กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหมู่บ้านนำร่องต้นแบบ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

1. นางยุพิน เสียมไหม
2. นางนวลปรางค์ ใจสมุทร
3. นางสาวสมเจริญ เสียมไหม
4. นางสาวสมใจ แซ่โถว
5. นางวาสนา ลิมาน

ตำบลนาทอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสภาพสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็ว และมีการประกอบอาหารด้วยตัวเองน้อยลง ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้โฟมเป็นภาชนะในการบรรจุอาหาร ที่นิยมกันแพร่หลาย เนื่องจากสะดวก ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย จากการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ พบว่า เมื่อนำกล่องโฟมไปบรรจะอาหารที่มีความร้อนสูงหรือมีไขมันหรือน้ำมันจะมีสารพิษออกมาปนเปื้อนอาหาร ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ได้แก่ สารสไตรีน ออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง ในผู้ชายเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและเป็นมะเร็งตับ ในผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งตับ ส่วนสารเบนซินออกฤทธิ์ทำลายไขกระดูกทำให้โลหิตจางและสารมาเลท เป็นสารทำลายระบบสืบพันธุ์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และกระบวนการทำลายและ กำจัดโฟมก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชน จากข้อมูลพื้นที่รับปิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน ซึ่งยังคงมีการใช้โฟมบรรจุอาหารกันอย่างแพร่หลายทำให้ผู้บริโภคในชุมชนสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆข้างต้น จากความสำคัญดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.นาทอน จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านนำร่องต้นแบบ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจะอาหารขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ดี และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชุมชนอื่นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมสุขาภิบาลอาหารและอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อสร้างความตระหนักให้ อสม. แกนนำชุมชน ร้านชำ ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยและครัวเรือนลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร

อสม. แกนนำชุมชน ร้านชำ ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยและครัวเรือนลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร ร้อยละ 50 จากการประเมินทุก 2 เดือน

0.00
3 เพื่อให้หมู่บ้านเป็นชุมชนต้นแบบลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร เป้าหมาย ร้อยละ 50 ของตัวแทนครัวเรือนหมู่

ชุมชนมีข้อตกลงร่วมกันและประกาศเป็นชุมชนปลอดโฟม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องหมู่บ้านนำร่องต้นแบบ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุ อาหาร ที่บ้านให้แก่ผู้ดูแลและ อสม.

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องหมู่บ้านนำร่องต้นแบบ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุ อาหาร ที่บ้านให้แก่ผู้ดูแลและ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตัวแทนครัวเรือน ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารเพื่อให้มีความรู้และตระหนักถึงอันตรายของการใช้โฟมบรรจุอาหาร ร่วมกันทำข้อตกลงของชุมชน และช่วยเผยแพระประชาสัมพันธ์ครอบคลุมหมู่บ้านอื่น
  2. จัดซื้อภาชนะตัวอย่างอื่น ที่ใช้บรรจุอาหารแทนโฟมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ใบตอง ใบบัว กระดาษ ชานอ้อย พลาสติกชีวภาพ กล่องพลาสติกใส
  3. ให้ อสม. สำรวจร้านชำ ร้านอาหาร/แผงลอย ครัวเรือน ที่ใช้ภาชนะบรรจุอาหารเพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลชุมชน
  4. จัดตั้งทีมติดตาม ประเมิน ชุมชน ร้านอาหาร/แผงลอย ที่ ลด ละ เลิก การใช้โฟม และใช้ภาชนะอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแทนโฟมบรรจุอาหาร อย่างต่อเนื่องทุก 2 เดือน
  5. จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร จำนวน 5 ผืน ไว้ทางเข้าหมู่บ้าน
  6. จัดทำป้ายโฟมร้านอาหาร/แผงลอย ไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร
    รายละเอียดงบประมาณ
    กิจกรรม อบรมรุ่นที่1
    -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม2 มื้อๆละ 20 บาท จำนวน 50 ชุด เป็นเงิน 2000 บาท
    -ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน 50 ชุด เป็นเงิน 3000 บาท
    -ค่าวิทยากรจำนวน 2 คนๆละ 3 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1800 บาท
    -ค่าเอกสารชุดละ 25 บาท 50 ชุด เป็นเงิน 1250 บาท
    -ค่ากระเป๋าผ้า จำนวน 50 ใบๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2500 บาท
    -ค่าป้ายโครงการ 500 บาท (ใช้สำหรับอบรม 2 รุ่น)
    -ค่าชุดสาธิต 500 บาท (ใช้สำหรับอบรม 2 รุ่น)
    -ค่าวัสดุในการอบรม 1000 บาท (ใช้สำหรับอบรม 2 รุ่น)
    กิจกรรมอบรม รุ่นที่ 2
    -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม2 มื้อๆละ 20 บาท จำนวน 50 ชุด เป็นเงิน 2000 บาท
    -ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน 50 ชุด เป็นเงิน 3000 บาท
    -ค่าวิทยากรจำนวน 2 คนๆละ 3 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1800 บาท
    -ค่าเอกสารชุดละ 25 บาท 50 ชุด เป็นเงิน 1250 บาท
    -ค่ากระเป๋าผ้า จำนวน 50 ใบๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2500 บาท
    กิจกรรมรณรงค์ หมู่บ้านนำร่องต้นแบบ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร
    -ป้าไวนิลรณรงค์ 5 ป้ายๆละ 500 บาท เป็นเงิน 2500 บาท
    -โฟมบอร์ดร้านนี้ปลอดโฟม จำนวน 7 ป้ายๆละ 300 บาท เป็นเงิน 2100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร ร้อลละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีประชาชนเป็นต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาะตามวิถีชุมชนได้เอง
2. กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรมร้อยละ 100
3. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ตระหนักถึงพิษของโฟมบบรจุอาหารร้อยละ 100
4. มีหมู่บ้านต้นแบบ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam)


>