กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ เฝ้าระวัง ติดตาม ภาวะสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

รพ.สต.บ้านควน 1

1.นางวัชรีบินสอาด
2.นางสุพิชชาหมาดสกุล
3.นางสาวโสภิตรานารีเปน

รพ.สต.บ้านควน 1

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (เป้าหมาย 131 คน รับการตรวจ 78 คน ควบคุมได้ 18 คน) คิดเป็นร้อยละ 13.74

 

13.74
2 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงไม่สามารถควบคุม ระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (เป้าหมาย 338 คน รับการตรวจ 278 คน ควบคุมได้ 156 คน) คิดเป็นร้อยละ 34.91

 

34.91
3 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า ฟัน และภาวะซึมเศร้า จำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 75.51( เป้าหมาย 98 คน)

 

76.53

ในปัจจุบันปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญคือปัญหาผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ และโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง นับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งโรคเรื้อรังดังกล่าว โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวานก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ มีการประมาณการทางสถิติว่า ทั่วโลกมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานประมาณ 125 ล้านคน และมีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยทุกปี และในการศึกษาสถานการณ์และธรรมชาติวิทยาของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากร พบว่าภาพรวมของประเทศ พบประชากรไทยมีแนวโน้มการตายและป่วยจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มสูงขึ้นใน 13 ปีขึ้นไป มากกว่าหนึ่งล้านเก้าแสนคน และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของความชุกและจำนวนผู้เป็นเบาหวานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังพบว่า เมื่ออายุสูงขึ้น มีโอกาสเป็นเบาหวานได้ง่าย เมื่อเป็นโรคเบาหวานระยะเวลาหนึ่งแล้วจะเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต หัวใจ ระบบประสาท แผลเรื้อรัง เป็นต้น
จากการสำรวจข้อมูล ประจำปี 2562 โดยการสำรวจข้อมูลของแกนนำ อสม.ตำบลบ้านควน พบว่า ประชากร หมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบานควน ป่วยด้วยโรคเรื้อรังจำนวน 526 คน รับบริการที่ รพ.สต.ตำบลบ้านควน จำนวน 280 คน ซึ่งกลุ่มป่วยที่รับบริการที่ รพ.สต.ตำบลบ้านควนทุกคน จะต้องได้รับการติดตามภาวะสุขภาพ อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และต้องได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากปัญหาที่พบจากการให้บริการ พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ป่วยยังคงให้ความสำคัญในการดูแล เฝ้าระวัง ภาวะสุขภาพตนเองน้อย ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดได้
ดังนั้น รพ.สต.ตำบลบ้านควน จึงได้จัดทำโครงการบริการ ติดตาม เฝ้าระวัง ภาวะสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2562ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้รับการดูแลรักษา ติดตามภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง รพ.สต.ตำบลบ้านควน จึงจัดให้บริการคลินิกโรคเรื้อรัง ทุกวันพฤหัสที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน โดยทีมสหวิชาชีพ มีแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เจ้าหน้าที่ รพ.สต.และแกนนำ อสม.คลินิกโรคเรื้อรัง ให้บริการช่วยเหลือในคลินิกดังกล่าว และจัดบริการตรวจคัดกรองค้นหาภาวะแทรกซ้อนประจำปี ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังขึ้น เพื่อติดตาม ดูแล รักษา ส่งเสริม เฝ้าระวังป้องกัน ร่วมกันกับผู้รับบริการ อย่างต่อเนื่องมุ่งเน้นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาภายหลัง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจสามารถติดตามเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของตนเองได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

40.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุม ระดับความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุม ระดับความดันโลหิตได้ดี

