กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เครือข่ายระวังภัย เทศบาลยะหริ่งใส่ใจ ใช้ยาในชุมชน
รหัสโครงการ 64-L8284-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลยะหริ่ง
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณาพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาลตำบลยะหริ่ง
ละติจูด-ลองจิจูด 6.831573,101.387909place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากปัญหาการกระจายของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีการปลอมปนสเตียรอยด์ มีการโฆษณาหลอกลวงให้หลงใช้ยาที่ด้อยคุณภาพและอาจมีอันตราย ปัญหาเหล่านี้ยังคงดํารงอยู่และมีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้นทั้งๆที่มีการเฝาระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรับเป็นประจําอยู่แล้ว แต่การดำเนินการดังกล่าวยังขาดการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการร่วมเฝ้าระวัง รวมถึงการค้นหาปัญหาด้านยาอันตรายในชุมชนเชิงรุก ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประชาชนในชุมชน จึงควรสร้างกลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุกในชุมชน (Active Community based surveillance) เพื่อให้มีข้อมูลสถานการณ์ความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ชัดเจน สนำมาสู่การแก้ไขโดยชุมชนต่อ จากการสำรวจการใช้ยาในครัวเรือนผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในเขตเทศบาลตำบลยะหริ่ง ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 52 ครัวเรือน พบว่า มีผู้ป่วยร้อยละ 10.53 (6/52) มีการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพเสี่ยงสเตียรอยด์ มีลักษณะเป็นผง แคปซูล ไม่มีฉลากยา ได้รับจากหมอบ้าน จากการประเมินการรับรู้เกี่ยวกับสเตียรอยด์ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้จักสเตียรอยด์ทั้งข้อบ่งชี้ และผลเสียจากการใช้ ผู้ป่วยเห็นด้วยกับเมื่อมีอาการไม่สบาย ปวดเมื่อย ช่วยทำให้โรคหายเร็วขึ้น และร้อยละ 30.68 มีพฤติกรรมกินยาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณร่วมกับยาแผนปัจจุบันเพื่อช่วยรักษาโรคที่เป็นอยู่ จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา โดยเฉพาะการเลือกซื้อ เลือกใช้ มักใช้ยาตามคำบอกเล่า เชื่อตามโฆษณา ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายด้านยาที่ไม่สมเหตุผล อีกทั้งอาจส่งผลเสียในระยะยาวได้
ปัญหาจากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค คปสอ.ยะหริ่ง ณ ปัจจุบัน คือ ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยหรือยาแผนโบราณที่เสี่ยงปนเปื้อนสเตียรอยด์ในแต่ละพื้นที่ตำ่กว่าเป็นจริง ทั้งนี้อาจเนื่องจากยังขาดระบบเฝ้าระวังเชิงรุกโดยเครือข่ายในชุมชน ทำให้ยังไม่มีการรายงานเมื่อพบผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องสงสัย ซึ่งส่งผลให้ยังไม่มีระบบการจัดการเพื่อควบคุมปัญหาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบเฝ้าระวังเชิงรุกโดยเครือข่ายในชุมชน โดยมีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเทศบาลตำบลยะหริ่งเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อให้ชุมชนสามารถดักจับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อาจเป็นอันตรายแก่คนในชุมชน อีกทั้งยังต้องช่วยเพิ่มองค์ความรู้ให้แก่คนในชุมชนฉลาดใช้ยา ไม่ตกเป็นเหยื่อโฆษณาหลอกลวง ใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างสมเหตุผล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างระบบ/กลไกเชิงรุกในการเฝ้าระวังยาอันตรายในชุมชน2. เพื่อควบคุม และจัดการยาอันตรายโดยเครือข่ายในชุมชน
  1. เกิดรูปธรรมการเฝ้าระวังและจัดการยาอันตราย โดยเครือข่ายในชุมชน
  2. ร้อยละ 50 ของยาอันตรายที่พบได้รับการจัดการ
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,500.00 0 0.00
1 ธ.ค. 63 - 1 มี.ค. 64 1. พัฒนาระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุก เทศบาลตำบลยะหริ่ง 0 8,500.00 -
1 ม.ค. 64 - 31 มี.ค. 64 2. พัฒนาชุมชนนำร่องปลอดยาอันตราย โดยคนในชุมชน 0 17,400.00 -
1 พ.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 3.ขยายเครือข่ายระวังภัยฯแก่ชุมชนอื่น ร่วมดำเนินงานครอบคลุมทุกชุมชน (6 ชุมชน) 0 9,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีเครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในชุมชน
  2. มีรูปแบบการเฝ้าระวังและจัดการผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ปลอดภัยโดยเครือข่ายในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2563 20:51 น.