กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพฟันดีทุกกลุ่มวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านทุ่งปรือ

1.น.ส.ดวงฤดี สุระสังวาลย์ ตำแหน่ง ผอ.รพ.สต.บ้านทุ่งปรือ
2.น.ส.กูฮัจย๊ะ สัญญาตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ
3.นางนาศตยา รุ่งรุจโชติวัฒน์ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
4.น.ส.สุวดี แซ่อุ๋ย ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
5.นายพิษณุ ลักษณะอัมพร ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านทุ่งปรือ ,โรงเรียนทุ่งปรือพิทยาคม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคในช่องปากโดยเฉพาะโรคฟันผุและโรคปริทันต์ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญคุกคามสุขภาพประชาชนทั้งประเทศ ทำให้เกิดความเจ็บปวด ทรมาน แม้จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่8พ.ศ.2560 พบว่าการเกิดโรคฟันผุ ยังเป็นปัญหาทุกกลุ่มวัย และการสูญเสียฟันเพิ่มขึ้นตามอายุ เด็ก 3ขวบ ซึ่งเพิ่งมีฟันน้ำนมขึ้นครบมีฟันผุแล้วร้อยละ 52.9 เมื่ออายุครบ 5 ขวบกลุ่มเด็ก 12 ขวบ มีฟันผุ ร้อยละ 52 มีฟันผุเพิ่มเป็นร้อยละ 75เด็ก 3ขวบ และ 5 ขวบที่เป็นโรคฟันผุยังไม่ได้รับการรักษา มีร้อยละ 5273.8และ31.1 ตามลำดับ และผลการสำรวจสุขภาพช่องปากของชาวสงขลา จากโปรแกรม HDC พบว่า เด็กอายุ 3 ปีมีฟันผุ 44.63เด็ก 12 ปี มีฟันผุ ร้อยละ 28แม้ว่าจังหวัดสงขลาสถานการณโรคฟันผุยังน้อยอยู่ แต่มีแนวโน้วสูงขึ้นเรื่อย ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และติดตามเพื่อลดการเกิดโรคฟันผุในประชาชน ทาง รพ.สต.บ้านทุ่งปรือ จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพฟันดีทุกกลุ่มวัย เพื่อดำเนินงาน่งเสริมทันตสุขภาพ และป้องกันโรคในช่องปากตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ จนสู่ลูกเข้าวัยเรียน และส่งเสริมการดุแลสุขภาพช่องปากตนเองเพื่อลดการเกิดโรคฟันผุในทุกกลุ่มวัยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีคามรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคในช่องปาก การป้องกัน และการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรคฟันผุของตนเอง
2. เพื่อให้ประชาชทุกกลุ่มวัยได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากจากเจ้าหน้าที่

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 10
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 10
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 2 ให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาทุกกลุ่มวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาทุกกลุ่มวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กลุ่มหญิงมีครรภ์
1.1ให้ทันตสุขศึกษาและตรวจสุขภาพช่องปาก 1.2ฝึกทักษะการแปรงฟันในหญิงมีครรภ์ทำplaque control 1.3ร่วมกับอสม. / นสค. ออกเยี่ยมบ้านเพื่อให้ทันตสุขศึกษา 1.4สาธิตและฝึกหัดการเช็ดทำความสะะอาดช่องปากให้แก่ผู้ปกครอง 2.กลุ่มเด็กปฐมวัย 2.1 ตรวจสุขภาพช่องปากให้ทันสุขศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็ฏ 2.2ทาฟลูออไรด์วานิชในเด็ก0-2ปี ที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ 2.3ติดตามให้มีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางงวันใร ศพด. 3.กลุ่มนักเรียนประถมศึกษา 3.1 ตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนประถมศึกษา 3.2ให้ทันตสุขศึกษา 4.กลุ่มประชาชนทั่วไปและผู้สูงอายุ 4.1ตรวจสุขภาพช่องปาก 4.2 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคในฟันผุ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ100 ของหญิงมีครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากให้ทันตสุขศึกษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 80 ของเด็กอายุ0-5ปี ได้รับการรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 90 ของเด็กอายุ0-2ปี ได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันและให้ทันตสุขศึกษา ร่อยละ 70 ของเด็กอายุ 0-2ปี ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ 80 ของเด็กอายุ 6-12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 50 ของประชาชนทั่วไปได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคในช่องปาก การดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง อาหารที่มีประโยชน์และมีโทษต่อฟัน และฝึกทักษะการแปรงฟันให้แก่ผู้เข้าอบรมจำนวน 100คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคในช่องปาก การดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง อาหารที่มีประโยชน์และมีโทษต่อฟัน และฝึกทักษะการแปรงฟันให้แก่ผู้เข้าอบรมจำนวน 100คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคในช่องปาก การดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง อาหารที่มีประโยชน์และมีโทษต่อฟัน และฝึกทักษะการแปรงฟันให้แก่ผู้เข้าอบรมจำนวน 100คน งบประมาณ 1.ค่าวัสดุในการอบรม จำนวน 100 ชุดๆละ 80 บาท     เป็นเงิน 8000 บาท 2.ค่าโมเดลแสดงการลุกลามของฟันผุ จำนวน 1 ชุด    เป็นเงิน 2000 บาท 3.ค่าโมเดลสอนการแปรงฟัน จำนวน 2 ชุดๆละ 1000 บาท   เป็นเงิน 2000 บาท 4.ค่าป้ายไวนิลความรู้ขาตั้ง จำนวน 3ป้ายๆละ 2200 บาท   เป็นเงิน 6600 บาท 5.ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1ผืนๆละ 400 บาท        เป็นเงิน    400 บาท 6.ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ จำนวน 2ฝืนๆละ 500 บาท         เป็นเงิน  1000 บาท 7.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1มื้อๆละ  50 บาท จำนวน 100 คน   เป็นเงิน 5000 บาท
8.ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 100 คน         เป็นเงิน 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนตามกลุ่มวัยจำนวน 100 คนที่ผ่านการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคในช่องปาก การป้องกันและการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรคฟันผุของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราการปรศจากโรคฟันผุของเด็กอายุ 3 ปี และ 12 ปี เพิ่มมากขึ้น
2.เด็กอายุ 12 ปีฟันดีไม่มีผุZcavity free) เพิ่มมากขึ้น
3.ประชาชนในชุมชนมีสภาวะทันตสุขภาพที่ดีขึ้นและมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีต่อการดูแลสุขภาพช่องปาก
4.ประชาชนในชุมชนสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้


>