กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านตูแตหรำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนบ้านตูแตหรำ

๑. นายบาฮารูดิน ยาโงะ ผู้ประสานงานคนที่ ๑
๒. นางสาววิละยา เหมรา ผู้ประสานงานคนที่ ๒
๓. นางอัญจิมา เอ็มดู
๔. นางฮาสาน๊ะ จิเหม
๕. นายธีรพงศ์ นาคสง่า

โรงเรียนบ้านตูแตหรำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิต ของนักเรียนนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะจะช่วยให้นักเรียน มีสุขภาพกายและจิตใจที่แข็งแรง รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า การส่งเสริมให้นักเรียน เข้าใจการดูแลสุขภาพให้ปลอดจากโรคติดต่อ ด้วยการฝึกอบรม ให้มีความรู้และสามารถแนะนำบุคคลในครอบครัวได้ ส่งผลให้สมาชิกในครอบครัวมีความรักความผูกพันอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

จากผลการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กนักเรียนในวัย ๖-๑๑ ปีของโรงเรียนบ้านตูแตหรำ พบว่า ร้อยละ ๔๕ ของนักเรียนมีผลการประเมินมีระดับคะแนนในช่วง SDQ ๔๐-๔๙ เด็กควรได้รับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ในส่วนต่าง ๆ ไปได้ดียิ่งขึ้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เพื่อให้สามารถเรียนรู้กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และนอกจากนี้ปัจจุบันภัยใกล้ตัว เช่น ปัญหาสิ่งเสพติดโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงหรือมีโอกาสสูง ในการมั่วสุ่มกับสิ่งเสพติด และปัญหาโรคติดต่อโควิด-19 ที่เกิดการระบาดในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งโรคดังกล่าวเกิดขึ้นจากแรงงานในหมู่บ้านที่ไปทำงานต่างประเทศและแรงงานต่างด้าวที่มาทำงานในหมู่บ้านตูแตหรำ และสิ่งเสพติดที่เกิดในหมู่บ้านอันเนื่องจากเยาวชนในหมู่บ้านไม่ค่อยได้รับการส่งเสริมการเรียนที่สูง ทำให้เยาวชนบางส่วนในหมู่บ้านไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด ส่งผลกระทบต่อประชากรทั่วโลกและประเทศไทย จำเป็นจะต้องมีมาตรการในการป้องกันเชื้อโรคโควิดและสิ่งเสพติด เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในวงกว้าง

ซึ่งโรงเรียนบ้านตูแตหรำได้ตระหนักและให้ความสำคัญของสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านตูแตหรำ เพื่อพัฒนาส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน และเฝ้าระวัง ป้องกันเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และรณรงค์ป้องกันเกี่ยวกับปัญหาสิ่งยาเสพติด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไข ส่งเสริมให้นักเรียนมีความฉลาดทางอารมณ์เพิ่มขึ้น
  1. นักเรียนทุกคนมีผลการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ในระดับ ร้อยละ ๕๐ ขึ้นไป

  2. นักเรียน ทุกคนได้รับการพัฒนาส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์และสามารถอยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

  3. นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์

80.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพกายที่ดีห่างไกลโรคและสิ่งเสพติด
  1. นักเรียนทุกคนไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

  2. นักเรียนและผู้ปกครองสามารถป้องกันตนเองและปลอดภัยจากโรคไวรัสโคน่า ๒๐๑๙ และสิ่งเสพติด

  3. นักเรียนและผู้ปกครอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อโควิด-19 และการห้องกันตนเองจากยาเสพติด

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 78
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
บุคลากรทางการศึกษา 14
ผู้ปกครอง 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ให้กับนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ให้กับนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

๑.๑.๑ ประสานงานหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นวิทยากร

๑.๑.๒ ดำเนินการจัดประชุมให้ความรู้ โดยวิทยากร ตามเนื้อดังนี้

  • ความสำคัญของ EQ และ IQ

  • การนำ EQ และ IQ มาใช้ในชีวิตประจำวัน

  • การฝึกทักษะการคิดเชิงบวก

  • การแบ่งกลุ่มเพื่อทดลองวิเคราะห์ปัญหาของนักเรียน และนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา

  • จัดกิจกรรมพัฒนาส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ จำนวน๑๐ ครั้ง

๑.๑.๓ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

๑.๑.๔ ทำแบบประเมินก่อนและหลังอบรม


เป้าหมาย

  • นักเรียนจำนวน ๗๘คน

  • บุคลากรทางการศึกษา (คณะทำงาน) จำนวน ๑๔ คน


งบประมาณ

  • ค่าป้ายไวนิลกิจกรรม ขนาด ๑.๕ x ๓ ตร.ม. เป็นเงิน ๖๗๕ บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๙๒คนๆละ ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๔,๖๐๐ บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๙๒ คนๆละ ๑ มื้อ มื้อละ ๖๕ บาท เป็นเงิน ๕,๙๘๐ บาท

