กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในตำบลกาหลง ในปีงบประมาณ ๒๕๖๓
รหัสโครงการ 63-L2524-1-0013
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 1 มกราคม 2564
งบประมาณ 13,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูร์ฮายาดี เจะนา
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลรอฟิด หะยีดือเระ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.211517,101.42281place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ธ.ค. 2563 13,000.00
รวมงบประมาณ 13,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของสตรีไทยเป็นสิ่งสำคัญ ในประเทศไทยซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศ เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ Pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ ปี ขึ้นไป ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ จากการสรุปผลตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมายของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ พบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ได้รับการตรวจคัดกรองในปีงบประมาณ 2562 ร้อยละ 23.01ซึ่งกลุ่มประชากรเป้าหมายจะต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 80
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ จึงจัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว อันจะช่วยทำให้พบผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะแรกได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกช่วงอายุ ควรมาตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูกหรือเรียกว่า แพปสเมียร์ (Pap smear) อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง และผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มเมื่ออายุ ๓๐ ปี ขึ้นไป แต่ในกรณีที่เริ่มพบความผิดปกติแพทย์อาจนัดให้ไปตรวจถี่ขึ้น ตำบลบ้านกาหลงมีหมู่บ้านที่รับผิดชอบทั้งหมด 4 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ ๑, ๒, ๓, ๔ มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 496 คน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ได้จัดทีม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ติดตามกลุ่มเป้าหมายเพื่อมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 13,000.00 0 0.00
1 มิ.ย. 63 - 31 ธ.ค. 63 จัดอบรมความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย 50 13,000.00 -

ขั้นเตรียมการ 1จัดทำแผนงานเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจัดทำโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพ 2จัดทำโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติโครง 3ประชุมร่วมกับ อสม. และคณะกรรมการกองทุนตำบลเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานโครงการ ขั้นดำเนินการ 1กำหนดรูปแบบ การประชาสัมพันธ์ ขั้นตอนการให้บริการ กลุ่มเป้าหมาย ให้ความรู้ตระหนัก ใส่ใจ และเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 2จัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมายให้ครบทุกหมู่บ้าน เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จิตอาสาคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น ผู้นำชุมชน เพื่อการค้นหา ติดตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปาดมดลูกให้ครอบคลุมมากที่สุด 3ให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน ในวันที่ 24 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ 4โรงพยาบาลส่งเสิรมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่เปิดให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปาดมดลูก ทั้งในและนอกสถานบริการทุกวัน โดยมีเจ้าหน้าที่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในแต่ละเดือนที่นัด 5สตรีในกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปาดมดลูกในรายที่พบความผิดปกติได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที 6จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้และสร้างพฤติกรรมการเฝ้าระวัง และดูแลตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรีโดยการติดป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณสถานที่ราชการ เพื่อเป็นการจูงใจ และเป็นการประชาสัมพันธ์แก่บุคคลอื่นที่ยังไม่ได้มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ขั้นตรวจสอบและประเมินผล 1สรุปและจัดทำรายงานประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear ๒. สตรีอายุ ๓๐ –๖๐ ปีได้รับความรู้และได้รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ๓. ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งปากมดลูก ๔. กลุ่มเป้าหมาย สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะการตรวจมะเร็งปากมดลูก ให้กับผู้อื่นได้ ๕. กลุ่มเป้าหมาย ในปีถัดมาที่อายุเข้าเกณฑ์การตรวจ จะเรียกร้องหรือมาสอบถามให้มีการตรวจมะเร็งปากมดลูก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2563 00:00 น.