กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบล ท่าข้าม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรกรท่าข้ามปลอดภัยไร้สารเคมีตกค้าง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

องค์การบริหารส่วนตำบล ท่าข้าม

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอบต.ท่าข้าม

ตำบลท่าข้าม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

10.00
2 ผลผลิตทางการเกษตรในตำบลท่าข้าม มีสารเคมีตกค้าง ส่งผลเสียต่อผู้บริโภค

 

10.00

จากสถานการณ์ที่พบว่าเกษตรกรในตำบลท่าข้าม มีสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัยร้อยละ 10 ของเกษตรกรทั้งหมดจากการสำรวจพบว่าสาเหตุหลักเกิดจาก การใช้สารเคมีในการทำการเกษตร เช่นยาปราบศัตรูพืช ฯลฯ ดังนั้นเพื่อลดการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง และส่งเสริมให้เกษตรกรได้เปลี่ยนแปลงระบบเกษตรจากการใช้สารเคมี มาเป็นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก หรือสารทดแทนยาฆ่าแมลงจากชีวภาพ จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรท่าข้ามปลอดภัยไร้สารเคมีตกค้างขึ้นในระดับตำบล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย ลดลงเหลือ

10.00 0.00
2 ตรวจหาสารเคมีตกค้างในผลิตผลทางการเกษตรของกลุ่มเกษตรกร

ผลิตทางการเกษตรที่ส่งตรวจมีความปลอดภัย ไร้สารตกค้าง

0.00

ส่งเสริมให้เกษตรกรได้เปลี่ยนแปลงระบบเกษตรจากการใช้สารเคมี มาเป็นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก หรือสารทดแทนยาปราบศัตรูพืชจากชีวภาพ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เกษตรกรในตำบลท่าข้าม 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/07/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการการทำปุ๋ยหมักและสารทดแทนยาปราบศัตรูพืช

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการการทำปุ๋ยหมักและสารทดแทนยาปราบศัตรูพืช
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรในตำบลท่าข้าม จำนวน 20 คน
2.วิทยากร ปราชญ์ชุมชน หรือเกษตรกรตัวอย่างในชุมชน 3.วิธีการฝึกอบรม และสาธิต ให้ความรู้พร้อมสาธิตการทำปุ๋ยหมักจากพืช โดยวัสดุท้องถิ่น เช่น ฟางข้าว แกลบ ปุ๋ยยูเรีย กากน้ำตาล ฯลฯ ให้ความรู้พร้อมสาธิตการทำสารทดแทนยาปราบศัตรูพืชจากธรรมชาติ วัสดุที่ใช้เช่น ขมิ้น สะเดาฯลฯ

งบประมาณที่ใช้ในการจัดกิจกรรม 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 600 บาท 2.ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับการสาธิตการทำปุ๋ยและสารทดแทนยาปราบศัตรูพืช 1,000บาท 3.ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น 600บาท

รวมงบประมาณในการจัดกิจกรรม 2,200บาท
(สามารถเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.เกษตรกรที่ผ่านการอบรมจำนวน 20 คน มีความรู้การทำปุ๋ยหมัก และสารทดแทนยาปราบศัตรูพืช และสามารถทำได้จริง

ผลลัพธ์ (outcome) 1.เกษตรกรสามารถนำความรู้การทำปุ๋ยหมัก รวมถึงสารทดแทนยาปราบศัตรูพืช ไปใช้ในครัวเรือนของตนเองได้ 100% 2.เกษตรกรสามารถลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาทำการเกษตรแบบอินทรีย์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2200.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจหาสารเคมีตกค้างในผลิตผลทางการเกษตรของกลุ่มเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
ตรวจหาสารเคมีตกค้างในผลิตผลทางการเกษตรของกลุ่มเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 1.ประชุมชี้แจงแนวทางการเก็บตัวอย่างและรายละเอียดการสุ่มตัวอย่างตรวจหาสารเคมีตกค้างในผลิตผลทางการเกษตร จำนวน 100ตัวอย่าง 2.ประสานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการเก็บตัวอย่างส่งตรวจ 4.ดำเนินการเก็บตัวอย่างส่งตรวจ 5.รายงานผลการตรวจแก่กลุ่มเกษตรกร ค่าใช้จ่าย 1.ค่าวัสดุในการเก็บตัวอย่าง เป็นเงิน2,000บาท
2.ค่าวัสดุเชื้อเพลิง เป็นเงิน2,000 บาท 3.ค่าตรวจหาสารเคมีและยาฆ่าแมลงที่ตกค้างในผลิตผลทางการเกษตรจำนวน100ตัวอย่างๆละ 300บาทเป็นเงิน30,000บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 34,000 บาท หมายเหตุสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.100% ของผลผลิตทางการเกษตรที่ส่งตรวจ ปลอดภัยไร้สารตกค้าง

ผลลัพธ์ 1.ผู้บริโภคและเกษตรกรปลอดภัยจากพิษภัยสารเคมีและยาฆ่าแมลง 2.ผลิตผลทางการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรตำบลท่าข้ามได้รับการรับรองคุณภาพความปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผลการตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดของเกษตรกรในชุมชน อยู่ในระดับปลอดภัย ร้อยละ 100
2.ผลการตรวจผลผลิตทางการเกษตรไร้สารเคมีตกค้าง ร้อยละ 100


>