กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ตลาดพอเพียงเพื่อสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงเรียนบ้านคลองช้าง ม.9

โรงเรียนบ้านคลองช้าง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ

จากรายงานภาวะโภชนาการของโรงเรียนบ้านคลองช้าง ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2562 มีนักเรียนอ้วน และค่อนข้างอ้วนเป็นจำนวนร้อยละ 10 ซึ่งสาเหตุของความอ้วนส่วนหนึ่งมาจากนิสัยการบริโภคที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ได้แก่ การบริโภคอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลมากเกินไป ซึ่งเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข

10.00
2 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

จากสภาพการประกอบอาชีพของชุมชน ตำบลบางเหรียง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตผักที่ส่งขายไปยังอำเภอหาดใหญ่ และบริเวณใกล้เคียง การปลูกผักที่ทำเป็นธุรกิจครัวเรือนส่วนใหญ่ต้องพึ่งสารเคมี ในการปราบศัตรูพืชที่อันตรายต่อผู้ใช้และผู้บริโภค จากการสังเกตในภาคสนาม ในการเพาะปลูกของเกษตรกรในชุมชน มีการพ่นยาฆ่าแมลง โดยใช้สารเคมี เป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่มีการตระหนักถึงโทษภัยของสารเคมี ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในระยะยาว จากdkiสอบถามนักเรียนจำนวน 64 คน มีจำนวน 32 คน บริโภคผักและผลไม้ที่วางขายในตลาดที่แม่ค้ารับซื้อมาจากสวนที่มียาฆ่าแมลง

50.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่ ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานเป็นประจำ

ร้อยละของนักเรียนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มที่มีรสหวานเป็นประจำลดลง

10.00 5.00
2 เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่รับประทานผักผลไม้ที่มีสารเคมีปนเปื้อน

ร้อยละของนักเรียนที่รับประทานผักผลไม้ที่มีสารเคมีปนเปื้อน

50.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 64
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/05/2019

กำหนดเสร็จ 31/03/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุม ครู คณะกรรมการ และผู้ปกครอง. จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุม ครู คณะกรรมการ และผู้ปกครอง. จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการประกอบด้วย ครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา จำนวน 50 คน 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 X 50 เป็นเงิน 1,250 บาท 2.เอกสารการประชุม 50 ชุด X 10 บาทเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต(สิ่งที่จะเกิดขึ้น) 1.ผู้เข้าร่วมโครงการรับทราบแนวทางการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1750.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้นักเรียนและผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้นักเรียนและผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมนักเรียน และผู้ปกครอง จำนวน80 คน 1.ค่าอาหารว่าง จำนวน 80 x 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 2. ค่าตอบแทนวิทยาการ จำนวน 3 ชม.X 600 บาท เป็น 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริโภคอาหารปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3800.00

กิจกรรมที่ 3 จัดตลาดนัดอาหารสร้างสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดตลาดนัดอาหารสร้างสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดตลาดนัดเพื่อสาธิตและจำหน่ายอาหารที่เน้นอาหารเพื่อสุขภาพ เดือนละ 1 ครั้ง
1.จัดทำเมนูสาธิต ยำผักเพื่อสุขภาพ ค่าวัสดุปกรณ์การจัดเมนูสาธิต ยำผักเพื่อสุขภาพจำนวน50 ชุด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 2.จัดทำเมนูสาธิต น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพไม่เน้นหวาน ค่าวัสดุ เมนูสาธิต น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพไม่เน้นหวานจำนวน 50 แก้ว ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท 3. จัดทำเมนูสาธิต เห็ดและผักชุบแป้งทอด ค่าวัสดุ เมนูสาธิต เห็ด และผักชุบแป้งทอด เพื่อสุขภาพเป็นเงิน 500 บาท 4. ทำป้ายประชาสัมพันธ์ ค่าวัสดุ ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ตลาดพอเพียงจำนวน 1 แผ่นเป็นเงิน 650 บาท 5. จัดตลาดให้นักเรียน ขายผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์อาหารไม่เน้นหวาน และปลอดสารเคมี 6. เชิญชวน ผู้ปกครองและชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมตลาดนัด

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและผู้ปกครอง เป็นผู้ขาย และผู้บริโภคอาหารอาหารปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2650.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการสร้างนิสัยบริโภคอาหารปลอดภัยของนักเรียน และผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลการสร้างนิสัยบริโภคอาหารปลอดภัยของนักเรียน และผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ออกเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อติดตามผลการสร้างนิสัยบริโภคอาหารปลอดภัย
  2. ออกติดตามการปลูกพืช ผัก ปลอดสารเคมี เพื่อบริโภคในครัวเรือน
  3. ติดตามผลภาวะโภชนาการของนักเรียน
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและผู้ปกครอง  บริโภคอาหารปลอดภัย เลือกบริโภค อาหารที่มีรสหวานน้อย  เลือก บริโภคผักและผลไม้ที่ปลอดสารเคมี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีภาวะโภชนการที่เหมาะสมกับวัย มีนักเรียนอ้วน และค่อนข้างอ้วนลดน้อยลง
2. นักเรียนและครอบครัวได้บริโภคผักและผลไม้ที่ปลอดสารเคมี จากการจัดหาพืช ผัก ผลไม้จากแหล่งที่ผลิตเองหรือในชุมชน
3. นักเรียนและบุคคลในครอบครัว มีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย


>