กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กปิใหญ่สุขภาพดี ชีวีปลอดโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนบ้านปิใหญ่

1 นางสุกัญญา บูชาร์ลี ผู้ประสานงาน คนที่ 1
2 นางพรรษมน ซุ่ยลิ่ม ผู้ประสานงาน คนที่ 2
3 นายอุเซ็ง อิสแม
4 นายพงษ์ศิริ จิเบ็ญ
5 นางสาวอารยา นรินทร์

โรงเรียนบ้านปิใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โครงการเด็กปิใหญ่สุขภาพดี ชีวีปลอดโรค เป็นโครงการที่มุ่งส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ แก้ปัญหาสุขภาพให้นักเรียนและผู้ปกครองให้มาใส่ใจการสร้างเสริมสุขภาพ ด้วยการแปรงฟันที่ถูกวิธีรับประทานผักที่ปลอดภัย ใช้สมุนไพรที่ใกล้ตัวให้เกิดประโยชน์ รู้จักป้องกันตัวเองจากโรคภัยไข้เจ็บและมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น

จากการสำรวจปัญหาสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านปิใหญ่ปี พ.ศ.2563 พบว่า เด็กมีภาวะฟันผุ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 3.2 ปัญหาทุพโภชนาการ จำนวน 47 คน (น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มี จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ15.20, เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 12.00 เด็กที่มีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 20 คนคิดเป็นร้อยละ 16.00) สาเหตุของปัญหาดังกล่าว เกิดจากเด็กไม่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ไม่แปรงฟันหลังรับประทานอาหารและก่อนนอน รวมทั้งการบริโภคขนมหวาน และขนมขบเคี้ยวที่มีส่วนผสมของน้ำตาลก็ยิ่งทำให้เด็กมีโอกาสฟันผุสูงขึ้น ส่วนสาเหตุของปัญหาภาวะทุพโภชนาการนั้น เช่น เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ไม่ได้บริโภคอาหารตามความเหมาะสม เด็กอ้วน เกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่มีขอบเขต ขาดการออกกำลังกาย ขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย ส่วนเด็กที่มีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ ไม่ชอบการบริโภคนม ไม่ชอบนมรสจืด เป็นต้น ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องส่งเสริมให้เด็กแปรงฟันที่ถูกวิธี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม ส่งเสริมให้เด็กกินผักและผลไม้ที่ปลอดสารพิษ เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย จะทำให้เด็กมีสุขภาพร่างกายที่ดี ห่างไกลจากโรค และมีการเจริญเติบโตตามวัย

จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านปิใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการ “เด็กปิใหญ่สุขภาพดี ชีวีปลอดโรค” เพื่อแก้ไขปัญหาฟันผุและ ภาวะทุพโภชนาการ เพื่อสร้างความตระหนักและให้ความรู้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ส่งเสริมให้เด็กได้บริโภคผักที่ปลอดสารพิษ และเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายที่เหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี และมีอัตราฟันผุลดลง
  1. ร้อยละ 100  มีการเฝ้าระวังและติดตามการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
  2. นักเรียนร้อยละ 70 มีภาวะฟันผุลดลง
  3. นักเรียน ครูและผู้ปกครองไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและฟัน
100.00
2 เพื่อแก้ไข ส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ
  1. นักเรียนและผู้ปกครองของนักเรียน ที่มีปัญหาทุพโภชนาการร้อยละ 80  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ
  2. นักเรียนที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในภาวะปกติ
  3. นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกติ
  4. นักเรียนที่มีความสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ได้รับการแก้ไขร้อยละ 100
100.00
3 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สมุนไพรไทยและให้นักเรียนบริโภคผักเพิ่มขึ้น
  1. นักเรียน  ผู้ปกครองและครู ร้อยละ 80  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษและการนำสมุนไพรมาแปรรูปและใช้ประโยชน์
  2. นักเรียนบริโภคผักเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครู 10
ผู้ปกครอง 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้นักเรียนและผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้นักเรียนและผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. บรรยายให้ความรู้เรื่องดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

  2. การแปรงฟันที่ถูกวิธี

  3. สร้างแกนนำนักเรียน

  4. ให้นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเที่ยงทุกวัน

  5. จัดรายการเสียงตามสายให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก

  6. จัดกิจกรรมตอบปัญหาสุขภาพช่องปาก

  7. จัดประกวดหนูน้อยฟันดี


    เป้าหมาย

  • นักเรียน ป.1-ป.6 จำนวน 90 คน

  • ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 30 คน

  • ครู บุคลากร จำนวน 10 คน


    งบประมาณ

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 130 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท

  2. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.5x3 เมตร เป็นเงิน 675 บาท

