กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

การประยุกต์ใช้โยคะโดยครูพี่เลี้ยง เพื่อการพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

การประยุกต์ใช้โยคะโดยครูพี่เลี้ยง เพื่อการพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

1. ผศ.จิรพรรณ พีรวุฒิ ที่ปรึกษาโครงการ
2. ผศ.ดร.ทรงพร จันทรพัฒน์
3. ผศ.กัญจนี พลอินทร์
4. อ.กฤษณา เฉลียวศักดิ์
5. อ.วรรณลี ยอดรักษ์

คณะพยายาลศาสตร์ ม ทักษิณและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบ้านพร้าว 4 ศูนย์ อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

มนุษย์ต้องพัฒนาศักยภาพตนเองเพื่อการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และสร้างความพร้อมเพื่อพัฒนาประเทศ เด็กปฐมวัยซึ่งมีอายุระหว่าง 3-6 ปี ถือเป็นอนาคตของชาตินั้น ควรที่จะเริ่มต้นได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านความสามารถด้านปัญญา เนื่องจากเป็นวัยที่สำคัญของการเจริญเติบโตงอกงามสำหรับชีวิต จากพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ สังคม และบุคลิกภาพ และการเรียนรู้ที่จะหล่อหลอมความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม จริยธรรม ภาษา และสติปัญญา โดยทั้งนี้การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์จะขึ้นอยู่กับสมองของมนุษย์นั่นเอง
การ์ดเนอร์ (Garder, 1983) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เชื่อว่าความสามารถหรือปัญญาแต่ละด้าน เป็นกระบวนการของจิตใจ หรือความสามารถที่จะค้นหา แก้ปัญหา และสร้างผลผลิตที่คุณค่าเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยศักยภาพของความสามารถหรือปัญญามี 9 ด้าน ได้แก่ ความสามารถด้านภาษา (linguistic intelligence) ความสามารถด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (mathematical intelligence) ความสามารถด้านมิติ (spatial intelligence) ความสามารถด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (bodily-kinesthetic intelligence) ความสามารถด้านดนตรี (musical intelligence) ความสามารถด้านความเข้าใจระหว่างบุคคล ((interpersonal intelligence) ความสามารถด้านความเข้าใจตนเอง (intrapersonal intelligence) ความสามารถด้านธรรมชาติ (naturalist intelligence) และความสามารถด้านอัตภวนิยม จิตนิยม หรือการดำรงคงอยู่ของชีวิต (existential intelligence) แม้มีสภาวะทางร่างกาย เพศ พันธุกรรม ที่จะส่งผลต่อความถนัดและเจตคติของแต่ละคน การรับรู้และเรียนรู้ที่แตกต่างกัน หรือมีศักยภาพทางปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากัน แต่ก็สามารถพัฒนาศักยภาพดังกล่าวได้ตามสมองของมนุษย์ซึ่งแบ่งออกเป็นส่วนๆ และแต่ละส่วนจะกำหนดความสามารถเป็นเรื่องๆ ตามสภาพแวดล้อมของตนเอง
โยคะ เป็นศาสตร์หนึ่งของภูมิปัญญาตะวันออก เป็นการฝึกกายและใจให้เป็นหนึ่งเดียว โดยเป็นการฝึกควบคุมร่างกายและกล้ามเนื้อ ช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรง การฝึกด้านจิตใจช่วยให้เกิดความสงบ มีสมาธิ การฝึกที่ผสานลมหายใจเข้ากับท่วงท่าการเคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยให้มีสติกับสิ่งที่เป็นอยู่ สำหรับการพัฒนาด้านสติปัญญานั้น เชื่อว่าโยคะช่วยในการบริหารสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาให้มีความสมดุลและทำงานผสานสอดคล้องกัน ดังการที่เด็กมีการเคลื่อนไหวร่างกายทั้งด้านซ้ายและด้านขวา มีการทำงานของร่างกายอย่างประสานสัมพันธ์กัน (coordination) ระหว่างมือ ศีรษะ แขน ลำตัว และเท้า อีกทั้งยังเป็นการฝึกการเคลื่อนไหวที่เป็นจังหวะในทิศทางซ้ายและขวา หน้าและหลัง บนและล่าง ส่วนที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างสมองซีกซ้ายและขวาสามารถทำงานได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
การประยุกต์ใช้โยคะ ด้วยการใช้ท่าทางฝึกซึ่งเลียนแบบสรรพสิ่งในธรรมชาติอย่างง่ายๆ และน่าสนใจ เช่น ท่าทางของสัตว์ต่างๆ สามารถส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาด้านจินตนาการและภาษา เด็กยังได้ออกกำลังกายพร้อมฝึกสมาธิไปด้วย กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่น สามารถเคลื่อนไหวและข้อต่อทุกส่วนในร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว นอกจากนี้การจัดรูปแบบของการสร้างบรรยากาศในการฝึกโยคะ เช่น เปิดเพลงบรรเลง จะช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายความตึงเครียด หรือผสานการเล่น เล่านิทานร่วมด้วย จะทำให้เกิดเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานเพลิดเพลิน หรือกำหนดนับตัวเลขขณะฝึกปฏิบัติก็จะเป็นการช่วยกระตุ้นการทำงานของร่างกายและสมอง ดังนั้นการประยุกต์ใช้โยคะสำหรับเด็กปฐมวัย จึงทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดี มีการเรียนรู้เมื่ออยู่ในกลุ่มเพื่อนด้วยกัน ในการเป็นผู้นำ ผู้ตาม เกิดการยอมรับตนเองและผู้อื่น
ดังนั้น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จึงตระหนักและเห็นความสำคัญในคุณภาพการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมศักยภาพของเด็กวัยนี้ และเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กทุกคนร่วมมือกันพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน เพื่อวางรากฐานทั้งด้านการนึกคิดและบุคลิกภาพ ให้เด็กเจริญเติบโตเป็นอนาคตที่ดีของชาติต่อไป ทั้งนี้ครูพี่เลี้ยงของเด็กปฐมวัย เป็นบุคคลหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเด็กอย่างใกล้ชิด โดยครูพี่เลี้ยงสามารถจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เหมาะสม ที่เป็นการจัดกิจกรรมตรง ผ่านการลงมือปฏิบัติ เกิดความสนุกสนานและมีประโยชน์ มีความผสมผสานศิลปะที่จะช่วยให้เด็กเข้าใจตนเองและผู้อื่น การสื่อความหมาย และการพัฒนาศักยภาพด้านร่างกาย โดยคำนึงถึงความแตกต่างศักยภาพด้านต่างๆ ของเด็กแต่ละคน จะช่วยให้เด็กพัฒนาศักยภาพความสามารถทางปัญญาได้เป็นอย่างดี คณะพยาบาลศาสตร์ จึงได้จัดให้มีโครงการการประยุกต์ใช้โยคะโดยครูพี่เลี้ยงเพื่อการพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้นในครั้งนี้ เพื่อช่วยให้ครูพี่เลี้ยงของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการรับรู้ถึงความสามารถของตนเองในการประยุกต์ใช้โยคะเพื่อการพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่จะนำไปสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยความมั่นใจ ก่อให้เกิดการพัฒนาความสามารถทางด้านปัญญาแก่เด็กปฐมวัยที่ตนเองรับผิดชอบดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 ครูพี่เลี้ยงร้อยละ 80 รับรู้ถึงความสามารถของตนเองในการประยุกต์ใช้โยคะเพื่อการพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย ข้อที่ 2 เด็กร้อยละ 80 มีความสามารถทางพหุปัญญาเพิ่มขึ้น