50.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า ฟัน และภาวะซึมเศร้า

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า ฟัน และภาวะซึมเศร้า

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 325
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงเพื่อเตรียมความพร้อม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงเพื่อเตรียมความพร้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ภาคเช้า
ประชุมชี้แจงแกนนำ อสม.การดำเนินงานเชิงรุก ในการจัดกิจกรรมให้กับกลุ่มป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ปี 2562 เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความสำเร็จ ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันการแปลผลที่ถูกต้อง การจัดการกรณีที่เจอเคสที่มีปัญหา การส่งต่อและ การดูแลติดตามเคสติดเตียง
ภาคบ่าย
ฝึกปฏิบัติ การตรวจวัดควมดันโลหิต การเจาะเลือดปลายนิ้ว เพื่อฟื้นฟูความรู้ แกนนำ อสม.สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องมีความพร้อม ความมั่นใจ ในการปฏิบัติงานในชุมชน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแกนนำ อสม.จำนวน 95 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน4,750บาท
- ค่าอาหารกลางวันแกนนำ อสม. จำนวน 95 คนๆละ 75 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 7,125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำ อสม.สามารถฝึกปฏิบัติได้ถูกต้อง และมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานในชุมชนทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11875.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองการมองเห็นเบื้องต้น (VA)

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองการมองเห็นเบื้องต้น (VA)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-อสม.ติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อให้เข้ารับการตรวจคัดกรองการมองเห็นเบื้องต้นโดย มีแกนนำ อสม.ที่ได้รับการฝึกปฏิบัติ ตรวจคัดกรองการมองเห็นเบื้องต้น (VA) ออกตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการตรวจค้นหาภาวะเบาหวานขึ้นตา โดยทีมสหวิชาชีพ จาก รพ.สตูล ต่อไป
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 100 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแกนนำ อสม.จำนวน 8 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 400บาท
-ค่าอาหารกลางวันแกนนำ อสม.จำนวน 8 คนๆละ 75 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการคัดกรองการมองเห็นเบื้องต้น ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4100.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมกลุ่ม Self health group

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมกลุ่ม Self health group
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดกิจกรรมกลุ่มแต่ละหมู่บ้าน โดยแยกผู้ป่วยออกเป็นโซนสี คือ สีเขียว สีเหลือง สีส้ม สีแดง และสีดำ ให้แต่ละกลุ่ม มีผู้ป่วยนั่งคละสีกันไป แต่ละกลุ่มคัดเลือก Good modelเพื่อเป็นต้นแบบ พูดคุยซักถามถึง พฤติกรรมสุขภาพ ของแต่ละคน เพื่อค้นหาปัญหาผู้ป่วยกลุ่มโซนสีเหลือง ส้ม แดง และดำ และส่งเสริม ชื่นชมให้กำลังใจ กลุ่มป่วยที่สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ดีสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้ดีผู้ป่วยเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตประจำวันได้จริงกิจกรรมดังกล่าว จะมีแกนนำ อสม.คอยเป็นพี่เลี้ยง สื่อสารภาษามลายูคอยส่งเสริมแก้ไขปัญหาในกลุ่ม
- กิจกรรมกลุ่มจะจัดทั้งหมด จำนวน 7 ครั้ง (หมู่ที่2,6,7 จัด 1 ครั้ง หมู่ที่ 3,5 จัด 2 ครั้ง เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยมาก จึงแยกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ )
-หมู่ที่ 2 จัดกิจกรรมวันที่ 18 ก.พ.62 เวลา 13.30น.-16.30น.ณ มัสยิด ม.2
-หมู่ที่ 3 จัดกิจกรรมวันที่ 20-21 ก.พ.62 เวลา 13.30น.-16.30น.ณ มัสยิด ม.3
-หมู่ที่ 5 จัดกิจกรรมวันที่ 25-26 ก.พ.62 เวลา 13.30น.-16.30น.ณ ศูนย์เรียนรู้ตำบลบ้านควน
-หมู่ที่ 6 จัดกิจกรรมวันที่ 27 ก.พ.62 เวลา 13.30น.-16.30น.ณ ศาลาชุมชน
-หมู่ที่ 7 จัดกิจกรรมวันที่ 28 ก.พ.62 เวลา 13.30น.-16.30น.ณ มัสยิด ม.7
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 325 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 8,125บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแกนนำ อสม. จำนวน 95 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,375บาท
-ค่าเอกสารบันทึกพฤติกรรมสุขภาพ การกินและการออกกำลังกายในแต่ละวันจำนวน 50 แผ่น เป็นเงิน 120บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานสามารถตอบคำถามย้อนกลับได้ถูกต้องและให้ความสนใจมีส่วนร่วมทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10620.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มป่วยติดเตียงและกลุ่มที่มีปัญหาติดตามต่อเนื่องที่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มป่วยติดเตียงและกลุ่มที่มีปัญหาติดตามต่อเนื่องที่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เนื่องจากแต่ละหมู่บ้านจะมีกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง หรือกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้ามารับบริการยังสถานบริการด้วยตนเองได้ ญาติจะต้องติดต่อ อสม.เพื่อติดตามให้ไปตรวจสุขภาพผู้ป่วยที่บ้านนำผลตรวจที่ได้ แจ้ง จนท.เพื่อพิจารณา ค้นหาปัญหาสุขภาพ จัดยา พร้อมทั้งนัดครั้งต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ได้รับการดูแลต่อเนื่อง โดยญาติและแกนนำ อสม. ไม่ขาดยา ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง ดังนั้นเครื่องมือ และอุปกรณ์ ที่ใช้ในการตรวจ จะต้องมีความพร้อมและมีคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความเที่ยงและมีคุณภาพ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะส่งผลต่อการพิจารณาจ่ายยาและการจัดการผู้ป่วยให้ได้คุณภาพต่อไป
-ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต ยี่ห้อ TERUMO หมู่บ้านละ 1 เครื่องๆ จำนวนทั้งหมด 5 เครื่องๆละ 2,000 บาทเป็นเงิน 10,000บาท
-ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือด ยี่ห้อ TERUMO (รุ่น MEDISAFE EX 30 ชิ้น / 1 กล่อง)หมู่ละ3 กล่อง จำนวนทั้งหมด 15 กล่องๆละ 750 บาทเป็นเงิน11,250