  3. ค่าตอบแทนวิทยากร 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

  4. ค่าอุปกรณ์สำหรับสาธิตการแปรงฟัน ดังนี้

  • แปรงสีฟัน จำนวน 90 ด้ามๆละ 40 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

  • ยาสีฟัน จำนวน 3 หลอดๆละ 90 บาท เป็นเงิน 270 บาท

  • แก้วน้ำ จำนวน 90 ใบๆละ 10 บาท เป็นเงิน 900 บาท

รวมเงิน 10,495 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 100มีการเฝ้าระวังและติดตามการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
  2. นักเรียนร้อยละ 70 มีภาวะฟันผุลดลง
  3. นักเรียน ครูและผู้ปกครองไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและฟัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10495.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้ปกครองและนักเรียนเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
สร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้ปกครองและนักเรียนเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. เฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการเด็ก

  2. ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็ก แก่นักเรียน ผู้ปกครองเด็ก ที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ

  3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กที่มีปัญหาโภชนาการแต่ละราย ดังนี้

เด็กมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

  1. ปรับ – เปลี่ยนมากินอาหารที่หลากหลาย ครบ 5 หมู่

เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์

  1. ขยับ- กินเท่าไหร่ ต้องใช้ให้หมด เพิ่มการเคลื่อนไหว

    ร่างกายให้กับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

  2. เปลี่ยน- เปลี่ยนมากินอาหารที่มีความหวาน มัน เค็ม แต่พอดี

เด็กที่มีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์

  1. ส่งเสริมให้เด็กบริโภคนมรสจืด

  2. ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

  3. ติดตามเด็กที่มีปัญหาโภชนาการ


    เป้าหมาย

1.นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนการจำนวน 47 คน

2.ผู้ปกครองของนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนากร จำนวน 47 คน


งบประมาณ

1.อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 94 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,350 บาท

2.ค่าตอบแทนวิทยากร 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

3.จัดทำคู่มืออาหารเมนูเพื่อสุขภาพ จำนวน 47 เล่ม เล่มละ 30 บาท เป็นเงิน 1,410 บาท

ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ สาธิตการทำเมนูเพื่อสุขภาพ (ไข่ม้วน)

4.เครื่องทำไข่ม้วนจำนวน 9 เครื่อง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท

5.ไข่ไก่4แผง ๆ ละ120บาทเป็นเงิน 480 บาท

6.ซอสมะเขือเทศจำนวน 2 ขวดๆละ 65 เป็นเงิน130บาท

7.มายองเนสจำนวน 2ขวดๆละ 90 บาท เป็นเงิน180 บาท

8.เนยจำนวน 2 กระป๋องๆละ 70 บาท เป็นเงิน 140 บาท

9.ไม้เสียบไข่ม้วน จำนวน 1 ถุง ๆ ละ90บาท เป็นเงิน 90 บาท

ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ สาธิตการทำเมนูเพื่อสุขภาพ (สลัดโรล)

10.ผักสลัด จำนวน 1 ก.ก.ๆละ 200 บาท เป็นเงิน 200 บาท

11.แครอท จำนวน 1 ก.ก.ๆละ50 บาทเป็นเงิน 50 บาท

12.แตงกวา จำนวน3 ก.ก.ๆละ30เป็นเงิน 90บาท

13.แป้งแผ่น จำนวน 2 ถุงๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท

14.ปูอัดจำนวน 3 ถุงๆ ละ80 บาทเป็นเงิน 240 บาท

15.น้ำจิ้มซีฟู๊ด จำนวน 2 ขวดๆละ 129 บาท เป็นเงิน 258 บาท

16.น้ำสลัดจำนวน 7 ถุงๆ ละ 89 บาท เป็นเงิน 623 บาท

17.ทูน่า จำนวน 1 กระป๋อง ๆ ละ 295 บาท เป็นเงิน 295 บาท

ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ สาธิตการทำเมนูเพื่อสุขภาพ (น้ำปั่นผักผลไม้รวมเพื่อสุขภาพ)

18.แอปเปิ้ลเขียว จำนวน 18 ลูก ๆ ละ10 เป็นเงิน 180 บาท

19.สับปะรด จำนวน 9 ก.ก.ๆ ละ30 บาทเป็นเงิน 270 บาท

20.มะเขือเทศ จำนวน 1 ก.ก.ๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 50 บาท

21.แครอท จำนวน 1 ก.ก.ๆ ละ50เป็นเงิน 50 บาท

22.เครื่องปั่นน้ำผลไม้จำนวน 2 เครื่องๆ ละ 1,090 บาท เป็นเงิน 2,180 บาท

ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ ในการออกกำลังกาย

23.ฟุตบอล จำนวน 10 ลูกๆละ 700 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท

