กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหริ่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เครือข่ายระวังภัย เทศบาลยะหริ่งใส่ใจ ใช้ยาในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหริ่ง

ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลยะหริ่ง

เทศบาลตำบลยะหริ่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากปัญหาการกระจายของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีการปลอมปนสเตียรอยด์ มีการโฆษณาหลอกลวงให้หลงใช้ยาที่ด้อยคุณภาพและอาจมีอันตราย ปัญหาเหล่านี้ยังคงดํารงอยู่และมีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้นทั้งๆที่มีการเฝาระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรับเป็นประจําอยู่แล้ว แต่การดำเนินการดังกล่าวยังขาดการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการร่วมเฝ้าระวัง รวมถึงการค้นหาปัญหาด้านยาอันตรายในชุมชนเชิงรุก ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประชาชนในชุมชน จึงควรสร้างกลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุกในชุมชน (Active Community based surveillance) เพื่อให้มีข้อมูลสถานการณ์ความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ชัดเจน สนำมาสู่การแก้ไขโดยชุมชนต่อ
จากการสำรวจการใช้ยาในครัวเรือนผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในเขตเทศบาลตำบลยะหริ่ง ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 52 ครัวเรือน พบว่า มีผู้ป่วยร้อยละ 10.53 (6/52) มีการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพเสี่ยงสเตียรอยด์ มีลักษณะเป็นผง แคปซูล ไม่มีฉลากยา ได้รับจากหมอบ้าน จากการประเมินการรับรู้เกี่ยวกับสเตียรอยด์ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้จักสเตียรอยด์ทั้งข้อบ่งชี้ และผลเสียจากการใช้ ผู้ป่วยเห็นด้วยกับเมื่อมีอาการไม่สบาย ปวดเมื่อย ช่วยทำให้โรคหายเร็วขึ้น และร้อยละ 30.68 มีพฤติกรรมกินยาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณร่วมกับยาแผนปัจจุบันเพื่อช่วยรักษาโรคที่เป็นอยู่ จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา โดยเฉพาะการเลือกซื้อ เลือกใช้ มักใช้ยาตามคำบอกเล่า เชื่อตามโฆษณา ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายด้านยาที่ไม่สมเหตุผล อีกทั้งอาจส่งผลเสียในระยะยาวได้
ปัญหาจากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค คปสอ.ยะหริ่ง ณ ปัจจุบัน คือ ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยหรือยาแผนโบราณที่เสี่ยงปนเปื้อนสเตียรอยด์ในแต่ละพื้นที่ตำ่กว่าเป็นจริง ทั้งนี้อาจเนื่องจากยังขาดระบบเฝ้าระวังเชิงรุกโดยเครือข่ายในชุมชน ทำให้ยังไม่มีการรายงานเมื่อพบผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องสงสัย ซึ่งส่งผลให้ยังไม่มีระบบการจัดการเพื่อควบคุมปัญหาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบเฝ้าระวังเชิงรุกโดยเครือข่ายในชุมชน โดยมีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเทศบาลตำบลยะหริ่งเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อให้ชุมชนสามารถดักจับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อาจเป็นอันตรายแก่คนในชุมชน อีกทั้งยังต้องช่วยเพิ่มองค์ความรู้ให้แก่คนในชุมชนฉลาดใช้ยา ไม่ตกเป็นเหยื่อโฆษณาหลอกลวง ใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างสมเหตุผล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างระบบ/กลไกเชิงรุกในการเฝ้าระวังยาอันตรายในชุมชน2. เพื่อควบคุม และจัดการยาอันตรายโดยเครือข่ายในชุมชน
  1. เกิดรูปธรรมการเฝ้าระวังและจัดการยาอันตราย โดยเครือข่ายในชุมชน
  2. ร้อยละ 50 ของยาอันตรายที่พบได้รับการจัดการ
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะกรรมการ คบส.เทศบาลตำบลยะหริ่ง 15

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. พัฒนาระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุก เทศบาลตำบลยะหริ่ง

ชื่อกิจกรรม
1. พัฒนาระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุก เทศบาลตำบลยะหริ่ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมติดตามการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคเทศบาลตำบลยะหริ่ง โดยคณะกรรมการ คบส.เทศบาลตำบลยะหริ่งและแกนนำในชุมชน (แลกเปลี่ยนปัญหาจากการดำเนิน ออกแบบระบบและติดตามการดำเนินงานรายไตรมาส)
  2. สรุปผลการดำเนินงาน พัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่าย

