2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
จากสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชนมีชีวิตแบบเร่งรีบ ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภค เช่น การรับประทานอาหารถุง อาหารกึ่งสำเร็จรูป กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง ขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ ทำให้มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่เพิ่มขึ้น ปัจจัยเสี่ยงร่วมที่สำคัญ คือการบริโภคอาหารที่มีรสเค็ม โดยไม่ทราบว่าอาหารแต่ละชนิดที่บริโภคเสี่ยงต่อการสะสมโซเดียมในร่างกายทางอ้อม มากน้อยขนาดไหน ดังนั้น รพ.สต.บ้าหวี และชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลบ้าหวี เห็นถึงความสำคัญของการสุ่มตรวจเกลือโซเดียมในอาหารที่บริโภคในครัวเรือน กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง เป็นเวลา 3 เดือน
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1. เพื่อทราบปริมาณการบริโภคโซเดี่ยมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในชุมชน
ตัวชี้วัดความสำเร็จ กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจปริมาณโซเดียม ร้อยละ 100
2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และการเสี่ยมของไต
ตัวชี้วัดความสำเร็จ กลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ ร้อยละ 100
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 29/05/2020
กำหนดเสร็จ 30/09/2020
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
เครื่องตรวจวัดปริมาณโซเดียมในอาหาร 1,600 บาท จำนวน 6 เครื่อง เป็นเงินรวม 9,600 บาท
(-เก้าพันหกร้อยบาทถ้วน-)
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจปริมาณโซเดียมในอาหารที่บริโภคที่บ้าน ร้อยละ 100
2. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ทราบถึงปริมาณโซเดียมที่บริโภคในชีวิตประจำวัน