24.เชือกกระโดด จำนวน 20 เส้นๆละ 80 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท

รวมเงิน 22,666บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนและผู้ปกครองของนักเรียน ที่มีปัญหาทุพโภชนาการร้อยละ 80  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ
  2. นักเรียนที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในภาวะปกติ
  3. นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกติ
  4. นักเรียนที่มีความสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ได้รับการแก้ไขร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22666.00

กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ/สมุนไพรไทย

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ/สมุนไพรไทย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ/สมุนไพรไทย การแปรรูปสมุนไพร และนำมาใช้ประโยชน์

  2. นำผักที่ปลูกมาประกอบอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียน เพื่อให้เด็กได้บริโภคผักที่ลอดสารพิษ


    เป้าหมาย

  • นักเรียน ป.1-ป.6 จำนวน 40 คน

  • ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 20 คน

  • ครู บุคลากร จำนวน 10 คน


    งบประมาณ

1.อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน จำนวน 1,750 บาท

2.ค่าป้ายไวนิล 1.5 x3 เมตร เป็นเงิน 675 บาท

3.ค่าตอบแทนวิทยากร 3 ชม.ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน จำนวน 1,800 บาท

ค่าวัสดุ/อุปกรณ์สำหรับนำสมุนไพรมาแปรรูป

4.ขวดพลาสติก จำนวน 300 ขวดๆละ 2 บาท เป็นเงิน 600 บาท

5.ชุดทำสบู่เหลว 20 ชุดๆละ 230 บาท เป็นเงิน 4,600 บาท

6.ขวดใส่สบู่เหลว 30 ขวดๆละ 20 บาท เป็นเงิน 600 บาท

7.สติ๊กเกอร์ติดขวด จำนวน 130 ชิ้นๆละ 3 บาทเป็นเงิน 390 บาท

8.ชุดทำน้ำยาถูพื้น 20 ชุดๆละ 185 บาท เป็นเงิน 3,700 บาท

รวมเป็นเงิน 14,115 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนผู้ปกครองและครู ร้อยละ 80มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษและการนำสมุนไพรมาแปรรูปและใช้ประโยชน์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14115.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ชีวีปลอดโรค

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ชีวีปลอดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.ปรับปรุงสถานที่ในโรงเรียน เตรียมสถานที่เพาะปลูกผัก/สมุนไพร

2.นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนร่วมกันปลูกผัก สมุนไพรและดูแลผัก สมุนไพร ตลอดจนการเก็บเกี่ยว

3.ทำน้ำหมักชีวภาพ และเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพร

4.นำผักที่ปลูกส่งเสริมเป็นอาหารกลางวัน และนำสมุนไพรมาแปรรูป


เป้าหมาย

  • นักเรียน ป.1-ป.6 จำนวน 40 คน

  • ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 20 คน

  • ครู บุคลากร จำนวน 10 คน


    งบประมาณ

  1. กระถางปลูก 50 ใบๆละ 50 เป็นเงินจำนวน 2,500 บาท

  2. เมล็ดพันธ์ผัก 75 ซองๆละ 20 เป็นเงินจำนวน 1,500 บาท

  3. ดินปลูก 80 ถุงๆละ 30 บาท เป็น เป็นเงินจำนวน 2,400 บาท

  4. พดสับ20 ถุงๆละ 80 บาทเป็นเงิน1,600 บาท

  5. บัวรดน้ำ 10 ใบๆละ 80 บาท เป็นเงิน800 บาท

  6. ปุ๋ยคอก 10 กระสอบๆละ 100 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

  7. ป้ายชื่อสมุนไพร ขนาด A4 จำนวน 30 ป้ายๆละ 150 บาท เป็นเงินจำนวน 4,500 บาท

ค่าวัสดุ/อุปกรณ์การทำน้ำหมักชีวภาพ

  1. ถังหมัก ขนาด 150 ลิตร จำนวน 2 ถังๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

  2. กากน้ำตาล จำนวน 1 แกลลอนๆละ 20 ลิตร เป็นเงิน 380 บาท x 2 แกลลอน เป็นเงิน 760 บาท

  3. EM จำนวน 1 แกลอนๆละ 5 ลิตร เป็นเงิน 400 บาท x 2 แกลลอน เป็นเงิน 800 บาท

รวมเงิน 17,060 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • นักเรียนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
  • นักเรียนมีการบริโภคผักเพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17060.00

กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  2. จัดทำรายงานโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

เป้าหมาย

  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 5 คน

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน4เล่มๆละ 250 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 65,336.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
2. นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการแก้ไขและมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
3. นักเรียนมีการบริโภคผักเพิ่มขึ้น


>