กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนบ้านควนกบ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงเรียนบ้านควนกบ

1. นายนิโลมศรียะรัตน์ 081-096-2734
2. นางกัญญา ขุนโหร 082-4284468
3. นางจิรานุชปักกาเวสา 087
4. น.สนิยาสุขเกลี้ยง

โรงเรียนบ้านควนกบ อ.คลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

 

50.00
2 ร้อยละของนักเรียนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำ

 

60.00
3 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

 

10.00

เนื่องจากร้อยละ 40 ของนักเรียนไม่มีมีความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน ซึ่งพบว่านักเรียนร้อยละ 50 มีพฤติกรรมในการที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง และเด็กที่ผอมเนื่องจากไม่มีความรู้เรื่องโภชนาการอาหาร ทางโรงเรียนได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเองสามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผลจึงได้มีโครงการ อย.น้อยโดยนำศักยภาพของนักเรียนบ้านควนกบ มาใช้เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อยมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพและสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนครอบครัวและชุมชนตลอดจนให้ อย. มีการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริงซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการสร้างเครือข่ายชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน(อย.น้อย)พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนให้มีการรับรู้สิทธิผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมและมีการเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชนและเพื่อให้การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพซึ่งนักเรียน อย.น้อยจะมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนการทำหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัยเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์ในโรงเรียนและชุมชน
ดังนั้นโรงเรียนบ้านควนกบจึงได้จัดอบรม อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพโดยเพิ่มความรู้และทักษะในการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีให้แก่อย.น้อยเพื่อช่วยให้โรงเรียนตลอดจนในชุมชนได้รับความปลอดภัยจากการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน และมีพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำ

ร้อยละของเด็กมี่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมในการดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด

50.00 20.00
2 เพื่อลด เด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกินภาวะอ้วนลงพุง

ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุงลดลง

10.00 5.00
3 เพื่อเพิ่มให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

ร้อยละของนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

40.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 86
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มนักเรียนอบรม อย. น้อย 20
ครู 10
ผู้ปกครอง 50
ร้านค้า 15

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/07/2019

กำหนดเสร็จ 28/02/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานครู บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานครู บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการและระดมความคิดแนวทางการดำเนินกิจกรรม งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะครู บุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านควนกบ มีความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้เกิดกิจกรรมนี้ขึ้นมาได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ อย. น้อยในโรงเรียน รู้เท่าทันคุ้มครองผู้บริโภค

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ อย. น้อยในโรงเรียน รู้เท่าทันคุ้มครองผู้บริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้นักเรียนจำนวน 20 คน เป็นเวลา 1 วัน กำหนดการ - อบรมให้ความรู้เและปฏิบัติ อย. น้อยในโรงเรียน รู้เท่าทันคุ้มครองผู้บริโภค โดยให้การบ้านเด็กก่อนอบรมให้นำวัตถุดิบที่ร้านค้าในชุมชนมาทดสอบในวันอบรม
- อบรมความรู้เรื่องการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัย โดยมีการสังเกตุพฤติกรรมการเลือกซื้อและรับประทานอาหาร ก่อนและหลังทำโครงการ - การใช้น้ำมัน ให้ปลอดภัยทั้งผู้ประกอบอาหารและผู้บริโภค - ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัย - รู้เท่าทันพืชผักปลอดสารพิษ

งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มครูและนักเรียน 25 คน x 25 บาทx 2มื้อ รวมเป็น 1225 บาท
- วัสดุในการอบรม แฟ้ม สมุด ปากกา คู่มือ เป็นต้น 25 ชุดx 50 บาท รวมเป็น 1250 บาท
- ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ 3 กล่อง x 1350 บาท รวมเป็น 4050 บาท
- ชุดทดสอบสารเคมีในอาหาร 4 ชนิด ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ชุดทดสอบสารฟอกขาว ชุดทดสอบสารบอแรกซ์ ชุดทดสอบสารกันรา ชุดทดสอบฟอร์มาลีน ชุดทดสอบอาหาร ชุดทดสอบกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ Safety Test kit3 กล่อง x 1500บาท รวมเป็น 4500 บาท
- ค่าวิทยากรจาก รพสต.จำนวน 6 ชั่วโมง xุ 600 บาท รวมเป็น 3600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนได้ความรู้เรื่อง อย. น้อยในโรงเรียน รู้เท่าทันการบริโภคและคุ้มครองผู้บริโภค
2.นักเรียนได้ทดสอบอาหารในพื้นที่ และทำแผนที่แหล่งขายอาหารในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14625.00

