กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชนตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L2524-2-0012
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2562
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหะมะ ลือแบซา
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลรอฟิด หะยีดือเระ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2561 30 ก.ย. 2562 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมาลาเรีย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในประเทศไทย จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีแม้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้นแต่อัตราตายจากมาลาเรียยังคงสูงและในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 627,000 คน โดยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากมาลาเรียขึ้นสมอง เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน สถานการณ์ทั่วไปโรคไข้มาลาเรียช่วง ปี 2558 2559 และ 2560 พบผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย 17,444 13,570 และ 8,919 ราย อัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรียต่อพันประชากร 0.27 0.21 และ 0.14 ตามลำดับ โดยจังหวัดนราธิวาส พบผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการระบาดของโรคมาลาเรีย อย่างต่อเนื่องทุกปี จึงได้มีการเน้นให้มีการควบคุมโรคมาลาเรียเป็นนโยบายหลักของงานด้านสาธารณสุข อำเภอศรีสาคร เป็นอำเภอหนึ่งที่มีการระบาดของโรคมาลาเรียของจังหวัดนราธฺวาส โดยเฉพาะในเขตตำบลกาหลงมีการระบาดมากที่สุด ในปี ๒๕๖๐ พบผู้ป่วย พบมากที่หมู่ที่ ๑ กาหลง และพบการระบาดอย่างต่อเนื่อง ปี 256๒ สาเหตุจากยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรค ประกอบกับสภาพพื้นที่ของตำบลที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการระบาดของโรค ความเสี่ยงของโรคลดได้โดยการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยใช้มุ้งหรือสารขับไล่แมลง หรือด้วยมาตรการควบคุมยุง เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหรือการระบายน้ำนิ่ง มียารักษาโรคหลายชนิดที่ป้องกันมาลาเรียในผู้ที่เดินทางไปยังบริเวณที่พบโรคมาลาเรียทั่วไป แนะนำให้ใช้ยารักษาโรคซัลฟาด็อกซีน/ไพริเมธามีนบางครั้งในทารกและหลังไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ในบริเวณซึ่งมีโรคมาลาเรียอัตราสูง โรคมาลาเรียยังไม่มีวัคซีนนอกจากนี้พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ทำให้ไม่มีการตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย จึงทำให้โรคไข้มาลาเรียมีการระบาดตลอดปี และมีการระบาดในทุกกลุ่ม ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของโรคมาลาเรีย จึงต้องมีการป้องกัน โดยการสร้างความเข้าใจ ให้ความสำคัญ และให้ความร่วมมือในการพ่นสารเคมีตกค้างในบ้าน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคไข้มาลาเรียได้
กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกาหลงจัดทำโครงการควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชน ตำบลกาหลง ขึ้นมาโดยเห็นว่าการควบคุมโรคมาลาเรีย เป็นวิธีหนึ่งเพื่อเป็นป้องกันและการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและตื่นตัวเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคมาลารียจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ชุมชนปลอดโรคมาลาเรีย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจึงได้จัดทำโครงการควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชนตำบลกาหลง ตำบลกาหลงอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ ๒๕๖2 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย ในทุกกลุ่มอายุ

ลดอัตราป่วยของโรคมาลาเรียในชุมชน

50.00 1.00
2 เพื่อเป็นการให้ประชาชนตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียนด้วยการช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ที่เป็นพาหนะนำโรค

ประชาชนสามารถป้องกันตัวเองจากโรคมาลาเรียได้

50.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 0 0.00
??/??/???? ประชุมคณะกรรมการและอสม. เพื่อเตรียมความพร้อมแนวทางการป้องกันโรคมาลาเร 0 750.00 -
??/??/???? ๒.1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคมาลาเรีย 0 7,330.00 -
??/??/???? 3.1 พ่นน้ำยา ๓ เดือนต่อ ๑ ครั้ง วันละ ๒ ชั่วโมง ต่อวัน ทั้งหมด ๔ วัน 0 1,920.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ลดอัตราป่วยของโรคมาลาเรียในชุมชน ๒. ประชาชนสามารถป้องกันตัวเองจากโรคมาลาเรียได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2561 00:00 น.