กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปลอดภัย ห่างไกลโรคแทรกซ้อน ปี 2564โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปลอดภัย ห่างไกลโรคแทรกซ้อน ปี 2564โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

รพ.สต.ตำบลบ้านควน

1.นางปทุมมาศ โลหะจินดา
2.นางวัชรี บินสอาด
3.นางสุพิชชา หมาดสกุล
4.น.ส.โสภิตรา นารีเปน
5.น.ส.นุสรัตน์ นุ่งอาหลี

1.รพ.สต.ตำบลบ้านควน 2.ชุมชนหมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

58.97
2 2.ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

30.00
3 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะ3aและ3b มีแนวโน้มมีความรุนแรงมากขึ้น

 

50.00
4 ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา เท้าและฟัน ตำกว่าเกณฑ์

 

66.96

หลักการและเหตุผล
โรค NCDsหรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย จึงอาจจัดว่าโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังได้ตัวอย่างของโรค NCDs เช่นโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองโรคเบาหวานโรคไตเรื้อรัง โรคอ้วนลงพุงเป็นต้น
รพ.สต.ตำบลบ้านควน มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 239 คน โรคเบาหวาน จำนวน 15คน และป่วยทั้งโรคเบาหวานละโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 90คน( กลุ่มป่วยดังกล่าวเป็นกลุ่มที่ได้รับการติดตาม ดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องที่ รพ.สต.ตำบลบ้านควนไม่รวมผู้ป่วยที่รับบริการจากสถานบริการอื่น )โรคเรื้อรังเป็นโรคที่ต้องได้รับการติดตาม เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ซึ่งรพ.สต.ตำบลบ้านควน มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันได้ดีจำนวน 194 คน คิดเป็นร้อยละ 58.97 และ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีจำนวน 30คน คิดเป็นร้อยละ 28.57 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวยังไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด
นอกจากนี้กลุ่มป่วยดังกล่าว ต้องได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน เช่น ความเสี่ยงต่อการเกิดอัมพฤกษ์อัมพาต ภาวะเบาหวานขึ้นตา ภาวะซึมเศร้า ตรวจฟัน ภาวะไตวายเรื้อรัง และตรวจเท้า ได้รับการดูแลส่งเสริมความรู้ ให้ผู้ป่วยมีความรู้สามารถประเมินและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพตนเองได้ มีพฤติกรรมที่เหมาะสม ห่างไกลจากภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก การมีความเครียดสูง การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เป็นต้น
ดังนั้นรพ.สต.ตำบลบ้านควน จึงจัดโครงการการผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปลอดภัย ห่างไกลโรคแทรกซ้อน ปี 2564 ขึ้นเพื่อให้กลุ่มป่วยที่อยู่ในความดูแลของ รพ.สต.ตำบลบ้านควน ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ได้รับการติดตามภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันผู้ป่วยสามารถนำความรู้ที่ได้กลับไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมความรู้ ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

ร้อยละ 90  ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน  ที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

58.97 60.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและ โรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ได้รับการส่งเสริมความรู้ เฝ้าระวัง ภาวะสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน  ที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะ 3a และ 3b  สามารถควบคุมโรคได้ ไม่รุนแรงมากขึ้น

50.00 100.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทาง ตา,เท้า และภาวะซึมเศร้า

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทาง ตา,เท้า และภาวะซึมเศร้า

66.96 100.00
4 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและ โรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการส่งต่อ

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและ โรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการส่งต่อ

0.00 100.00
5 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่ติดเตียง ได้รับการดูแลติดตามสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่ติดเตียง ได้รับการดูแลติดตามสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 95
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันและระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันและระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ได้รับการอบรม ส่งเสริม ให้ความรู้ โดยมีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้กัน โดยมี Good model คือ ผู้ป่วยที่สามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้ดี ส่งผลให้ระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติอย่างสม่ำเสมอ
รายละเอียดงบประมาณ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท
รวมกิจกรรมที่ 1 เป็นเงิน 1,250 บาท ( เงินหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 60  ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน  ที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะ3aและ3b

