กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไม่ติดต่อ รพ.สต.น้ำขาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

อสม.หมู่ 6บ้านน้ำขาวใน

1. นางอาภรณ์ปิยะรัตน
2. นางละอองหนูสุข
3. นางจำเนียรแก้วคง
4. นางเบญจพรแก้วประดับ
5. นางละเอียดแก้วศรีเพชร

หมู่ที่ 1 , 3 , 5 , 6 , 9 และ 10ตำบลนำ้ขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

 

182.00
2 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

29.00
3 จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

 

40.00
4 จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

 

22.00
5 จำนวนผู้ป่วยมะเร็ง

 

12.00
6 จำนวนประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

594.00
7 จำนวนประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน

 

839.00

สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วย ปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลกซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นสถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า ในปี 2552 ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวน 108 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 422 ล้านคน ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 1.5 ล้านคน นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรทั่วโลกที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 8.5 หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้ว พบว่า ปัจจุบันประชากรวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คนป่วยเป็นโรคเบาหวาน ส่วนในประเทศไทย จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราตายด้วยโรคเบาหวานต่อประชากรแสนคน ในภาพรวมของประเทศในปี 2556 - 2558 เท่ากับ 14.93, 17.53 และ 17.83 ตามลำดับ เห็นได้ว่า อัตราการตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี และจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายในประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ครั้งที่ 3, 4 และ 5 (ปี 2547, 2552 และ 2557) พบว่า ความชุกของโรคเบาหวาน ของครั้งที่ 3 ร้อยละ 7 ใกล้เคียงกับครั้งที่ 4 ร้อยละ 6.9 ส่วนครั้งที่ 5 เพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 8.8 (คิดเป็น 4.8 ล้านคน)นอกจากนี้ ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 2551 ยังพบว่าประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกในการรักษาพยาบาลโรคเบาหวานเฉลี่ย 1,172 บาทต่อราย ส่วนผู้ป่วยในค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ย 10,217 บาทต่อราย รวมค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้น 3,984 ล้านบาทต่อปี หากคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน รวม 3 ล้านคนต่อปี มารับบริการที่สถานพยาบาล จะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้นประมาณ 47,596 ล้านบาทต่อปี (http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?)การที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วยแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานจึงเป็นทางเลือกที่ดีการป้องกันและควบคุมโรคสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ตรวจคัดกรองคัดโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป

ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

839.00 756.00
2 เพื่อรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป

ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

594.00 535.00
3 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง และติดตามระดับน้ำตาลในเลือดหรือความดันโลหิตหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  1. กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 60
  2. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน(ค่า DTX>=100 mg/dL) หรือโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหรือวัดความดันโลหิตหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 100
93.00 66.00
4 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง

ประชากรกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามและส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 100

273.00 273.00
5 เพื่อรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
  1. สตรีอายุ 30 - 70 ปี ได้รับการตรวจเต้านมด้วยตนเองหรือเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 80
467.00 373.00
6 เพื่อรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pap Smear
  1. สตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pap Smearร้อยละ 80
363.00 290.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 273
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 183
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รณรงค์การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ฟื้นฟูความรู้ อสม.และแกนนำในการใช้อุปกรณ์และแนวทางการออกให้บริการประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน
  2. ร่วมกับ อสม.และแกนนำ ออกให้บริการตรวจคัดกรองความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลในเลือด พร้อมทั้งให้สุขศึกษาเรื่องการดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส แก่ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชน

- ค่าเครื่องชั้งน้ำหนักผู้ใหญ่ แบบดิจิตอล จำนวน 4 เครื่อง ๆ ละ 1,800 บาทเป็นเงิน 7,200 บาท - ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 6 กล่องๆละ 1,400 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท - ค่าเข็มเจาะเลือด จำนวน 2 กล่องๆละ 800 บาทเป็นเงิน 1,600 บาท - ค่าสำลีแอลกอฮอล์ แผง 8 ก้อน จำนวน 4 กล่องๆละ 495 บาท เป็นเงิน 1,980 บาท - ค่าถุงมือ เบอร์ Sจำนวน 2 กล่องๆละ 145 บาทเป็นเงิน 290 บาท (หมายเหตุ-ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19470.00

กิจกรรมที่ 2 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานตามหลัก 3อ 2ส - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มกลุ่มเสี่ยงจำนวน 50 คน x 25 บาทเป็นเงิน 1250 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน x 3 ชม. x 600 บาทเป็นเงิน 1800 บาท 2.ติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่าระดับน้ำตาลในเลือด >=100 mg/dL) มารับการเจาะหาระดับน้ำตาลในเลือด หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3.ติดตามกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง มารับการตรวจวัดความดันโลหิต หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกคนได้รับการติดตาม
  2. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงสามารถความคุมระดับความดันโลหิตได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
  3. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3050.00

กิจกรรมที่ 3 การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เยี่ยมติดตามประชาชนที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน
  2. ตรวจสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงที่รับบริการรักษาพยาบาลใน รพ.สต.น้ำขาว
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ป่วยจำนวน 80 คน x 25 บาทเป็นเงิน 2000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามและส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 4 รณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเองแก่สตรีในกลุ่มต่างๆ
  2. อสม./แกนนำเคาะประตูบ้านเพื่อให้ความรู้เรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และจูงใจ สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี เข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  3. รณรงค์การตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี pap Smear
    • ค่าถุงมือเบอร์ Sจำนวน 3 กล่อง ราคากล่องละ 160 บาท เป็นเงิน 480 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สตรีอายุ 30 - 70 ปี ได้รับการตรวจเต้านมด้วยตนเองหรือเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 80
  2. สตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pap Smearร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
480.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 90 ของประชากร อายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน
2. ร้อยละ 30 ของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานที่ผ่านการปรับเปลี่ยนสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตหรือน้ำตาลในเลือดได้
3. ร้อยละ 80 ของสตรี อายุ 30 - 70 ปี ได้รับการตรวจเต้านมด้วยตนเองหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
4. ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30-60 ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pap Smear
5. ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานได่้รับการส่งเสริมสุขภาพ


>