กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชนตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

1…นายหะมะลือแบซา....………..ประธานกลุ่ม……………………
2…นางสาวธิดารัตน์ใหม่แย้ม.....รองประธาน……………………
3…นางสาวพาตีเมาะ อาแว………..เหรัญญิก…………………………
4…นางสุพินแท่นมุกข์........………กรรมการ…………………………
5…นางประจิมเมธา........…………กรรมการ………………………

รพ.สต.บ้านป่าไผ่ ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมาลาเรีย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในประเทศไทย จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีแม้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้นแต่อัตราตายจากมาลาเรียยังคงสูงและในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 627,000 คน โดยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากมาลาเรียขึ้นสมอง เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน สถานการณ์ทั่วไปโรคไข้มาลาเรียช่วง ปี 2558 2559 และ 2560 พบผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย 17,444 13,570 และ 8,919 ราย อัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรียต่อพันประชากร 0.27 0.21 และ 0.14 ตามลำดับ โดยจังหวัดนราธิวาส พบผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการระบาดของโรคมาลาเรีย อย่างต่อเนื่องทุกปี จึงได้มีการเน้นให้มีการควบคุมโรคมาลาเรียเป็นนโยบายหลักของงานด้านสาธารณสุข อำเภอศรีสาคร เป็นอำเภอหนึ่งที่มีการระบาดของโรคมาลาเรียของจังหวัดนราธฺวาส โดยเฉพาะในเขตตำบลกาหลงมีการระบาดมากที่สุด ในปี ๒๕๖๐ พบผู้ป่วย พบมากที่หมู่ที่ ๑ กาหลง และพบการระบาดอย่างต่อเนื่อง ปี 256๒ สาเหตุจากยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรค ประกอบกับสภาพพื้นที่ของตำบลที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการระบาดของโรค ความเสี่ยงของโรคลดได้โดยการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยใช้มุ้งหรือสารขับไล่แมลง หรือด้วยมาตรการควบคุมยุง เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหรือการระบายน้ำนิ่ง มียารักษาโรคหลายชนิดที่ป้องกันมาลาเรียในผู้ที่เดินทางไปยังบริเวณที่พบโรคมาลาเรียทั่วไป แนะนำให้ใช้ยารักษาโรคซัลฟาด็อกซีน/ไพริเมธามีนบางครั้งในทารกและหลังไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ในบริเวณซึ่งมีโรคมาลาเรียอัตราสูง โรคมาลาเรียยังไม่มีวัคซีนนอกจากนี้พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ทำให้ไม่มีการตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย จึงทำให้โรคไข้มาลาเรียมีการระบาดตลอดปี และมีการระบาดในทุกกลุ่ม ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของโรคมาลาเรีย จึงต้องมีการป้องกัน โดยการสร้างความเข้าใจ ให้ความสำคัญ และให้ความร่วมมือในการพ่นสารเคมีตกค้างในบ้าน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคไข้มาลาเรียได้
กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกาหลงจัดทำโครงการควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชน ตำบลกาหลง ขึ้นมาโดยเห็นว่าการควบคุมโรคมาลาเรีย เป็นวิธีหนึ่งเพื่อเป็นป้องกันและการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและตื่นตัวเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคมาลารียจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ชุมชนปลอดโรคมาลาเรีย
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจึงได้จัดทำโครงการควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชนตำบลกาหลง ตำบลกาหลงอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ ๒๕๖2 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย ในทุกกลุ่มอายุ

ลดอัตราป่วยของโรคมาลาเรียในชุมชน

50.00 1.00
2 เพื่อเป็นการให้ประชาชนตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียนด้วยการช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ที่เป็นพาหนะนำโรค

ประชาชนสามารถป้องกันตัวเองจากโรคมาลาเรียได้

50.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการและอสม. เพื่อเตรียมความพร้อมแนวทางการป้องกันโรคมาลาเร

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการและอสม. เพื่อเตรียมความพร้อมแนวทางการป้องกันโรคมาลาเร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง จำนวน ๓๐ คน X ๒๕ บาท X ๑ มื้อ =๗๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.ร้อยละ 100 เตรียมพร้อมให้บริการประชาชนในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 2 ๒.1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคมาลาเรีย

ชื่อกิจกรรม
๒.1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคมาลาเรีย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง 25 บาท x ๕๐ คน x 2 มื้อ =๒,๕๐๐บาท ค่าอาหารกลางวัน 75 บาท x ๕๐ คน x 1 มื้อ = ๓,๗๕๐บาท ค่าป้ายไวนิล    ขนาด ๑ X ๓ เมตร = ๑,๐๘๐บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เรื่องมาลาเรียและรู้จักป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคมาลาเรียในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7330.00

กิจกรรมที่ 3 3.1 พ่นน้ำยา ๓ เดือนต่อ ๑ ครั้ง วันละ ๒ ชั่วโมง ต่อวัน ทั้งหมด ๔ วัน

ชื่อกิจกรรม
3.1 พ่นน้ำยา ๓ เดือนต่อ ๑ ครั้ง วันละ ๒ ชั่วโมง ต่อวัน ทั้งหมด ๔ วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าตอบแทนผู้พ่นน้ำยา วันละ ๖๐บาท /ชั่วโมง จำนวน ๑๖ วัน เป็นเงิน=๑,๙๒๐

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1920.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ลดอัตราป่วยของโรคมาลาเรียในชุมชน
๒. ประชาชนสามารถป้องกันตัวเองจากโรคมาลาเรียได้


>