กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายและระบบสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย 0 - 5 ปี ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5313-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล
วันที่อนุมัติ 18 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 28 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2563
งบประมาณ 32,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮับเซาะห์ แอหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 32,400.00
รวมงบประมาณ 32,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ได้จัดบริการคลินิกสุขภาพเด็กดี (Well Baby Clinic) เป็นหน่วยบริการสุขภาพสำหรับเด็กดี จัดเป็นภารกิจสำคัญของงานการดูแลส่งเสริมสุขภาพเด็ก (Child health supervision หรือ Well child care) มีบทบาทในการเสริมสร้างให้เด็กมีสุขภาพดี มีพัฒนาการสมวัยตั้งแต่แรกเกิด มีสุขภาพช่องปากดี ด้วยบริการที่ดูแลเด็กปกติให้มีสุขภาพแข็งแรง เติบโตทั้งทางกายและสติปัญญาได้เต็มศักยภาพ พร้อมวุฒิภาวะทางอารมณ์ สถานการณ์ทางสุขภาพของเด็กปฐมวัยในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมืองปี พ.ศ.๒๕๖๒ มีเด็กปฐมวัย จำนวน 6๘๓ คน พบว่า ผลการคัดกรองพัฒนาการเด็ก อายุ ๙, 18, 30 และ ๔๒ เดือน สงสัยล่าช้าในการคัดกรองครั้งแรกยังคงมากกว่า ร้อยละ ๓๐ สภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ในเด็ก ๖ เดือน ถึง ๑ ปี ร้อยละ ๒๗.๕ เด็กอายุ 0-5 ปี ไม่ผ่านเกณฑ์สูงดีสมส่วน ร้อยละ ๑๔.๖1 และมีฟันผุ ร้อยละ ๖๙.๔๒ จากสภาพดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมืองได้ทำการวิเคราะห์สภาพปัญหา ถอดบทเรียนร่วมกับเครือข่ายพัฒนาระบบสุขภาพ พบว่า ปัจจัยด้านผู้เลี้ยงดู ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ระดับความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการ พัฒนาการ ของผู้ปกครอง และการเข้าถึงบริการทางสุขภาพมีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของเด็กปฐมวัย จากความสำคัญดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมืองได้ตระหนักและเห็นถึงความจำเป็นต่อการแก้ปัญหาสุขภาพกลุ่มเด็กปฐมวัย จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย ๐ - ๕ ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ เพื่อค้นหาเด็กที่มีภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ ให้ความช่วยเหลือโดยจัดบริการเชิงรุกตามสิทธิประโยชน์ทางสุขภาพ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายเพื่อเฝ้าระวัง ให้คำแนะนำและสร้างความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติที่ถูกต้องแก่ผู้ปกครอง ให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการเลี้ยงดูบุตรหลานให้มีภาวะสุขภาพที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองภาวะสุขภาพเด็กปฐมวัย ๐ – ๕ ปี ในชุมชน (โภชนาการ, ทันตสุขภาพ,พัฒนาการ,ภาวะซีด) และให้ความรู้ผู้ปกครอง (กลุ่มเสี่ยงภาวะทุพโภชนาการ)

ค้นพบจำนวนเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาสุขภาพด้าน โภชนาการ, ทันตสุขภาพ,พัฒนาการ,ภาวะซีด มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ ๒๐ ได้รับการคัดกรอง ผู้ปกครอง มีผลการวัดความรู้ ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ (ตอบถูก ๗ ใน ๑๐ ข้อ) ร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพโภชนาการ, ทันตสุขภาพ,พัฒนาการ,ภาวะซีด และการเฝ้าระวัง แก่เครือข่ายและผู้ปกครอง (การใช้ App)

ผู้ปกครองและเครือข่ายมีความรู้ด้านสุขภาพโภชนาการ, ทันตสุขภาพ,พัฒนาการ,ภาวะซีด แก่เครือข่ายและผู้ปกครอง มีผลการวัดความรู้ ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ (ตอบถูก ๘ ใน ๑๐ ข้อ) ร้อยละ ๘๐

0.00
3 เพื่อจัดระบบบริการสุขภาพ รักษา ฟื้นฟู และส่งต่อ

เด็กที่มีปัญหาทางสุขภาพได้รับการรักษา ติดตาม ส่งต่อ ร้อยละ ๑๐๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 192 32,400.00 4 32,400.00
24 ส.ค. 63 ประชุม วิเคราะห์ ถอดบทเรียน วางแผนการดำเนินงาน วิเคราะห์การดำเนินงาน และประเมินผล ใช้กระบวนการ AIC (เครือข่ายในชุมชน) 36 10,800.00 10,800.00
31 ส.ค. 63 อบรมการใช้โปรแกรม Kid Diary ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ประเมินภาวะโภชนาการ พัฒนาการและวัคซีนใน Smartphone สำหรับเครือข่ายในชุมชนผู้ปกครองและผู้สนใจ 36 4,800.00 4,800.00
1 - 18 ก.ย. 63 คัดกรองภาวะสุขภาพเด็กปฐมวัย ๐ – ๕ ปี ในชุมชน ( ทันตสุขภาพ,พัฒนาการ,ภาวะซีด) และให้ความรู้ผู้ปกครอง 120 16,800.00 16,800.00
1 ต.ค. 63 จัดระบบบริการสุขภาพ รักษา ฟื้นฟู และส่งต่อ 0 0.00 0.00

1.ประชุมวิเคราะห์ ถอดบทเรียน วางแผนการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่รับผิดชอบ 2.คัดกรองภาวะสุขภาพ (โภชนาการ,ทันตสุขภาพๅมๅพัฒนาการ,ภาวะซีด) กลุ่มเป้าหมายเด็กปฐมวัย 0-5 ปี 3.อบมให้ความรู้ผู้ปกครองและเครือข่ายในการใช้โปรแกรมเฝ้าระวังสุขภาพเด็กปฐมวัยบน smartphone 4.นำกลุ่มเสี่ยงรับการรักษา ติดตาม 5.สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทราบจำนวนเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาสุขภาพในปี ๒๕๖๓
    1. เด็กปฐมวัยที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการรักษา ติดตาม ส่งต่ออย่างเป็นระบบ
    2. เด็กปฐมวัยมีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2563 00:00 น.