กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกัน ระงับโรคติดต่อนำโดยยุงลาย ตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

กลุ่มป้องกันควบคุมโรค ตำบลบ้านควน

นางฮอดีย๊ะตะหวันเบอร์ติดต่อ 090 – 7122360
นางยามีล๊ะ ยะโกบเบอร์ติดต่อ 083 – 1838783
นายสุทัศน์ หาบยูโซ๊ะเบอร์ติดต่อ 080-05477120
นางภัทรวรรณ ยะโกบเบอร์ติดต่อ 089 – 7394147
นางสุริยะ สหับดินเบอร์ติดต่อ084-6916324
ที่ปรึกษา
นางสุภานวลดุก ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
นางสุกัญญาลัสมาน ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
นายอุหมาดล่าดี้ ตำแหน่งผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
นางสาวนิสากรบุญช่วยตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

33.00

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม- 1 ตุลาคม 2562ในพื้นที่เขต 12พบผู้ป่วย 7,333 ราย คิดเป็น 2.36 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา อัตราป่วย 147.48 ต่อประชากรแสนคน ผู้เสียชีวิต 3 ราย ของจังหวัดสตูล คิดเป็น 46.47 ต่อประชากรแสนคน (149 ราย) คิดเป็นลำดับที่ 74 ของประเทศ ในรายจังหวัดพบ อำเภอเมืองสตูลมีอัตราการป่วยเป็นอันดับที่ 3 ของสตูล จาก 7 อำเภอ พบผู้ป่วย 67 ราย อัตราป่วยคิดเป็น 58.69ต่อประชากรแสนคน สามสัปดาห์หลังสุด พบผู้ป่วยในพื้นที่อำเภอเมืองมากที่สุด จำนวน 7 ราย
ตำบลบ้านควน พบผู้ป่วยเข้าข่าย จำนวน 32 ราย แต่รายงานผู้ป่วยทางระบาดวิทยาที่เข้าข่าย จำนวน 1 คน คิดอัตราป่วยเป็ย 9.00 ต่อประชากรแสนคน

แม้ในปีที่ผ่านมาจะพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกน้อยกว่าปีอื่นๆ แต่โรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อ(ชิคุนกุนยา) โรคไวรัสซิก้าก็ยังเป็นโรคที่พบผู้ป่วยทุกปี จึงยังต้องมีมาตรการป้องกัน และระงับโรครับมือไว้อยู่เสมอจึงจำเป็นต้องมีมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุม เตรียมทั้งด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อความพร้อมในการดำเนินงาน กลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน จึงขอแสนอโครงการป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ2563 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย

อัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ไม่เกิน 50 ต่อ แสนประชากร

9.00 5.00
2 เพื่อลดจำนวนประชากรยุงลายที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกในสถานศึกษา

พ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่ในสถานศึกษาอย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อ ปี

0.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชากรทั้งหมด ตามข้อมูล JHCIS (คน) 11,107

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 31/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ป้องกันและระงับโรคติดต่อนำโดยยุงลาย(พื้นที่ระบาดรัศมี 100 เมตร)

ชื่อกิจกรรม
ป้องกันและระงับโรคติดต่อนำโดยยุงลาย(พื้นที่ระบาดรัศมี 100 เมตร)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-พ่นสารเคมี กำจัดยุงตัวแก่ในสถานศึกษา ช่วงก่อนเปิดภาคเรียน จำนวน 8 แห่งๆละ 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์
-พ่นสารเคมีควบคุม ระงับโรค กรณีได้รับแจ้งการป่วยหรือเหตุอืนๆ จาก รพสต. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. ประชาชนในพื้นที่
งบประมาณ
1. ค่าจ้างพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่ ตลอดทั้งปีเป็นเงิน 35,000 บาท
2. น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-พ่นสารเคมีในพื้นที่เกิดโรคหรือพบผู้ป่วยได้
-สามารถพ่นสารเคมีลดยุงตัวแก่ในสถานศึกษาก่อนเปิดภาคเรียนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37500.00

กิจกรรมที่ 2 ป้องกันและระงับโรคติดต่อนำโดยยุงลายอย่างเร่งด่วน (บ้านผู้ป่วย)

ชื่อกิจกรรม
ป้องกันและระงับโรคติดต่อนำโดยยุงลายอย่างเร่งด่วน (บ้านผู้ป่วย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดซื้อโลชั่นทากันยุง จำนวน 500 ซอง ๆละ 5 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
2.จัดซื้อสเปรย์พ่นกำจัดยุงตัวแก่ ขนาด 300 มล. จำนวน 120 กระป๋อง ๆละ 75 บาทเป็นเงิน 9,000 บาท
3.ทรายอะเบท ป้องกันลูกน้ำยุงลาย (อสม.เดินรณรงค์ใส่ทรายอะเบทในพื้นที่รับผิดชอบ 7 หมู่บ้าน2,835 ครัวเรือน) จำนวน 6 ถังๆละ 3,000 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถเตรียมอุปกรณ์ป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกให้แก่ผู้ป่วยและสมาชิกในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29500.00

กิจกรรมที่ 3 สร้างการตื่นตัว ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร

ชื่อกิจกรรม
สร้างการตื่นตัว ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จ้างเหมารถประชาสัมพันธ์ (กรณีพบการแพร่ระบาดเป็นจำนวนมาก) เป็นเงิน5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 พฤษภาคม 2563 ถึง 22 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร กรณีพบการระบาดอย่างมาก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 72,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถควบคุมและระงับโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย ไข้ไวรัสซิก้า ในพื้นที่ตำบลบ้านควนได้
2. ประชาชนให้ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน
3. ลดจำนวนผู้ป่วยในสถานศึกษาของพื้นที่ตำบลบ้านควน


>