กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรปลอดภัยไร้สารเพื่ออาหารกลางวัน สำหรับนักเรียนวัดท่าประดู่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงเรียนวัดท่าประดู่

1.นางสุขะมุกข์ เรืองอ่อน โทร 089-2973704
2.นางพรรณภาเพ็ชรแก้วโทร 081-3682628
3.นายพิเชต และหลี โทร 081-8978948
4.นางอาภรณ์ บุราณ โทร 064-9292395
5.นางรัชดา แดงเหมือน โทร 098-0151725

โรงเรียนวัดท่าประดู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละพื้นที่โรงเรียนทำการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

 

30.00
2 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

15.00
3 สัดส่วนวัตถุดิบจากแปลงเกษตรของโรงเรียนที่ถูกนำไปใช้เพื่ออาหารกลางวัน

 

10.00

ข้อมูลการซื้อวัตถุดิบเพื่อประกอบอาหารกลางวัน........โรงเรียน
ข้อมูลภาวะโภชนาการ พัฒนาการนักเรียน........
สถานการณ์การปนเปื้อนของสารเคมีในวัตถุดิบ(จาก สาธารณสุขอำเภอ)
ข้อมูลการทำอาหารกลางวันของโรงครัว....พบว่า.....

โรงเรียนเป็นสถานที่ในการผลิตพลเมืองที่มีคุณภาพของชาติ เป็นแหล่งการเรียนรู้ พัฒนาทางด้านสติปัญญาทางด้านร่างกายทางด้านอารมณ์ และทางด้านสังคมในสังคมปัจจุบันมีความเจริญและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีมากมาย การพัฒนาด้านจิตใจคุณธรรมและจริยธรรมยังมีน้อย ดังนั้น โรงเรียนวัดท่าประดู่ จึงได้จัดทำโครงการ เกษตรพอพียงเพื่ออาหารกลางวัน เป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดกับนักเรียนนักเรียนสามารถเรียนรู้ในโรงเรียนได้อย่างมีความสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มสัดส่วนวัตถุดิบปลอดภัยเพื่ออาหารกลางวัน

ร้อยละของวัตถุดิบที่ผลิตจากแปลงเกษตรโรงเรียนถูกนำเป็นวัตถุดิบ

10.00 50.00
2 ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6  ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ลดลงเหลือ

15.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 56
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 101
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะกรรมการสถานศึกษา 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานครู บุคลากรโรงเรียนวัดท่าประดู่เพื่อชี้แจงโครงการและหาแนวทางร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานครู บุคลากรโรงเรียนวัดท่าประดู่เพื่อชี้แจงโครงการและหาแนวทางร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการและระดมความคิดแนวทางการดำเนินกิจกรรม จำนวน 14 คน ระยะเวลา ครึ่งวัน
งบประมาณ
1.ครูและบุคลากรโรงเรียนวัดท่าประดู่ 14 คน x ค่าอาหารว่าง 25 บาทเป็นเงิน 350 บาท
2.ค่าเอกสาร 14 ชุด x 20 บาท เป็นเงิน 280 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะครู บุคลากร และโรงเรียนวัดท่าประดู่ มีความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้เกิดกิจกรรมนี้ขึ้นมาได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
630.00

กิจกรรมที่ 2 การเพาะเห็ดนางฟ้าวัตถุดิบปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
การเพาะเห็ดนางฟ้าวัตถุดิบปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครูที่รับผิดชอบและกลุ่มนักเรียนโรงเรียนวัดท่าประดู่ ร่วมกับเชิญชาวบ้านที่เป็นปราชญ์ชุมชนเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเพาะเห็ดเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับอาหารกลางวัน เนื่องจากเห็ดเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และสามารถเพาะปลูกได้ตลอดฤดูกาล ที่สำคัญคือ การไม่ใช้สารเคมีในการเพาะเห็ด

งบประมาณที่ใช้
1. ผ้าสแลนกันแดด ขนาด 2 X 100 เมตร จำนวน 2 ม้วน ราคาม้วนละ 1,250 บาท รวมเป็นเงิน 2,500 บาท
2.ค่าก้อนเชื้อ จำนวน 1,000 ก้อน ราคาก้อนละ 10 บาท รวมเป็นเงิน 10,000 บาท
3. ค่าวิทยากรปราชญ์ชาวบ้านเรื่องการทำก้อนเชื้อเห็ด และการดูแลเห็ด 2 ชม.x600 บาท เป็นเงิน 1200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนและครูเรียนรู้การผลิตเห็ดปลอดภัยเพื่อเป็นอาหารกลางวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13700.00

กิจกรรมที่ 3 ออกกฎกติกาในโรงเรียน เรื่อง โรงครัวโรงเรียนต้องใช้วัตถุดิบจากเกษตรที่ปลูกผักปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
ออกกฎกติกาในโรงเรียน เรื่อง โรงครัวโรงเรียนต้องใช้วัตถุดิบจากเกษตรที่ปลูกผักปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกกฎกติกาในโรงเรียน ให้เป็นโรงเรียนปลอดสารพิษ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีกติกาในโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 การปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
การปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครูที่รับผิดชอบและกลุ่มนักเรียนโรงเรียนวัดท่าประดู่ จำนวน 157 คน ร่วมกับชาวบ้าน เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกผัก ให้ความรู้เรื่องการปลูกผักมาให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเพาะเมล็ดพันธ์ุผัก ดูแลและวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิต ฝึกการทำปุ๋ยหมักจากวัชพืช ส่วนการดูแลผักที่ปลูกจะมีการแบ่งหน้าที่กันของนักเรียน ระหว่างการปลูกจะบูรณาการกับวิชาวิทยาศาสตร์และศิลปะ เพื่อให้นักเรียนวาดภาพเพื่อให้เห็นพัฒนาการของผักที่ปลูก

งบประมาณที่ใช้
1. เมล็ดพันธ์ุผัก เป็นเงิน 2,000 บาท
2. ค่าวัสดุทำปุ๋ยหมักจากเศษวัชพืช เช่น น้ำตาลทรายแดง หัวเชื้อ EMถังหมัก และแปลงหมัก คิดเป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ
2.นักเรียนได้ใช้ทักษะในการสังเกตุการเจริญเติบโตและสามารถเก็บเกี่ยวได้ตามเวลา
3.สามารถนำผลผลิตมาประกอบเป็นอาหารกลางวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,830.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีภาวะโภชนาการและพัฒนาการสมวัย
2. นักเรียนได้ปฏิบัติตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในโรงเรียนในครอบครัว และในชุมชน


>