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มป่วยติดเตียงและกลุ่มที่มีปัญหาติดตามต่อเนื่องที่บ้าน ได้รับการติดตามต่อเนื่อง ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21250.00

กิจกรรมที่ 5 คัดกรองภาวะไตวายเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองภาวะไตวายเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จะต้องได้รับการตรวจคัดกรอง ค้นหาภาวะไตเสื่อมทุกราย โดยการตรวจ จะต้องมีการเก็บปัสสาวะส่งตรวจทุกราย -ค่าขวดเก็บปัสสาวะส่งตรวจ จำนวน 325 ขวดๆละ 3 บาท เป็นเงิน 975บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจคัดกรอง ค้นหาภาวะไตเสื่อม ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
975.00

กิจกรรมที่ 6 การรับบริการตามวันนัดครั้งต่อไป

ชื่อกิจกรรม
การรับบริการตามวันนัดครั้งต่อไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เนื่องจาก ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำเป็นจะต้องมีสมุดประจำตัวผู้ป่วย เพื่อบันทึกการรักษา และบันทึกการตรวจครั้งต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยผิดนัด ผู้ป่วยและญาติสามารถดูวันนัดได้จากสมุดและสามารถประเมินภาวะสุขภาพของตนเองได้ว่า มีแนวโน้มดีขึ้นหรือแย่ลง จากการบันทึกข้อมูลลงในสมุดประจำตัวผู้ป่วย
-สมุดประจำตัวผู้ป่วยที่ใช้ในคลินิกโรคเรื้อรัง จำนวน 100 เล่มๆละ 39 บาท เป็นเงิน 3,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยได้รับสมุดประจำตัว ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3900.00

กิจกรรมที่ 7 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ประชุมชี้แจงการดำเนินงานที่ผ่านมา ค้นหาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขพร้อมกัน
-ค้นหาความประทับใจ ความสำเร็จในการดำเนินงาน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป
-ให้กำลังใจแกนนำ อสม.ในการดำเนินงาน พร้อมทั้งคืนข้อมูลให้กับ อสม.เพือนำข้อมูลดังกล่าว คืนสู่ชุมชน
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแกนนำ อสม.จำนวน 95 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน2,375 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำ อสม.เข้าร่วมประชุมสรุปผลการดำเนินงาน ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2375.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,095.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ40
-ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 50
-ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน
-ตา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
-ไต ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
-เท้า ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
-ฟัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
-ซึมเศร้า ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90


>