กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคลินิกลดพุง (DPAC)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

รพ.สต.บ้านนาโหนด ต.นาโหนด อ.เมืองพัทลุงจ.พัทลุง

รพ.สต.บ้านนาโหนด ต.นาโหนด อ.เมืองพัทลุงจ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนในประชาชน

 

2.00

ข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานในประชากร 15 ขึ้นในปี 2559-2561กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 23.60, 33.76 และ 25.30 และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ร้อยละ 13.46, 16.41 และ 15.01 ตามลำดับและค่าดัชนีมวลกายเกิน ร้อยละ 41.74,64.74 และ 57.46 ตามลำดับ จึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 - 5 วัน วันละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สด อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไปหรือผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ ร้อยละ 20-30 และโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและหลอดเลือดได้อย่างมาก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ให้ประชาชนมีน้ำหนัก และรอบเอว อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ผู้หญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร และผู้ชายไม่เกิน 90 เซนติเมตร

ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีน้ำหนักและรอบเอวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 80

2.00 80.00
2 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรัง ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มคุณภาพชีวิต

อัตราการเกิดโรคเรื้อรัง ลดลงร้อยละ 5

2.00 80.00
3 เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีรอบเอวตามเกณฑ์ เป็นต้นแบบในการขยายผลสู่เครือข่ายในชุมชน

ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีรอบเอวตามเกณฑ์ เป็นต้นแบบในการขยายผลสู่เครือข่ายในชุมชนได้ร้อยละ 50

2.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2019

กำหนดเสร็จ 31/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ลดภาวะอ้วนลงพุงให้แก่ประชาชนทั่วไป

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ลดภาวะอ้วนลงพุงให้แก่ประชาชนทั่วไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รับสมัครสมาชิกตามมาตรการของคลินิกลดพุง อบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการฯติดตามการตรวจสุขภาพหรือพฤติกรรมการปรับเปลี่ยนของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการฯ ประชาสัมพันธ์คลินิก เผยแพร่นโยบายในสำนักงานและในชุมชน ประชาสัมพันธ์วัน เวลา ที่ให้บริการ ขั้นตอนการให้บริการ ดำเนินการในคลินิกทุกวันศุกร์ เวลา 13.00 - 16.00 น. ติดตาม ประเมิน และสรุปผลการดำเนินงาน โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการอบรมสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 80 คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
2. ค่าคู่มือบันทึกการติดตามสุขภาพสำหรับสมาชิก จำนวน 80 เล่มๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากรเรื่อง การประเมินสุขภาพด้วยตนเอง อาหารและการออกกำลังกายเพื่อลดพุง จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 4. ค่าป้ายไวนิล ขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 2.5 เมตร จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน500 บาท รวมเป็นเงินทั้งส้ิน 5,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี) ภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง ไม่เกินร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีรอบเอว และค่าดัชนีมวลกาย ไม่เกินเกณฑ์ ร้อยละ 80
2. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพดี และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคด้วยหลัก 3 อ. 2ส. โดยเลือกการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และปรับอารมณ์ให้แจ่มใสไม่เครียด ส่งผลลดการเจ็บป่วยจากโรคร้ายแรงอีกมากมายที่ตามมาจากภาวะอ้วนลงพุง
3. ประชาชนหันมาใส่ใจสุขภาพตนเองมากขึ้นเกิดบุคคลต้นแบบลดพุงไร้โรค ขยายผลสู่เครือข่ายในชุมชน


>