กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายและระบบสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย 0 - 5 ปี ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

ตำบลละงู อ.ละงู จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ได้จัดบริการคลินิกสุขภาพเด็กดี (Well Baby Clinic) เป็นหน่วยบริการสุขภาพสำหรับเด็กดี จัดเป็นภารกิจสำคัญของงานการดูแลส่งเสริมสุขภาพเด็ก (Child health supervision หรือ Well child care) มีบทบาทในการเสริมสร้างให้เด็กมีสุขภาพดี มีพัฒนาการสมวัยตั้งแต่แรกเกิด มีสุขภาพช่องปากดี ด้วยบริการที่ดูแลเด็กปกติให้มีสุขภาพแข็งแรง เติบโตทั้งทางกายและสติปัญญาได้เต็มศักยภาพ พร้อมวุฒิภาวะทางอารมณ์ สถานการณ์ทางสุขภาพของเด็กปฐมวัยในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมืองปี พ.ศ.๒๕๖๒ มีเด็กปฐมวัย จำนวน 6๘๓ คน พบว่า ผลการคัดกรองพัฒนาการเด็ก อายุ ๙, 18, 30 และ ๔๒ เดือน สงสัยล่าช้าในการคัดกรองครั้งแรกยังคงมากกว่า ร้อยละ ๓๐ สภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ในเด็ก ๖ เดือน ถึง ๑ ปี ร้อยละ ๒๗.๕ เด็กอายุ 0-5 ปี ไม่ผ่านเกณฑ์สูงดีสมส่วน ร้อยละ ๑๔.๖1 และมีฟันผุ ร้อยละ ๖๙.๔๒ จากสภาพดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมืองได้ทำการวิเคราะห์สภาพปัญหา ถอดบทเรียนร่วมกับเครือข่ายพัฒนาระบบสุขภาพ พบว่า ปัจจัยด้านผู้เลี้ยงดู ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ระดับความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการ พัฒนาการ ของผู้ปกครอง และการเข้าถึงบริการทางสุขภาพมีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของเด็กปฐมวัย จากความสำคัญดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมืองได้ตระหนักและเห็นถึงความจำเป็นต่อการแก้ปัญหาสุขภาพกลุ่มเด็กปฐมวัย จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย ๐ - ๕ ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ เพื่อค้นหาเด็กที่มีภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ ให้ความช่วยเหลือโดยจัดบริการเชิงรุกตามสิทธิประโยชน์ทางสุขภาพ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายเพื่อเฝ้าระวัง ให้คำแนะนำและสร้างความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติที่ถูกต้องแก่ผู้ปกครอง ให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการเลี้ยงดูบุตรหลานให้มีภาวะสุขภาพที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองภาวะสุขภาพเด็กปฐมวัย ๐ – ๕ ปี ในชุมชน (โภชนาการ, ทันตสุขภาพ,พัฒนาการ,ภาวะซีด) และให้ความรู้ผู้ปกครอง (กลุ่มเสี่ยงภาวะทุพโภชนาการ)

ค้นพบจำนวนเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาสุขภาพด้าน โภชนาการ, ทันตสุขภาพ,พัฒนาการ,ภาวะซีด มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ ๒๐ ได้รับการคัดกรอง ผู้ปกครอง มีผลการวัดความรู้ ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ (ตอบถูก ๗ ใน ๑๐ ข้อ) ร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพโภชนาการ, ทันตสุขภาพ,พัฒนาการ,ภาวะซีด และการเฝ้าระวัง แก่เครือข่ายและผู้ปกครอง (การใช้ App)

ผู้ปกครองและเครือข่ายมีความรู้ด้านสุขภาพโภชนาการ, ทันตสุขภาพ,พัฒนาการ,ภาวะซีด แก่เครือข่ายและผู้ปกครอง มีผลการวัดความรู้ ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ (ตอบถูก ๘ ใน ๑๐ ข้อ) ร้อยละ ๘๐

