่วมในการปลูกผักปลอดสารพิษด้วยตัวเองและนำมารับประทานเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

20.00 5.00
2 ร้อยละของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

จำนวนร้อยละของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัมเพิ่มมากขึ้น

60.00
3 ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6  ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ลดลงเหลือ

20.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 90
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็ก 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 วิเคาระห์สภาพปัญหาในปัจจุบันและระดมความคิดของผู้ปกครองรวมถึงคณะทำงานและครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
วิเคาระห์สภาพปัญหาในปัจจุบันและระดมความคิดของผู้ปกครองรวมถึงคณะทำงานและครูผู้ดูแลเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ร่วมกันเสนอสภาพปัญหาของผัก ผลไม้ ที่ปนเปื้อนสารพิษ ที่พบอยู่ในพื้นที่ ศพด. -ระดมความคิดและกำหนดแนวทางในการจัดโครงการ -เขียนโครงการเพื่อเสนอผู้บริหาร เพื่อขออนุมัติโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ได้รับทราบถึงสภาพปัญหา -ได้แนวคิดและวิธีการในการดำเนินโครงการ -โครงการได้รับอนุมัติจากผู้บริหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดประชุมคณะทำงานและครูผู้ดูแลศูนย์เด็กเล็ก เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของโครงการ

  • รายละเอียดโครงการ
  • วิธีการดำเนินงาน
  • งบประมาณ
  • มอบหมายหน้าที่

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานเกิดความเข้าใจในการดำเนินโครงการ ทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ในการบริโภคผักและวิธีการปลูกผักในล้อยาง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ในการบริโภคผักและวิธีการปลูกผักในล้อยาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมคณะทำงาน ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และบุคคลที่สนใจ เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ การปลูกผักในล้อยาง การดูแลต้นไม้ให้เจริญเติบโต โทษของการทานผักและผลไม้ที่มีสารพิษเจือปน โดยเชิญปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่มาเป็นวิทยากร

  • ค่าวิทยากร 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน1,800 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน คนละ 50 บาท เป็นเงิน 1500บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน คนละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
  • ค่าวัดสุอุปกรณ์ เช่น ดิน เมล็ดพันธุ์ จอบ เสียม ล้อยาง ฯลฯ เป็นเงิน 2,000บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับคุณประโยนช์และวิธีการปลูกผักในล้อยาง เพื่อให้คณะทำงานและครูผู้ดูแลเด็กได้นำเด็กเล็กภายในศูนย์ฯ ได้ลงมือปฏิบัติจริง
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้วัสดุอุปกรณ์และเมล็ดพันธ์ุเพื่อนำมาเพาะพันธุ์ต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6050.00

กิจกรรมที่ 4 ลงมือปฏิบัติ

ชื่อกิจกรรม
ลงมือปฏิบัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ตรวจสภาวะโภชนาการเด็ก
  • คณะทำงานและครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 10 คน นำเด็กเล็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผู้ปกครองลงมือปฏิบัติจริง โดยไม่ใช้สารเคมีในการปลูกผักและผลไม้ ใช้พื้นที่บริเวณรอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านไร่
  • เตรียมอุปกรณ์และสถานที่
  • ให้เด็กและผู้ปกครองช่วยกันปลูกผักในล้อยาง โดยมีคณะทำงานควบคุมและแนะนำอย่างใกล้ชิด
  • ให้เด็กและผู้ปกครองช่วยกันปลูกต้นมะละกอ บริเวณพื้นที่ว่างระหว่างอาคารเรียน
  • แจกเมล็ดพันธุ์ผักและผลไม้ให้ผู้ปกครอง เพื่อนำไปเพาะพันธุ์ต่อที่ครัวเรือนของตนเอง
  • ครูจัดทำเวรให้เด็กเล็ก เพื่อรดน้ำและดูแลผัก ผลไม้ ที่เด็กช่วยกันปลูก
  • ถ่ายรูปเด็กๆ คู่กับผักและผลไม้ที่เด็กๆปลูก และได้รับมอบหมายให้ดูแล เพื่อดูการเจริญเติบโตของผักและผลไม้เหล่านั้น

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 130 คน คนละ 25 บาทเป็นเงิน3,250บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ทราบสภาวะโภชนาการเด็กภายใน ศพด.
  • เด็กเล็กและผู้ปกครองได้ลงมือปฏิบัติจริง และได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นการกระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัว
  • เด็กเล็กและผู้ปกครองตระหนักถึงคุณประโยชน์ของผักปลอดสารพิษมากขึ้น และสามารถนำไปต่อยอดภายในครัวเรือนของตนเองได้
  • เด็กเล็กมีความรับผิดชอบต่อผักที่ตนเองดูแล อาจส่งผลให้ทัศนคติที่มีต่อการทานผักและผลไม้ดีมากขึ้น
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านไร่ มีแปลงผักและผลไม้ และสามารถนำมาใช้ปรุงอาหารให้เด็กทานได้จริง และอาจทำให้เป็นโครงการต่อเนื่อง
  • เด็กเล็กได้รับประทานอาหารที่ปลอดสารพิษอย่างแท้จริง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3250.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามผลกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ครูติดตามผลการดำเนินกิจกรรม ทุกๆ สัปดาห์ จนกว่าผักหรือผลไม้นั้นจะพร้อมสำหรับการนำไปรับประทาน โดยวิธีการดังนี้

  • ตรวจสอบว่าเด็กรดน้ำต้นไม้ตามเวรที่ได้รับมอบหมายหรือไม่
  • ตรวจสอบการเจริญเติบโตของผักและไม้ที่ปลูกไว้ โดยถ่ายรูปผักผลไม้กับเด็กๆที่รับผิดชอบการปลูกนั้น ทุกๆ สัปดาห์
  • ให้รางวัล ชมเชย หรือคะแนนแก่เด็กที่รับผิดชอบผักและผลไม้ของตัวเองได้ดี
  • ประเมินความเปลี่ยนแปลงของสภาวะโภชนาการเด็ก โดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เด็กๆ มีความรับผิดชอบต่องาน (การดูแลผักผลไม้) ที่ได้รับมอบหมาย
  • เด็กมีความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง
  • รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของของสภาวพชะโภชนาการของเด็ก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

โครงการช่องแคบมะละกอ สิบล้อผักสวนครัว ต้องการเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ในการขับเคลื่อนและรณรงค์การทานผักและผลไม้ปลอดสารพิษ ท้ังภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและบริเวณชุมชนใกล้เคียง
คณะผู้ดำเนินโครงการคาดหวังให้โครงการนี้ มีผลดังนี้
1.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับประทานผักและผลไม้ปลอดสารพิษอย่างแท้จริง
2.เด็กมีทัศนคติในการทานผักและผลไม้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น และรับประทานผักผลไม้มากขึ้น
3.เด็กที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ มีจำนวนลดลง เพราะได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและมีประโยชน์ รวมถึงมีการประเมินสภาวะโภชนาการของเด็กอยู่เสมอ
4.คนในชุมชน (ผู้ปกครอง) ตระหนักถึงความสำคัญของการทานผักและผลไม้ปลอดสารพิษ


>