กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กบ้านไร่ เติบโตสมวัย ปลอดภัยสมบูรณ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงเรียนบ้านไร่

1.นางสาวนภัสสร แสงประดับ 080-5494937
2.นางสาวผกากาญจน์ ไหมชุม 088-8288519

โรงเรียนบ้านไร่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละนักเรียน ครู และผู้ปกครอง รู้จักเลือกบริโภคอาหาร และวิธีการประกอบอาหารที่ปลอดภัย

จากการสำรวจโดยการสอบถามให้เด็กนักเรียนเก็บข้อมูล การรู้จักเลือกบริโภคอาหาร และการประกอบการที่ปลอดภัย

20.00
2 ร้อยละพื้นที่ในการปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียน

โรงเรียนมีพื้นที่ 10 ไร่ ถูกปล่อยให้ว่างเปล่า...2 ไร่

20.00
3 ร้อยละของนักเรียนที่ทานผักปลอดสารพิษ

 

60.00

โภชนาการเป็นเรื่องของการกิน "อาหาร" ที่ร่างกายเรานำ "สารอาหาร" จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข อาหาร และโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุโดยเฉพาะเด็กช่วงอายุ 4 - 12 ปี เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมการพัฒนารอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทุกเพศทุกวัยปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากการไม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน ทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร นอกจากนั้นยังเกิดจากพฤติกรรมการกินของเด็กที่มีผลต่อการกำหนดนิสัย และบุคลิกภาพของเด็กในอนาคต โดยการสะสมของพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นนับตั้งแต่มื้อแรกในชีวิต พฤติกรรมการกินต่างๆที่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูได้กำหนดให้เด็กซึ่งมีผลต่อนิสัยการกินของเด็กในอนาคต ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ช่วยกันดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหารการกินหรือโภชนาการของเด็ก ผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อให้ช่วยให้เด็กได้มีอาหารการกินที่ดีมีคุณค่าทางอาหาร และได้ปริมาณครบถ้วน ส่วนใหญ่เด็กมีปัญหาเรื่องความผอม ไม่สมสัดส่วน ซึ่งทีความจำเป็นต้องดูแล แก้ไข เอาใจใส่เด็กกลุ่มนี้ให้มีภาวะโภชนาการที่ดีต่อไปโดยทางโรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 140 คนทำกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษภายในโรงเรียน เพื่อนำผลผลิตที่ได้มาประกอบอาหารเช้าส่วนผลิตที่เหลือนำมาขายให้กับผู้ปกครองในชุมชน และทางโรงเรียนจะเปลี่ยนจากพื้นที่ว่างเปล่า ทำให้เกิดประโยชน์่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่ ปลูกผักปลอดสารพิษโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับความรู้และฝึกทักษะในการทำงานด้านอาชีพเบื้องต้น และสามารถ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตของตนเองและพัฒนาอาชีพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ครู และผู้ปกครอง รู้จักเลือกบริโภคอาหาร และวิธีการประกอบอาหารที่ปลอดภัย

ครู ผู้ปกครองและแม่ครัวมีความรู้เรื่องการบริโภคที่ถูกสุขลักษณะโภชนาการสมวัยร้อยละ 80

20.00 80.00
2 เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียน

พื้นที่ในการปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 60

20.00 60.00
3 เพื่อให้นักเรียนรับประทานผักทานผักปลอดสารพิษ และเป็นโรงเรียนปลอดสารพิษ

ร้อยละ 80 ขอเด็กในโรงเรียนได้รับประทานผักปลอดสารพิษ และเป็นโรงเรียนปลอดสารพิษ

60.00 80.00

เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกพืชผักและสามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 34
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 106
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครอง 132

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 31/03/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานครู บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านไร่

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานครู บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านไร่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการและระดมความคิดแนวทางการดำเนินกิจกรรม
งบประมาณ
1.ครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านไร่ 14 คนx ค่าอาหารว่าง 25 บาทเป็นเงิน 350 บาท
2.คณะกรรมการสถานศึกษา 14 คนx ค่าอาหารว่าง 25 บาทเป็นเงิน 350 บาท
3.ค่าเอกสาร 28 ชุด x 20 บาท เป็นเงิน 560 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะครู บุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านไร่ มีความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้เกิดกิจกรรมนี้ขึ้นมาได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1260.00

กิจกรรมที่ 2 จัดทำแผนที่อาหารในโรงเรียนและในชุมชน เกิดปฏิทินอาหารในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดทำแผนที่อาหารในโรงเรียนและในชุมชน เกิดปฏิทินอาหารในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ทำแผนที่ อาหารในโรงเรียน เพื่อดูผลผลิตทางอาหารในพื้นที่มาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารปลอดภัยเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบเสริมในการทำอาหารเช้า สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทุกวันศุกร์

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้แผนที่อาหารและปฎิทินอาหารในโรงเรียนและในชุมชน
2.เด็ก ผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมอาหารเช้าในโรงเรียน
งบประมาณ
วัสดุอุกกรณ์ในการทำแผนที่เช่นกระดาษบรูฟ ปากกาเคมี ดินสอสี เป็นต้น จำนวนเงิน 1000 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคที่ถูกสุขลักษณะ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคที่ถูกสุขลักษณะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคที่ถูกสุขลักษณะแก่นักเรียนและผู้ปกครอง จำนวน 300 คน
    งบประมาณที่ใช้
  2. อาหารว่างและเครื่องดื่มสมุนไพร300 ชุด x 25 บาท รวมเป็นเงิน 7,500 บาท
  3. ค่าเอกสาร 300 ชุด x 10 บาท รวมเป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองและนักเรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคที่ถูกสุขลักษณะมากยิ่งขึ้น นักเรียนได้ทำกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทั้ง 4 ด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10500.00

