กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในตำบลกาหลง ในปีงบประมาณ ๒๕๖๓

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของสตรีไทยเป็นสิ่งสำคัญ ในประเทศไทยซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศ เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ Pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ ปี ขึ้นไป ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้
จากการสรุปผลตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมายของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ พบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ได้รับการตรวจคัดกรองในปีงบประมาณ 2562 ร้อยละ 23.01ซึ่งกลุ่มประชากรเป้าหมายจะต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 80
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ จึงจัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว อันจะช่วยทำให้พบผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะแรกได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกช่วงอายุ ควรมาตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูกหรือเรียกว่า แพปสเมียร์ (Pap smear) อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง และผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มเมื่ออายุ ๓๐ ปี ขึ้นไป แต่ในกรณีที่เริ่มพบความผิดปกติแพทย์อาจนัดให้ไปตรวจถี่ขึ้น ตำบลบ้านกาหลงมีหมู่บ้านที่รับผิดชอบทั้งหมด 4 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ ๑, ๒, ๓, ๔ มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 496 คน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ได้จัดทีม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ติดตามกลุ่มเป้าหมายเพื่อมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

๑. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มร้อยละ 80
๒. เพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกระยะแรกเริ่มและระยะก่อนเป็นมะเร็งโดยมีระบบส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างครบวงจร
๓. เพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างพฤติกรรมการเฝ้าระวัง และดูแลตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2020

กำหนดเสร็จ 31/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.การจัดอบรมความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย 1.1 กิจกรรมย่อย...อบรมความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุ ๓0 ปี ขึ้นไป จำนวน ๕๐ คน 1.2 กิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
1.การจัดอบรมความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย 1.1 กิจกรรมย่อย...อบรมความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุ ๓0 ปี ขึ้นไป จำนวน ๕๐ คน 1.2 กิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน ๗๕ บาท x ๕๐ คน = ๓,๗๕0 บาท. ค่าอาหารว่าง 25 บาท x ๕๐ คน x ๒ มื้อ = ๒,๕๐๐ บาท ค่าป้ายไวนิล ขนาด ๑ x๓ เมตร = ๑,๐๐๐ บาท

วัสดุในการคัดกรองตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ๑๐๐ บาท x๕๐ คน= ๕,๐๐๐ บาท ป้ายประชาสัมพันธ์ตรวจคัดกรองฯ ขนาด ๑ x ๒ เมตร = ๗๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.  สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear ๒.  สตรีอายุ ๓๐ –๖๐ ปีได้รับความรู้และได้รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ๓.  ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งปากมดลูก ๔.  กลุ่มเป้าหมาย สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะการตรวจมะเร็งปากมดลูก ให้กับผู้อื่นได้ ๕.  กลุ่มเป้าหมาย ในปีถัดมาที่อายุเข้าเกณฑ์การตรวจ จะเรียกร้องหรือมาสอบถามให้มีการตรวจมะเร็งปากมดลูก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear
๒. สตรีอายุ ๓๐ –๖๐ ปีได้รับความรู้และได้รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
๓. ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งปากมดลูก
๔. กลุ่มเป้าหมาย สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะการตรวจมะเร็งปากมดลูก ให้กับผู้อื่นได้
๕. กลุ่มเป้าหมาย ในปีถัดมาที่อายุเข้าเกณฑ์การตรวจ จะเรียกร้องหรือมาสอบถามให้มีการตรวจมะเร็งปากมดลูก


>