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะ3aและ3b
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เน้น 3อ.2ส.และความรู้เรื่องการใช้ยา ในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต เช่นการใช้ยาชุด สเตียรอยด์ และยาสมุนไพรสร้างความตระหนักในการให้ความสำคัญต่อการดูแลเฝ้าระวังภาวะสุขภาพตนเองเพื่อไม่ให้ภาวะแทรกซ้อนมีความรุนแรงมากขึ้น
งบประมาณ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะ 3aและ3bจำนวน 30คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท
รวมกิจกรรมที่ 2 เป็นเงิน 750 บาท ( เงินเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน  ที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะ 3a และ 3b  สามารถควบคุมโรคได้ ไม่รุนแรงมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ( คัดกรองการมองเห็นเบื้องต้น , ภาวะซึมเศร้า และ ตรวจเท้า )โดยมีการจัดกิจกรรมแบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ( คัดกรองการมองเห็นเบื้องต้น , ภาวะซึมเศร้า และ ตรวจเท้า )โดยมีการจัดกิจกรรมแบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ส่งเสริมความรู้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เน้น 3อ.2.และโรคแทรกซ้อนอะไรบ้าง สาเหตุ อาการ ความรุนแรง การดูแล ป้องกันและการประเมินอาการเริ่มแรก ของภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นได้ ติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวานให้เข้ารับการตรวจคัดกรองการมองเห็นเบื้องต้น โดยมีแกนนำ อสม.ที่ได้รับการฝึกปฏิบัติตรวจคัดกรองการมองเห็นเบื้องต้น (VA) ตรวจเท้า และคัดกรองภาวะซึมเศร้า เพื่อเตรียมความพร้อมในการตรวจค้นหาภาวะเบาหวานขึ้นตา โดยทีมสหวิชาชีพ จาก รพ.สตูล ต่อไป
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 95 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,750 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแกนนำ อสม. จำนวน 10 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวันผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 95 คนๆละ 75 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 7,125 บาท
- ค่าอาหารกลางวันแกนนำ อสม. จำนวน 10 คนๆละ 75 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 1,500 บาท
รวมกิจกรรมที่ 3 เป็นเงิน 14,375 บาท ( เงินหนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยเจ็ดสิบห้าบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทาง ตา,เท้า และภาวะซึมเศร้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14375.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามภาวะสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่นอนติดเตียง โดยแกนนำ อสม.รพ.สต.ตำบลบ้านควน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามภาวะสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่นอนติดเตียง โดยแกนนำ อสม.รพ.สต.ตำบลบ้านควน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เนื่องจากแต่ละหมู่บ้านจะมีกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง หรือกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้ามารับบริการยังสถานบริการด้วยตนเองได้ญาติจะต้องติดต่อ อสม. เพื่อติดตามให้ไปตรวจสุขภาพผู้ป่วยที่บ้านนำผลตรวจที่ได้ แจ้ง จนท. เพื่อพิจารณา ค้นหาปัญหาสุขภาพ จัดยา พร้อมทั้งนัดครั้งต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ได้รับการดูแลต่อเนื่อง โดยญาติและแกนนำ อสม. ไม่ขาดยาลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง ดังนั้นเครื่องมือ และอุปกรณ์ ที่ใช้ในการตรวจ จะต้องมีความพร้อมและมีคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความเที่ยงและมีคุณภาพ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะส่งผลต่อการพิจารณาจ่ายยาและการจัดการผู้ป่วยให้ได้คุณภาพต่อไป
งบประมาณ
- ค่าแถบตรวจระดับน้ำตาลในหลอดเลือดฝอย ( Dextro strip ) หมู่ละ 2 กล่อง จำนวน 10 กล่องๆละ750 บาทเป็นเงิน 7,500 บาท
- สมุดประจำตัวผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 50 เล่มๆละ 90 บาทเป็นเงิน 4,500 บาท
รวมกิจกรรมที่ 4 เป็นเงิน 12,000 บาท ( เงินหนึ่งหมื่นสองพันบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่ติดเตียง ได้รับการดูแลติดตามสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,375.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
2.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและ โรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ได้รับการส่งเสริมความรู้ เฝ้าระวัง ภาวะสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม
3.ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทาง ตา,เท้า และภาวะซึมเศร้า
4.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและ โรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการส่งต่อ
5.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่ติดเตียง ได้รับการดูแลติดตามสุขภาพอย่างต่อเนื่อง


>