- ค่าอาหารกลางวัน 40 คนๆละ 50 บาท 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คนๆละ 25 บาท 2 มื้อ 2 ครั้งเป็นเงิน 2,000 บาท - ค่าวัสดุ เครื่องเขียนและอุปกรณ์ เป็นเงิน 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 1 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีรูปแบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุกโดยเครือข่าย เทศบาลตำบลยะหริ่ง
  2. มีข้อมูลสถานการณ์ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอันตรายในชุมชน เพื่อการจัดปัญหาต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

กิจกรรมที่ 2 2. พัฒนาชุมชนนำร่องปลอดยาอันตราย โดยคนในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
2. พัฒนาชุมชนนำร่องปลอดยาอันตราย โดยคนในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 คัดเลือกชุมชนที่มีความพร้อม มีเครือข่ายที่เข้มแข็ง เป็นชุมชนต้นแบบ “ชุมชน RDU ปลอดยาอันตราย” 2.2 ประชุมแกนนำชุมชน คืนข้อมูลสถานการณ์ปัญหายาอันตรายที่พบ แนวทางการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุกโดยชุมชน 2.3 ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมเหตุผล เน้น 2 กลุ่มยาที่มีผลกระทบสูงด้านสุขภาพ คือ ยาปฏิชีวนะและยาสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก่แกนชำชุมชน ผู้ประกอบการร้านชำ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและคนในชุมชน เพื่อร่วมเฝ้าระวังฯยาอันตรายในชุมชน 2.4 เยี่ยมบ้าน ค้นหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยร่วมกับเครือข่ายฯ 2.5 จัดเวทีประชาคม เพื่อร่วมกำหนดกติกาและจัดการผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในชุมชน 1. ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมเหตุผลเน้น 2 กลุ่มยาที่มีผลกระทบสูงด้านสุขภาพ คือ ยาปฏิชีวนะและยาสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก่แกนชำชุมชน ผู้ประกอบการร้านชำ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและคนในชุมชน - ค่าอาหารกลางวัน 50 คน X 50 บาท X 1 มื้อ X 1 ครั้ง= 2,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน X 25 บาท X 2 มื้อ X 1 ครั้ง = 2,500 บาท - ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ (steroids Test kits)= 4,400 บาท

เป็นเงิน 9,400บาท 2. จัดเวทีประชาคม เพื่อร่วมกำหนดกติกาและจัดการผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยในชุมชน - ค่าอาหารกลางวัน 80 คน X 50 บาท X 1 มื้อ X 1 ครั้ง= 4,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 80 คน X 25 บาท X 2 มื้อ X 1 ครั้ง= 4,000 บาท เป็นเงิน 8,000บาท รวมงบประมาณกิจกรรมที่ 2เป็นเงิน17,400บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดชุมชนต้นแบบครือข่ายเฝ้าระวังและจัดการยาอันตรายในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17400.00

กิจกรรมที่ 3 3.ขยายเครือข่ายระวังภัยฯแก่ชุมชนอื่น ร่วมดำเนินงานครอบคลุมทุกชุมชน (6 ชุมชน)

ชื่อกิจกรรม
3.ขยายเครือข่ายระวังภัยฯแก่ชุมชนอื่น ร่วมดำเนินงานครอบคลุมทุกชุมชน (6 ชุมชน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานในชุมชนนำร่อง เพื่อเป็นแนวทางให้กับชุมชนอื่น 3.2 ออกแบบเครื่องมือในการสื่อสารเตือนภัยในชุมชน
3.3 ติดตามและสรุปผลจากการเฝ้าระวังฯ รายงานผลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
1.  ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานในชุมชนนำร่อง เพื่อเป็นแนวทางให้กับชุมชนอื่น     - ค่าอาหารกลางวัน  50 คน X 50 บาท X 1 มื้อ                                 =   2,500   บาท     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน X 50 บาท X 2 มื้อ                       =   2,500   บาท 2.  จัดทำสื่อให้ความรู้และสื่อสารเตือนภัยแก่คนในชุมชน     - ค่าภาพพลิกให้ความรู้ RDU ขนาด A4 จำนวน 4 ชุดๆละ 1,150 บาท     =   4,600  บาท                                รวมงบประมาณกิจกรรมที่ 3  เป็นเงิน    9,600  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปแบบเฝ้าระวังและจัดการผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยโดยเครือข่ายในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีเครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในชุมชน
2. มีรูปแบบการเฝ้าระวังและจัดการผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยโดยเครือข่ายในชุมชน


>