  • ค่าวัสดุสำหรับการอบรมจำนวน 78 ชุดๆละ ๓๐ บาท เป็นเงิน 2,340 บาท

  • ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 78 เล่ม ๆ ละ ๔๐ บาท เป็นเงิน 3,120 บาท

  • ค่าสมุดบันทึกกิจกรรม จำนวน ๗๘ เล่มๆละ ๒๐ บาท เป็นเงิน ๑,๕๖๐ บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน ๑ วัน จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๓,6๐๐ บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์จัดกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ๑๐ ครั้ง เป็นเงิน ๑๐,๐10 บาท แบ่งเป็น ๓ ด้าน

ด้านที่ ๑ กิจกรรมด้านดี (ควบคุม ตนเอง เห็นใจผู้อื่น รับผิดชอบ) จำนวน ๔ กิจกรรม ประกอบด้วย

  • อารมณ์นี้ อารมณ์ไหน

  • ใครเดือดร้อน

  • จิตสาธารณะ

  • เพื่อนช่วยเพื่อน

ด้านที่ ๒ กิจกรรมด้านเก่ง (มีแรงจูงใจ ตัดสินใจและแก้ปัญหา สัมพันธภาพ) จำนวน ๓ กิจกรรม ประกอบด้วย

  • ปัญหาพาสนุก

  • ปิงปองพาเพลิน

  • เวทีคนดี คนเก่ง

    ด้านที่ ๓ กิจกรรมด้านสุข (ภูมิใจในตนเอง พอใจชีวิต สุขสงบทางใจ)

  • สวนสัตว์ของเรา

  • พัดส่งความสุข

  • ถักทอสายใย

วัสดุอุปกรณ์ใช้ในการจัดกิจกรรม

๑. จิ๊กซอว์ ภาพใบหน้าแสดงอารมณ์จำนวน ๕ ภาพ ๆ ละ ๖๐ ภาพ เป็นเงิน๓๐๐ บาท

๒. กระดาษ A4จำนวน ๒ ลังๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๒๐๐ บาท

๓. - บัตรคำ จำนวน ๕๐ บัตรๆละ ๑๕ บาท เป็นเงิน๗๕๐ บาท

  • บัตรสุภาษิต จำนวน ๕๐ บัตรๆละ ๑๕บาท เป็นเงิน ๗๕๐ บาท

  • บัตรคำประสม จำนวน ๕๐ บัตรๆ ละ ๑๕บาท เป็นเงิน ๗๕๐ บาท

๔. ฟิวเจอร์บอร์ดขนาดกลาง จำนวน ๑๐ แผ่น ๆ ละ๑๒๐ บาท เป็นเงิน ๑,๒๐๐ บาท

๕. ปากกาเคมี จำนวน ๔ กล่อง ๆ ละ ๒๐๐ บาทเป็นเงิน๘๐๐ บาท

๖. กาวลาเท็กซ์จำนวน ๖ ขวด ๆ ละ ๗๐ บาท เป็นเงิน๔๒๐ บาท

๗. ลูกปิงปองสปอร์ต ลูกปิงปองรุ่นคองก้า ABS 40+ สีขาว จำนวน ๕๐ ลูก เป็นเงิน ๖๔๐ บาท

๘. ช้อนพลาสติกสีดำแพ็คคละ 100 ชิ้น 3 แพ็ค เป็นเงิน ๑๐๐ บาท

๙. กระดาษสี จำนวน ๕๐ แผ่น ๆ ละ ๑๒ บาท เป็นเงิน๖๐๐ บาท

๑๐. ดินสอสี จำนวน ๑๐ กล่อง ๆ ละ ๑๓๕ บาท เป็นเงิน๑,๓๕๐ บาท

๑๑. สก็อตเทปใส จำนวน ๑๐ ม้วน ๆ ละ ๑๕ บาท เป็นเงิน๑๕๐ บาท

๑๒. ไหมพรมคละสี ม้วนใหญ่ จำนวน๑๐ ม้วน ๆ ละ ๕๐ บาท เป็นเงิน ๕๐๐ บาท

๑๓. อุปกรณ์เบ็ดเตล็ด เป็นเงิน ๕๐๐ บาท

รวมเป็นเงิน 31,885 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนทุกคนมีผลการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ในระดับ ร้อยละ ๕๐ ขึ้นไป

  2. นักเรียน ทุกคนได้รับการพัฒนาส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์และสามารถอยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

  3. นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31885.00

กิจกรรมที่ 2 เฝ้าระวังเรื่องโรคโควิด-๑๙

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังเรื่องโรคโควิด-๑๙
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด ๑๙

