กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ 4 กลุ่มโรคกระทบการเรียนเด็กไทย ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นางมัสนีและตำแหน่งนักจิตวิทยาปฏิบัติการ โทร 086-9621377
นางดาวดือราโอ๊ะตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โทร 089-9730969

ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากการดำเนินงานที่ผ่านมาในช่วงปี 2559ถึงปัจจุบันจำนวนนักเรียนที่ส่งมาคัดกรองในปี 2559 จำนวนเด็กส่งมา 63 คน พบมีความเสี่่ยง 34 คน ปี 2560 ส่งมา 129 คน พบมีความเสี่ยง 59 คน ปี2561 ส่งมา 97 คน พบมีความเสี่ยง 82 คน ปี 2562 ส่งมา 82 คน พบมีความเสี่ยง 30 คน

 

0.00

ปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก ทำให้ไอคิวไม่ถูกพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพที่ผ่านมาเวลาวัดไอคิวเด็กไทยจะเห็นว่าไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็นสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะเด็กมีปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชโดย4โรคหลัก 1. ปัญหาสติปัญญาบกพร่องเป็นกลุ่มเด็กที่มีสติปัญญาต่ำกว่า 70 มักจะรู้ก่อน 6 ขวบพบได้ประมาณ 1% 2. ออทิสติก พบได้ประมาณ 1-2 คนใน 1,000 คน 3. สมาธิสั้น พบได้ประมาณ 5-10% 4. ความบกพร่องในการเรียนรู้หรือแอลดี พบได้ประมาณ 5-10% เช่นกัน เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นกว่าครึ่ง มักพบร่วมกับแอลดี ดังนั้นจะเห็น 4 โรคนี้แทรกอยู่ในเด็กมากมายในวัยเรียน อายุ 6-12 ปี สำหรับเด็กที่สติปัญญาบกพร่อง และเด็กออทิสติก เป็นโรคที่ปรากฏให้เห็นได้เร็ว ดูออกเร็วตั้งแต่อายุน้อย และได้รับการช่วยเหลือตั้งแต่ต้นทาง แต่ก็ยังมีบางส่วนหลุดรอดการคัดกรองมาได้ เพราะเด็กบางคนอาการไม่เห็นชัด ถ้าอยู่ในระบบการศึกษา ครูอาจจะไม่เข้าใจ ทำให้เด็กถูกดูแลอย่างไม่เหมาะสม แต่ 2 โรคหลังจะเห็นชัดในวัยเรียน คือ เด็กสมาธิสั้นกับแอลดี ซึ่งในบางครั้งเด็กอายุ 3-4 ขวบ ยังไม่แสดงอาการที่ทำให้เห็นเด่นชัด ทำให้วินิจฉัยโรคไม่ได้ ซึ่งต้องเฝ้าระวังพ่อแม่และคุณครู อาจไม่ทราบว่าเด็กมีความผิดปกติ ทำให้เด็กเข้าสู่ระบบการเรียนเหมือนเด็กปกติทั่วไป และเมื่อไปเรียนกับเด็กปกติทั่วไป ตัวโรคที่เดกเป็น ทำให้เด็กมีความแปลกแยกจากเด็กอื่น ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเด็กดื้อ เด็กซน เด็กไม่สนใจเรียน ไม่ได้เรื่องซึ่งกลุ่มที่เราให้ความสำคัญในเด็กวัยเรียน คือ เด็กสมาธิสั้นและแอลดี แต่ก็ช่วยกรองอีก 2 โรคคือ เด็กสติปัญญาบกพร่องและออทิสติก
จากการดำเนินงานที่ผ่านมาในช่วงปี 2559 ถึงปัจจุบันจำนวนนักเรียนที่ส่งมาคัดกรอง ในปี 2559 จำนวนเด็กที่ส่งมาคัดกรอง 63 คน พบมีความเสี่ยง 34 คน ปี 2560 ส่งมาคัดกรอง 129 คน พบมีความเสี่ยง 59 คน ปี 2561 ส่งมาคัดกรอง 97 คน พบมีความเสี่ยง 82 คน ปี 2562 ส่งมาคัดกรอง 82 คน พบมีความเสี่ยง 30 คน จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าพบเด็กที่มีความเสี่ยงเป็นจำนวนค่อนข้างมาก ดังนั้นกลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงจัดทำโครงการ 4 กลุ่มโรคกระทบการเรียนเด็กไทย เพื่อให้คุณครูและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถส่งต่อเด็กที่มีปัญหาได้อย่างเหมาะสมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครูและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง 4 กลุ่มโรค

ผู้ดุแลเด็กมีความรู้มากขึ้นร้อยละ 80

75.00 80.00
2 เพื่อให้ครูและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจถึงปัญหาและมีแนวทางการส่งต่อช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม

ผู้ดูแลเด็กสามารถส่งต่อและเข้าถึงบริการมากขึ้นร้อยละ 75

75.00
3 เพื่อให้ครูและผู้ดูแลสามารถคัดกรองหรือประเมินเบื้องต้นได้

ผู้ดูแลเด็กสามารถคัดกรองหรือประเมินเบื้องต้นได้มากขึ้นร้อยละ 75

75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มครูและผู้ดูแลเด็กวัยเรียน 30
เจ้าหน้าที่และผู้จัดโครงการ 7

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 31/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ 4 กลุ่มโรคกระทบการเรียนเด็กไทย

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ 4 กลุ่มโรคกระทบการเรียนเด็กไทย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
- ครูหรือผู้ดูแลเด็ก 30 คน (โรงเรียนเทศบาล 1-4,โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก,โรงเรียนรังผึ้ง,โรงเรียนบุณยลาภฯ)
- คณะทำงาน 7 คน รวม 37 คน
รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
- ประชุมคณะทำงาน
- ประสาน พญ.จรีภรณ์จินต์ปัญญกุล ตำแหน่งจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ประจำโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์มาเป็นวิทยากรในโครงการ
- อบรมเชิงปฏิบัติการ 4 กลุ่มโรคกระทบการเรียนเด็กไทย ระยะเวลาการอบรม 1 วัน
กำหนดการ ดังนี้
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน/ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม
08.30 - 09.00 น. พิธีเปิดโดยนายแพทย์บรรยงเหล่าเจริญสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
09.00 - 10.30 น.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ 4 กลุ่มโรคของเด็ก
10.30 - 12.00 น.การใช้คู่มือเพื่อช่วยเหลือเด็ก
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.00 น. การใช้คู่มือเพื่อช่วยเหลือเด็ก
14.00 - 16.00 น. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือช่วยเหลือเด็ก
16.00 - 16.30 น. ทำแบบทดสอบหลังการอบรม/สรุปประเด็นปัญหา
หมายเหตุ : พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.30 น.และ 14.30 น.
ค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท X 37 คน x 2 มื้อ = 1,850 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 37 คน =1,850 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท/ชม. x 6 ชม. = 3,600 บาท
4. ค่าวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม = 2,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ครูและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจใน 4 กลุ่มโรค
  2. ครูและผู้ดูแลเด็กมีทักษะในการคัดกรองและการใช้แบบประเมินสามารถช่วยเหลือ ส่งต่อได้อย่างเหมาะสม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,200.00 บาท

หมายเหตุ :
ขอถัวทุกรายการและจำนวนคนภายในวงเงินที่ได้รับ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครูและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง 4 กลุ่มโรค
2. ครูและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจถึงปัญหาและมีแนวทางการส่งต่อช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
3. ครูและผู้ดูแลสามารถคัดกรองหรือประเมินเบื้องต้นได้


>