กิจกรรมที่ 4 การเพาะเห็ดนางฟ้า

ชื่อกิจกรรม
การเพาะเห็ดนางฟ้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ครูที่รับผิดชอบรวมกลุ่มนักเรียนชั้นอนุบาล ป.1 และ ป.2 จำนวน 68 คน 2.เชิญชาวบ้านมาให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเพาะ ดูแลและวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิต 3. จัดหาอุปกรณ์ในการทำโรงเรือนเพาะเห็ด จำนวน 1 โรงเรือน และก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า จำนวน 1,000ก้อน 4. นำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าจัดวางในโรงเรือน 5. ดูแลบันทึก ติดตาม สังเกตุการเจริญเติบโต พร้อมทั้งบันทึกผล ุ6.เก็บเกี่ยวตามระยะเวลาเพื่อนำไปจัดทำเป็นอาหารกลางวัน

งบประมาณที่ใช้
- ผ้าสแลนกันแดด ขนาด 2X100 เมตร จำนวน 2 ม้วน ราคาม้วนละ 1,250 บาท รวมเป็นเงิน 2,500 บาท
- ก้อนเชื้อ จำนวน 1,000 ก้อน ราคาก้อนละ 10 บาท รวมเป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง x 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า
  2. นักเรียนได้ใช้ทักษะในการสังเกตุการเจริญเติบโตและสามารถเก็บเกี่ยวได้ตามเวลา
  3. นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วมของกิจกรรมครั้งนี้
  4. สามารถนำผลผลิตมาประกอบเป็นอาหารกลางวัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14300.00

กิจกรรมที่ 5 ปุ๋ยหมักชีวภาพ

ชื่อกิจกรรม
ปุ๋ยหมักชีวภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ครูที่รับผิดชอบรวมกลุ่มนักเรียนชั้น ป.5 และ ป.6 จำนวน 42 คน

2.เชิญชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องการปุ๋ยหมักชีวภาพมาให้ความรู้ และทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

งบประมาณที่ใช้

  • ถังพลาสติกสำหรับทำปุ๋ยหมัก ราคาใบละ 1,200 บาท x 3 ใบ เป็นเงิน 3,600 บาท

  • หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM ลิตรละ 150 บาท  x 20 ลิตร  รวมเป็นเงิน 3,000 บาท

  • ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง x 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

กิจกรรมที่ 6 การปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
การปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ครูที่รับผิดชอบรวมกลุ่มนักเรียนชั้น ป.3 ถึง ป.6 จำนวน 71 คน

2.เชิญชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องการปลูกผักมาให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเพาะเมล็ดพันธ์ุผัก ดูแลและวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิต

  1. จัดหาเมล็ดพันธ์ุผัก เช่น ผักบุ้ง ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง เป็นต้น

  2. จัดเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกผัก

  3. ดูแลบันทึก ติดตาม สังเกตุการเจริญเติบโต พร้อมทั้งบันทึกผล

ุ6.เก็บเกี่ยวตามระยะเวลาเพื่อนำไปจัดทำเป็นอาหารกลางวัน

งบประมาณที่ใช้

  • เมล็ดพันธ์ุผัก เป็นเงิน 2,000 บาท

  • ดินที่ใช้ในการเพาะปลูก จำนวน 30 กระสอบ x 35 บาท รวมเป็นเงิน 1,050 บาท

  • ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง x 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ
  2. นักเรียนได้ใช้ทักษะในการสังเกตุการเจริญเติบโตและสามารถเก็บเกี่ยวได้ตามเวลา
  3. นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วมของกิจกรรมครั้งนี้
  4. สามารถนำผลผลิตมาประกอบเป็นอาหารกลางวัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4850.00

กิจกรรมที่ 7 อาหารเช้าปลอดภัยในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
อาหารเช้าปลอดภัยในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทุกวันศุกร์จะให้นักเรียนนำผลผลิตภายในครัวเรือนทำอาหารเช้า เป็นเวลา 6 เดือน

วัสดุในการทำอาหารเช่น เช่นน้ำปลา น้ำตาล ซอสปรุงรส ครั้งละ500 บาท x 4 อาทิตย์ เป็นเวลา 6 เดือน

รวมเป็นเงิน 12000

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กได้ทานอาหารเช้าที่ปลอดสารพิษจากชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 8 ออกกฎกติกาในโรงเรียนและชุมชน เรื่อง การโรงครัวโรงเรียนต้องใช้วัตถุดิบจากเกษตรที่ปลูกผักปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
ออกกฎกติกาในโรงเรียนและชุมชน เรื่อง การโรงครัวโรงเรียนต้องใช้วัตถุดิบจากเกษตรที่ปลูกผักปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกกฎกติกาในโรงเรียนและชุมชน ให้เป็นโรงเรียนปลอดสารพิษ และชุมชนปลอดสารพิษ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีกติกาในโรงเรียนและในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 9 ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ทำแบบสอบถามพึงพอใจ

-สมุดบันทึกสุขภาพของนักเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนในโรงเรียนมีสุขภาพที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 10 คืนข้อมูลด้านสุขภาพให้แก่ผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
คืนข้อมูลด้านสุขภาพให้แก่ผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คืนข้อมูลในวันประชุมผู้ปกครอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองได้รับข้อมูลจากการทำกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 52,310.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษและสามารถนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้
2.นักเรียนรู้จักเลือกบริโภคอาหารและวิธีประกอบอาหารที่ปลอดภัย
3.นักเรียน ผู้ปกครองและครู มีแผนที่อาหารปลอดภัยในโรงเรียนและในชุมชน
4.มีกติกาโรงเรียนและชุมชนเป็นโรงเรียนปลอดสารพิษ และชุมชนปลอดสารพิษ


>