  2. จัดทำหน้ากากอนามัยให้กับผู้อบรม

  3. จัดทำเจลล้างมือ

  4. ประเมินผลก่อนและหลังอบรม

เป้าหมาย

  • นักเรียน จำนวน ๗๘คน

  • บุคลากรทางการศึกษา (คณะทำงาน) จำนวน ๑๔ คน

  • ผู้ปกครอง จำนวน ๕๐ คน


    งบประมาณ

  • ค่าป้ายไวนิลกิจกรรมขนาด ๑.๕ x ๓ ตร.ม. เป็นเงิน ๖๗๕ บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๑๔๒คน ๆ ละ ๒ มื้อ ๆ ละ ๒๕ บาท เป็นเงิน๗,๑๐๐ บาท
  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๑๔๒ คน ๆ ละ ๑มื้อ ๆ ละ ๖๕ บาท เป็นเงิน ๙,๒๓๐ บาท
  • ค่าวัสดุสำหรับทำหน้ากาก จำนวน5,325 บาท ดังนี้

    • ผ้าค็อตตอน ๓๐ หลาๆละ ๕๐ บาท เป็นเงิน ๑,๕๐๐ บาท

    • ผ้ามัสลิน ๓๐ หลา ๆ ละ ๘๐ บาท เป็นเงิน ๒,๔๐๐ บาท

    • ยางยืด ๓ ม้วน ๆ ละ ๑๘๐ บาท เป็นเงิน๕๔๐ บาท

    • ด้ายขาว ๑.๕ โหล ๆ ๑๕๐ บาท เป็นเงิน ๒๒๕ บาท

    • เข็มหมุด๘๐ บาท

    • กรรไกร๔๘๐ บาท

    • เข็มเย็บผ้า ๑๐๐ บาท

  • ค่าเอกสารประกอบการอบรมจำนวน 128เล่ม ๆ ละ ๔๐ บาท เป็นเงิน ๕,120 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าสารเคมีทำเจลล้างมือ ปริมาณ ๓๐ลิตร (โดยประมาณ) เป็นเงิน ๖,๑๕๐ บาท ประกอบด้วย

    • เอทิลแอลกอฮอล์ ๙๕% ลิตรละ ๑๕๐ บาท จำนวน ๓๐ ลิตร เป็นเงิน ๔,๕๐๐ บาท

    • Aristoflex AVC ๓ ถุงๆละ ๕๐๐ บาทเป็นเงิน๑,๕๐๐ บาท

    • กลีเซอรีนเหลว ๐.๗๕ กิโลกรัม เป็นเงิน ๑๕๐ บาท

รวมเป็นเงิน 37,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนและผู้ปกครองสามารถป้องกันตนเองและปลอดภัยจากโรคไวรัสโคน่า ๒๐๑๙ และสิ่งเสพติด

  2. นักเรียนและผู้ปกครอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อโควิด-19 และการห้องกันตนเองจากยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37200.00

กิจกรรมที่ 3 เฝ้าระวังยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องยาเสพติด และแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อทำกิจกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด

  2. เดินรณรงค์ ในวันต่อต้านยาเสพติดโลก

  3. จัดทำป้าย โปสเตอร์ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด

เป้าหมาย

  • นักเรียนจำนวน ๑๐๖ คน

  • บุคลากรทางการศึกษา จำนวน ๑๔ คน

  • ผู้ปกครองจำนวน ๕๐ คน


    งบประมาณ

  • ค่าป้ายไวนิลกิจกรรม ขนาด ๑.๕X ๓ ตร.ม. เป็นเงิน ๖๗๕ บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับทำกิจกรรมยาเสพติด เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรม (ช่วงเช้า) จำนวน ๑๗๐ คนๆละ ๑ มื้อๆละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๔,๒๕๐บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินรณรงค์ (ช่วงบ่าย) จำนวน ๑๗๐ คนๆละ ๑ มื้อๆละ ๒0 บาท เป็นเงิน 3,400 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วม กิจกรรม จำนวน ๑๗๐ คนๆละ ๑ มื้อๆ ละ ๖๕ บาท เป็นเงิน ๑๑,๐๕๐ บาท
  • ค่าป้ายรณรงค์ ๖ ป้าย ๑,๘๐๐ บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน ๓ ชม.ๆ ละ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท

รวมเป็นเงิน ๒5,975 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและผู้ปกครอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25975.00

กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

  2. จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

งบประมาณ

  • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง จำนวน ๒ คน ๆ ละ ๒ ครั้งๆละ ๑๐๐ บาท เป็นเงิน ๔๐๐ บาท
  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน ๔ เล่มๆละ ๒๕๐ บาท เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท

รวมเป็นเงิน ๑,๔๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 96,460.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนที่มีปัญหาความฉลาดทางอารมณ์ได้รับการส่งเสริมพัฒนาอยู่ในระดับปกติ

2. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงห่างไกลโรคและไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด


>