-คะแนนการรับรู้ถึงความสามารถของตนเองของครูพี่เลี้ยงในการประยุกต์ ใช้โยคะเพื่อการพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้น -คะแนนความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กเพิ่มขึ้น

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 13
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการ

ชื่อกิจกรรม
โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำโครงการและขอเสนออนุมัติงบประมาณ
  2. คณะทำงานประชุมปรึกษาวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน
  3. ดำเนินโครงการตามแผน 3.1 พัฒนาคู่มือและแผนการสอนเพื่อการพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยด้วยโยคะสำหรับครูพี่เลี้ยง (มกราคม 2563) 3.2 ประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองของครูพี่เลี้ยงก่อนเริ่มกิจกรรม (กุมภาพันธ์ 2563) 3.3 จัดกิจกรรมการอบรมครูพี่เลี้ยง (จำนวน 2 วัน กุมภาพันธ์-เมษายน 2563) 3.3 ประเมินการรับรู้ตนเองของครูพี่เลี้ยงหลังกิจกรรมการอบรม (กรกฎาคม 2563) 3.4 ประเมินความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กก่อนการสอนของครูพี่เลี้ยง (กุมภาพันธ์ 2563) 3.5 ครูพี่เลี้ยงแต่ละศูนย์ฯ ประยุกต์ใช้โยคะสอนเด็กเล็ก (พฤษภาคม-กรกฎาคม 2563) 3.6 ประเมินความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กหลังการสอนของครูพี่เลี้ยง (กรกฎาคม 2563) 3.7 กิจกรรมประเมินการรับรู้ถึงความสามารถของตนเองของครูพี่เลี้ยงในการประยุกต์ใช้โยคะเพื่อการพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย (หลังเสร็จสิ้นโครงการ)
  4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การสอนของครูพี่เลี้ยง (กรกฎาคม 2563)
  5. สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ (สิงหาคม 2563) งบประมาณ -ค่าป้ายโครงการ 1*3  @150.-  เป็นเงิน  450.-

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( 18ชุด25บาท6ครั้ง) เป็นเงิน 2700.- -ค่าเอกสารคู่มือการประยุกต์ใช้โยคะ   ( 13 ชุด100บาท)  เป็นเงิน  1300.- -ค่าเอกสารประเมินการรับรู้ถึงความสามารถของครูฯ ( 13 ชุด20บาท2ครั้ง)  เป็นเงิน  520.- - ค่าตอบแทนวิทยากร 600.-x10 ชม.) เป็นเงิน 6000.- -ค่าอาหารกลางวัน ( 18คน80บาท(บุพเฟ่) 2ครั้ง  เป็นเงิน 2880.- -ค่าเอกสารประเมินความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย (100 ขุด5บาท) เป็นเงิน 500.- -ค่าอาหารกลางวัน (18 คน*80บาท) *(บุพเฟ่) เป็นเงิน 1440.- รวมเงินทั้งสิ้น   15,790.-

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัดผลผลิต (Outputs) 1.คะแนนการรับรู้ถึงความสามารถของตนเองของครูพี่เลี้ยงในการประยุกต์ใช้โยคะเพื่อการพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้น 2.คะแนนความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้น ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcomes) 1.ครูพี่เลี้ยงมีการรับรู้ถึงความสามารถของตนเองในการประยุกต์ใช้โยคะเพื่อการพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง 2.เด็กปฐมมีความสามารถทางพหุปัญญาอันจะนำไปสู่การสร้างพื้นฐานที่ดีสำหรับการดำเนินชีวิตในอนาคต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15790.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,790.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ครูพี่เลี้ยงมีการรับรู้ถึงความสามารถของตนเองในการประยุกต์ใช้โยคะเพื่อการพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง
2.เด็กปฐมมีความสามารถทางพหุปัญญาอันจะนำไปสู่การสร้างพื้นฐานที่ดีสำหรับการดำเนินชีวิตในอนาคต


>