0.00
3 เพื่อจัดระบบบริการสุขภาพ รักษา ฟื้นฟู และส่งต่อ

เด็กที่มีปัญหาทางสุขภาพได้รับการรักษา ติดตาม ส่งต่อ ร้อยละ ๑๐๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุม วิเคราะห์ ถอดบทเรียน วางแผนการดำเนินงาน วิเคราะห์การดำเนินงาน และประเมินผล ใช้กระบวนการ AIC (เครือข่ายในชุมชน)

ชื่อกิจกรรม
ประชุม วิเคราะห์ ถอดบทเรียน วางแผนการดำเนินงาน วิเคราะห์การดำเนินงาน และประเมินผล ใช้กระบวนการ AIC (เครือข่ายในชุมชน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x 3๖ คน x ๒ มื้อ เป็นเงิน ๓,๖๐๐ บ.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.  x ๔ มื้อ x 3๖ คน เป็นเงิน ๓,๖๐๐ บ.
  • ค่าตอบแทนวิทยากร ๓๐๐ บาท x  ๖ ชม. x ๒ ครั้ง เป็นเงิน ๓,๖๐๐ บ. รวมเป็นเงิน ๑๐,๘๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมการใช้โปรแกรม Kid Diary ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ประเมินภาวะโภชนาการ พัฒนาการและวัคซีนใน Smartphone สำหรับเครือข่ายในชุมชนผู้ปกครองและผู้สนใจ

ชื่อกิจกรรม
อบรมการใช้โปรแกรม Kid Diary ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ประเมินภาวะโภชนาการ พัฒนาการและวัคซีนใน Smartphone สำหรับเครือข่ายในชุมชนผู้ปกครองและผู้สนใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x ๓๐ คน x ๑ มื้อ เป็นเงิน ๑,๕๐๐ บ.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.  x ๒ มื้อ x 3๐ คน เป็นเงิน ๑,๕๐๐ บ.
  • ค่าตอบแทนวิทยากร ๓๐๐ บาท x  ๖ ชม. เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บ. รวมเป็นเงิน ๔,๘๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 3 คัดกรองภาวะสุขภาพเด็กปฐมวัย ๐ – ๕ ปี ในชุมชน ( ทันตสุขภาพ,พัฒนาการ,ภาวะซีด) และให้ความรู้ผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองภาวะสุขภาพเด็กปฐมวัย ๐ – ๕ ปี ในชุมชน ( ทันตสุขภาพ,พัฒนาการ,ภาวะซีด) และให้ความรู้ผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้/คำแนะนำ/คัดกรองโภชนาการและภาวะซีด อบรมให้ความรู้/คำแนะนำ/คัดกรองทันตสุขภาพตรวจพัฒนาการ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๑ มื้อ x 2๐ คน x ๖ หมู่บ้าน
เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บ.
- ค่าตอบแทนวิทยากร ๓๐๐ บาท x  ๓ ชม. X ๖ ครั้ง เป็นเงิน ๕,๔00 บ. รวมเป็นเงิน ๘,๔๐๐ บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๑ มื้อ x 2๐ คน x ๖ หมู่บ้าน
เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บ.
- ค่าตอบแทนวิทยากร ๓๐๐ บาท x  ๓ ชม. X ๖ ครั้ง เป็นเงิน ๕,๔00 บ. รวมเป็นเงิน ๘,๔๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16800.00

กิจกรรมที่ 4 จัดระบบบริการสุขภาพ รักษา ฟื้นฟู และส่งต่อ

ชื่อกิจกรรม
จัดระบบบริการสุขภาพ รักษา ฟื้นฟู และส่งต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย     - ลงนัดเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาสุขภาพเข้ารับการรักษารายคลินิค - ติดตามรายเดือน - ส่งต่อในรายที่พบปัญหาสุขภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทราบจำนวนเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาสุขภาพในปี ๒๕๖๓
2. เด็กปฐมวัยที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการรักษา ติดตาม ส่งต่ออย่างเป็นระบบ
3. เด็กปฐมวัยมีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์


>