กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในการประกอบอาชีพของเกษตรกรชาวนาและปลูกผักผลไม้

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

อาสาสมัครอาชีวอนามัย (อส.อช.) ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

1. นางสาวจินดา บุญยอด
2. นายปลอบ นิลรัตน์
3. นางสาวอังคณา สังฆปุญโญ
4. นางกิจตะยา วรรณศรี
5. นายณริน ฉายห้อง

หมู่ที่ 1-11 ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนอาสาสมัครอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ (คน)

 

22.00
2 ร้อยละของเกษตรกรที่เจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุ จากการประกอบอาชีพ

 

20.00
3 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีอันตรายในเลือด

 

20.00
4 จำนวนผู้ประกอบอาชีพทำนา ได้รับผลกระทบจากพยาธิในหอยคัน

 

12.00

เนื่องจากพื้นที่ตำบลน้ำขาวส่วนใหญ่ประชากรประกอบอาชีพเก่ษตรกรรม เช่น ยางพารา ทำนา และผลไม้ตามฤดูกาล ทำให้ประชาชนมีปัญหาสุขภาพตามมา ได้แก่อาการเจ็บปวดตามร่างกาย อันตรายจากสัตว์มีพิษ อุบัติเหตุต่าง ๆ พยาธิหอยคัน และสารเคมีตกค้างในเลือดดังนั้นหากประชาชนผู้ประกอบอาชีพได้มีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาสุขภาพจากการประกอบอาชีพ และวิธีการป้องกัน หลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น จะสามารถทำให้ประชาชนตำบลน้ำขาวมีสุขภาพที่ขึ้น นำมาซึ่งความสุขในการดำรงชีวิต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่

จำนวนอาสาสมัครอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เพิ่มขึ้น(คน)

22.00 22.00
2 เพื่อลดจำนวนเกษตรกรที่เจ็บป่วย จากการการประกอบอาชีพ

ร้อยละของเกษตรกรที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ ลดลง

20.00 10.00
3 เพื่อลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีในเลือดลดลง

20.00 5.00
4 เพื่อลดจำนวนผู้ประกอบอาชีพทำนา ที่ได้รับผลกระทบจากพยาธิหอยคัน

จำนวนผู้ประกอบอาชีพทำนาแล้วได้รับผลกระทบจากพยาธิหอยคันลดลง

12.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครอาชีวอนามัยตำบลน้ำขาว 22
เกษตรกรที่มีอาชีพทำนา ปลูกผักหรือผลไม้ 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงานและการจัดทำกติกา ข้อตกลงร่วมกลุ่มเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงานและการจัดทำกติกา ข้อตกลงร่วมกลุ่มเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 22 คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 550 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 เมษายน 2564 ถึง 15 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การมอบหมายความรับผิดชอบ และแผนปฏิบัติงาน และข้อตกลงหรือกติการ่วม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
550.00

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครอาชีวะอนามัย(อส.อช.) การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ(๋JSA) การพัฒนาระบบอาสาสมัครอาชีวอนามัยช่วยเตือนให้ลดอันตรายจากพฤติกรรมการประกอบอาชีพ

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครอาชีวะอนามัย(อส.อช.) การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ(๋JSA) การพัฒนาระบบอาสาสมัครอาชีวอนามัยช่วยเตือนให้ลดอันตรายจากพฤติกรรมการประกอบอาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครอาชีวอนามัย (อส.อช.) มีค่าใช้จ่าย ดังนี้

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 22คน ๆ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 550 บาท

  2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

  3. ค่าวัสดุ/เอกสารการอบรมเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 เมษายน 2564 ถึง 26 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครอาชีวอนามัยในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2850.00

กิจกรรมที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสร้างระบบฐานข้อมูลสถานการณ์ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง จัดเก็บข้อมูลด้านสถานการณ์สุขภาพกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสร้างระบบฐานข้อมูลสถานการณ์ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง จัดเก็บข้อมูลด้านสถานการณ์สุขภาพกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่าย

1.ค่าแบบสำรวจ ฯ จำนวน50 ชุดๆละ 5 บาท เป็นเงิน 250 บาท

  1. ค่าเก็บข้อมูลแบบสำรวจ จำนวน 50 ชุดละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท

  2. ค่าบันทึกข้อมูลจากการสำรวจลงในเว็บไซด์ฐานข้อมูลเกษตรกร จำนวน 50 ชุด ๆละ 15 บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 14 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชุมชนมีส่วนร่วม มีความเข้มแข็งและมีฐานข้อมูลเกษตรกรในระบบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเกษตรกรการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ และเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือดครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเกษตรกรการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ และเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือดครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด

  1. ค่าชุดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดพร้อมอุปกรณ์ เป็นเงิน 4,000 บาท

  2. ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ตรวจสารเคมีในเลือด เป็นเงิน 600 บาท

  3. ค่าตอบแทนอาสาสมัครในการเจาะเลือด จำนวน 2 คน เป็นเงิน 600 บาท

อบรมเชิงปฏิบัติการฯแก่เกษตรกร มีค่าใช้จ่าย ดังนี้

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท

  2. ค่าตอบแทนวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการ ฯ จำนวน 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการตรวจสารเคมีในเลือด ครั้งที่1 ความรู้ความเข้าใจในการลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพ กติกาชุมชน/นโยบายเพื่อลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8250.00

กิจกรรมที่ 5 การปรับสภาพแวดล้อมลดอันตรายจากการประกอบอาชีพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการปัญหาความเสี่่ยงจากการประกอบอาชีพการลดการใช้สารเคมี โดยการใช้น้ำหมักสมุนไพรแทนการใช้สารเคมี

ชื่อกิจกรรม
การปรับสภาพแวดล้อมลดอันตรายจากการประกอบอาชีพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการปัญหาความเสี่่ยงจากการประกอบอาชีพการลดการใช้สารเคมี โดยการใช้น้ำหมักสมุนไพรแทนการใช้สารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท

  2. ค่าตอบแทนวิทยากรในการสอนการทำน้ำหมัก ฯ จำนวน 2 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

  3. ค่าเอกสารการอบรม เป็นเงิน 1,000 บาท

  4. ค่าเศษผัก ผลไม้ พืชสมุนไพร เป็นเงิน 300 บาท

  5. ถังน้ำพร้อมฝาปิด ขนาดความจุ 30 ลิตร จำนวน 50 ใบ ๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท

  6. จุลินทรีย์ EM EXTRA หัวเชื้อจุลินทรีย์ อีเอ็มชีวภาพ ขนาด1ลิตรจำนวน 50 ขวด ๆ ละ 70 บาทเป็นเงิน 3,500 บาท

  7. กากน้ำตาลขนาด 55 ลิตร ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท

  8. น้ำหมัก 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรลดการใช้สารเคมี ความรู้ความเข้าในในอันตรายจากการใช้สารเคมีและการใช้พืชสมุนไพรทดแทนการใช้สารเคมี ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมลดอันตรายจากการประกอบอาชีพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12550.00

กิจกรรมที่ 6 เจาะเลือดหาสารเคมีในเลือด ครั้งที่ 2 และถอดบทเรียนความสำเร็จ

ชื่อกิจกรรม
เจาะเลือดหาสารเคมีในเลือด ครั้งที่ 2 และถอดบทเรียนความสำเร็จ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจาะเลือดหาสารเคมีในเลือด ครั้งที่ 2 1.ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ตรวจสารเคมีในเลือด เป็นเงิน 600 บาท 2. ค่าตอบแทนอาสาสมัครในการเจาะเลือด จำนวน 2 คน ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท ถอดบทเรียนความสำเร็จ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน ๆละ 25 บาทเป็นเงิน 1,250 บาท 2. ค่าตอบแทนวิทยากรผู้ดำเนินรายการถอดบทเรียนฯ จำนวน 3 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการตรวจเลือดรั้งที่สอง

ปัจจัยความสำเร็จนการดำเนินงานจากการการมีส่วนร่วมในการถอดบทเรียน

และสรุปโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,950.00 บาท

หมายเหตุ :
*** ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ ***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เกษตรกรได้รับความรู้ ได้รับการส่งเสริมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยงมีความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ


>