กิจกรรมที่ 3 จัดทำแผนที่ร้านอาหารในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดทำแผนที่ร้านอาหารในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และครู จัดทำแผนที่ร้านอาหารในชุมชนเพื่อให้นักเรียนทราบว่าใน บริเวณโรงเรียนเรามีร้านขายของขายอาหารประเภทใดบ้าง เพื่อให้รู้เท่าทันการเลือกซื้ออาหาร
งบประมาณ
วัสดุอุปกรณ์ในการทำแผนที่เช่นกระดาษบรูฟ ปากกาเคมี ดินสอสี เป็นต้น จำนวนเงิน 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดแผนที่ร้านอาหารและร้านชำปลอดภัยในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 4 เสียงตามสายรู้เท่าทันผู้บริโภคและจัดทำสื่อออนไลน์

ชื่อกิจกรรม
เสียงตามสายรู้เท่าทันผู้บริโภคและจัดทำสื่อออนไลน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมเสียงตามสายรู้เท่าทันผู้บริโภค ทุกวันจันทร์

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีกิจกรรมเสียงตามสารในโรงเรียน และ นักเรียนได้รับความรู้อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 เดินรณรงค์รู้เท่าทันคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
เดินรณรงค์รู้เท่าทันคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครูนักเรียน แกนนำเดินรณรงค์ รู้เท่าทันคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน โดยมีการแจกแผนพับความรู้ และทดสอบสารปนเปื้อนอาหารในพื้นที่ และมีการคืนข้อมูลผลการตรวจให้ชุมชน
งบประมาณ
1. แผ่นพับ 200 แผนๆ ละ 5 บาท รวมเป็น 1000 บาท
2. ไวนิล 3 แผน 1.2x 2 เมตร x 200 บาท รวมเป็น 1440 บาท
3. วัสดุอุปกรณ์ในการทำแผนที่เช่นกระดาษบรูฟ ปากกาเคมี ดินสอสี เป็นต้น จำนวนเงิน 1000 บาท
4. อาหารว่างและเครื่องดื่มครูและนักเรียน 25 คน x 25 บาทx 2มื้อ รวมเป็น 1225 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.คนในชุมชนมีความรู้เท่าทันคุ้มครองผู้บริโภคและร้านทราบข้อมูลผลผลิตที่ขายว่ามีสารปนเปื้อนในอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3440.00

กิจกรรมที่ 6 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และคืนข้อมูลระหว่างโรงเรียนและชุมชน

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้และคืนข้อมูลระหว่างโรงเรียนและชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการเชิญผู้ปกครอง ครู นักเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในวันประชุมผู้ปกครองและเชิญร้านค้าที่เป็นร้านค้าสะอาด และปลอดภัย มารับเกียรติบัตร
ค่าใช้จ่าย
ค่าเกียรติบัตรพร้อมกรอบ 10 ร้าน x 200 บาท เป็นเงิน 2000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ครู นักเรียน และผู้ปกครองทราบข้อมูลสถานการณ์ในแหล่งสินค้าปลอดภัยในชุมชน ร้านค้าต้นแบบได้รับเกียรติบัตร ร้านค้าสะอาด และปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามการแก้ปัญหาเด็กที่รับประทานของหวานและนำอัดลม จากการติดตามเยี่ยมบ้านและสั่งเกตุพฤติกรรมในโรงเรียน การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ให้เด็กนักเรียนได้มาตรฐานตามเกณฑ์ ติดตามการแกไขปัญหาการมีสารปนเปือนในอาหาร โดยใช้ ชุดทดสอบ และทำแบบสอบถามก่อนหลังทำกิจกรรม ติดตามกิจกรรมการอบรมของนักเรียน โดยการทำแบบสอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจ ก่อนและหลังทำโครงการ

ค่าใช้จ่าย
1.ค่าเอกสาร เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการติดตามระเมินผลกิจกรรมตามหัวข้อต่างๆ
ค่าถ่ายแบบสอบถาม 500 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 8 ออกกฎกติกาในโรงเรียนและชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ออกกฎกติกาในโรงเรียนและชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกกฎกิติกาในโรงเรียนและชุมชน และเผยแพร่กติกาผ่านป้ายไวนิล ในประเด็นดังนี้
1.โรงเรียนสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม และขนมกรบกรอบ น้ำอัดลมในโรงเรียน
2.ออกกฎกิติกาในชุมชน คือ ไม่ขายน้ำอัดลม หรืออาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมีในชุมชน
ค่าใช้จ่าย
1. ป้ายประกาศกติกาโรงเรียน-ชุมชน ขนาด 0.5 mx 1 เมตร จำนวน 3 แผ่น คิดเป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีกฎกติกาโรงเรียนและกฎกติกาชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,165.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>