กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสาวทุ่งพัฒนาใส่ใจห่างไกลมะเร็งเต้านมและปากมดลูก ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

คณะกรรมการหมู่บ้าน บ้านทุ่งพัฒนา ม.13 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

หมู่ที่ 13 บ้านทุ่งพัฒนา ตำบลละงู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่และรายเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ แต่อัตราการอยู่รอด 5 ปี จะดีขึ้นถ้าพบในระยะเริ่มแรก ส่วนโรคมะเร็งเต้านมสามารถดูแลป้องกันรักษาได้ในระยะแรกๆ และการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนักและการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและป้องกันตัวเองในระยะแรกเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนลดอัตราป่วยและตายของสตรีจากโรคมะเร็งเต้านม
จากรายงานฐานข้อมูล HDC สำนักงานสาธาณณสุขจังหวัดสตูล ปี 2562 พบว่าอัตราการคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรี บ้านทุ่งพัฒนา อายุ 30 – 70 ปี ร้อยละ 95.52 (192/201 คน) และอัตราการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรี บ้านทุ่งพัฒนา อายุ 30 – 60 ปี เพียง ร้อยละ 35.63 (57/160 คน) เท่านั้น พบผู้เสียชีวิต จำนวน 1 ราย จากการสอบถามเหตุผลหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ไม่ได้เข้ารับการตรวจการตรวจคัดกรอง พบว่า 1) อาย 2) ไม่ว่าง 3) สุขภาพร่างกายแข็งแรงปกติไม่จำเป็นต้องตรวจ และ 4) ขาดการเข้าถึงข้อมูลการและการเข้ารับบริการ
จากความสำคัญดังกล่าว คณะกรรมการหมู่บ้าน บ้านทุ่งพัฒนา ม.13 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล ได้ตระหนักถึงสุขภาพของหญิงวัยเจริญพันธุ์ในพื้นที่ จึงได้จัดโครงการสาวทุ่งพัฒนาใส่ใจห่างไกลมะเร็งเต้านมและปากมดลูก ปีงบประมาณ 2563 ขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและปากมดลูก เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงช่องทางการคัดกรอง และเพื่อสร้างช่องทางการคัดกรองเบื้องต้นและการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพตามสิทธิประโยชน์ทางสาธารณสุข ช่วยลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้ในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็วเต้านม และปากมดลูก

หลังการอบรม กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80  มีผลคะแนนวัดความรู้ ตอบได้มากกว่า 7 ข้อ ใน 10 ข้อ

0.00
2 เพื่อฝึกทักษะการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

หลังการอบรม กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 100 ผ่านการทดสอบปฏิบัติการตรวจด้วยตนเอง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/06/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเตรียมความพร้อมคณะทำงาน 1.1 กิจกรรมย่อย - ประชุมแบ่งกลุ่มเป้าหมายเข้าอบรม - จัดทำแผนงาน - มอบหมายงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเตรียมความพร้อมคณะทำงาน 1.1 กิจกรรมย่อย - ประชุมแบ่งกลุ่มเป้าหมายเข้าอบรม - จัดทำแผนงาน - มอบหมายงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x 20 คน = 1ม000 บ.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๒ มื้อ x 20 คน = 1,000 บ.
  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ/สื่อสุขศึกษา ๕๐๐ บาท x 3 แผ่น = 1,500 บ.
  • ค่าทำเล่มรายงานผลโครงการ 1000 บ. รวมเงิน 4,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ รุ่นที่ 1 (กลุ่มเป้าหมายไม่ซ้ำ) - อบรมให้ความรู้ - ฝึกทักษะการคัดกรองด้วยตนเอง วิทยากร พยาบาลวิชาชีพ งานโรคเรื้อรังและมะเร็ง

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ รุ่นที่ 1 (กลุ่มเป้าหมายไม่ซ้ำ) - อบรมให้ความรู้ - ฝึกทักษะการคัดกรองด้วยตนเอง วิทยากร พยาบาลวิชาชีพ งานโรคเรื้อรังและมะเร็ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x 50 คน = 2,500 บ.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๒ มื้อ x 50 คน = 2,500 บ.
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 300 บ. x 6 ชม. = 1,800 บ.
    รวมเงิน 6,800 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6800.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการ (กลุ่มเป้าหมายไม่ซ้ำ) - อบรมให้ความรู้ - ฝึกทักษะการคัดกรองด้วยตนเอง วิทยากร พยาบาลวิชาชีพ งานโรคเรื้อรังและมะเร็ง

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ (กลุ่มเป้าหมายไม่ซ้ำ) - อบรมให้ความรู้ - ฝึกทักษะการคัดกรองด้วยตนเอง วิทยากร พยาบาลวิชาชีพ งานโรคเรื้อรังและมะเร็ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x 50 คน = 2,500 บ.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๒ มื้อ x 50 คน = 2,500 บ.
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 300 บ. x 6 ชม. = 1,800 บ.
    รวมเงิน 6,800 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงวัยเจริญพันธุ์มีทัศนคติที่ถูกต้องในการป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งเต้านมและปากมดลูก
2. หญิงวัยเจริญพันธุ์สามารถคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองได้
3. ค้นพบกลุ่มเสี่ยงสงสัยในระยะเริ่มต้น


>