กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กปิใหญ่สุขภาพดี ชีวีปลอดโรค
รหัสโครงการ 2564 – L8010 – 2 - 02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านปิใหญ่
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 65,336.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณรงค์กร ชำนาญเวช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2563 30 ก.ย. 2564 65,336.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 65,336.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กปิใหญ่สุขภาพดี ชีวีปลอดโรค เป็นโครงการที่มุ่งส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ แก้ปัญหาสุขภาพให้นักเรียนและผู้ปกครองให้มาใส่ใจการสร้างเสริมสุขภาพ ด้วยการแปรงฟันที่ถูกวิธีรับประทานผักที่ปลอดภัย ใช้สมุนไพรที่ใกล้ตัวให้เกิดประโยชน์ รู้จักป้องกันตัวเองจากโรคภัยไข้เจ็บและมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น

จากการสำรวจปัญหาสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านปิใหญ่ปี พ.ศ.2563 พบว่า เด็กมีภาวะฟันผุ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 3.2 ปัญหาทุพโภชนาการ จำนวน 47 คน (น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มี จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ15.20, เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 12.00 เด็กที่มีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 20 คนคิดเป็นร้อยละ 16.00) สาเหตุของปัญหาดังกล่าว เกิดจากเด็กไม่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ไม่แปรงฟันหลังรับประทานอาหารและก่อนนอน รวมทั้งการบริโภคขนมหวาน และขนมขบเคี้ยวที่มีส่วนผสมของน้ำตาลก็ยิ่งทำให้เด็กมีโอกาสฟันผุสูงขึ้น ส่วนสาเหตุของปัญหาภาวะทุพโภชนาการนั้น เช่น เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ไม่ได้บริโภคอาหารตามความเหมาะสม เด็กอ้วน เกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่มีขอบเขต ขาดการออกกำลังกาย ขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย ส่วนเด็กที่มีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ ไม่ชอบการบริโภคนม ไม่ชอบนมรสจืด เป็นต้น ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องส่งเสริมให้เด็กแปรงฟันที่ถูกวิธี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม ส่งเสริมให้เด็กกินผักและผลไม้ที่ปลอดสารพิษ เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย จะทำให้เด็กมีสุขภาพร่างกายที่ดี ห่างไกลจากโรค และมีการเจริญเติบโตตามวัย

จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านปิใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการ “เด็กปิใหญ่สุขภาพดี ชีวีปลอดโรค” เพื่อแก้ไขปัญหาฟันผุและ ภาวะทุพโภชนาการ เพื่อสร้างความตระหนักและให้ความรู้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ส่งเสริมให้เด็กได้บริโภคผักที่ปลอดสารพิษ และเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายที่เหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี และมีอัตราฟันผุลดลง
  1. ร้อยละ 100  มีการเฝ้าระวังและติดตามการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
  2. นักเรียนร้อยละ 70 มีภาวะฟันผุลดลง
  3. นักเรียน ครูและผู้ปกครองไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและฟัน
100.00
2 เพื่อแก้ไข ส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ
  1. นักเรียนและผู้ปกครองของนักเรียน ที่มีปัญหาทุพโภชนาการร้อยละ 80  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ
  2. นักเรียนที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในภาวะปกติ
  3. นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกติ
  4. นักเรียนที่มีความสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ได้รับการแก้ไขร้อยละ 100
100.00
3 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สมุนไพรไทยและให้นักเรียนบริโภคผักเพิ่มขึ้น
  1. นักเรียน  ผู้ปกครองและครู ร้อยละ 80  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษและการนำสมุนไพรมาแปรรูปและใช้ประโยชน์
  2. นักเรียนบริโภคผักเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 65,336.00 5 65,336.00
1 - 31 ม.ค. 64 อบรมให้ความรู้นักเรียนและผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน 0 10,495.00 10,495.00
1 ม.ค. 64 - 31 มี.ค. 64 สร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้ปกครองและนักเรียนเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน 0 22,666.00 22,666.00
1 - 31 ม.ค. 64 ให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ/สมุนไพรไทย 0 14,115.00 14,115.00
1 ม.ค. 64 - 30 มิ.ย. 64 ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ชีวีปลอดโรค 0 17,060.00 17,060.00
1 - 31 ส.ค. 64 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 1,000.00 1,000.00

วิธีดำเนินการ

1.ขั้นเตรียมการ

  1.1 เขียนโครงการเพื่ออนุมัติงบประมาณจากกองทุน อบต.กำแพง

  1.2 ประสานงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/วิทยากรเพื่ออบรมให้ความรู้


2.ขั้นดำเนินงานตามกิจรรมดังนี้

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้นักเรียนและผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

1.1 การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับช่องปากที่ดีและการแปรงฟันที่ถูกวิธี

1.2 สร้างแกนนำนักเรียน

1.3 ให้นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเที่ยงทุกวัน

1.4 จัดรายการเสียงตามสายให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก

1.5 จัดกิจกรรมตอบปัญหาสุขภาพช่องปาก

1.6 จัดประกวดหนูน้อยฟันดี


กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้ปกครองและนักเรียนเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน

2.1 เฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการเด็ก

2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็ก แก่นักเรียน ผู้ปกครองเด็ก ที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ

2.2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กที่มีปัญหาโภชนาการแต่ละราย ดังนี้

  เด็กมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

  1. ปรับ – เปลี่ยนมากินอาหารที่หลากหลาย ครบ 5 หมู่

  เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์

  1. ขยับ- กินเท่าไหร่ ต้องใช้ให้หมด เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายให้กับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

  2. เปลี่ยน- เปลี่ยนมากินอาหารที่มีความหวาน มัน เค็ม แต่พอดี

  เด็กที่มีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์

  1. ส่งเสริมให้เด็กบริโภคนมรสจืด

  2. ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

2.3 ติดตามเด็กที่มีปัญหาโภชนาการ


กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์/สมุนไพรใกล้ตัว ชีวีปลอดโรค

3.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ/สมุนไพรไทย การแปรรูปสมุนไพร และนำมาใช้ประโยชน์

3.2 สอน/สาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ/สมุนไพรไทย

3.3 ปรับปรุงสถานที่ในโรงเรียน เตรียมสถานที่เพาะปลูกผัก/สมุนไพร

3.4 นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนร่วมกันปลูกผัก สมุนไพรและดูแล ผัก สมุนไพร ตลอดจนการเก็บเกี่ยว

3.5 ทำน้ำหมักชีวภาพ และเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพร

3.6 นำผักที่ปลูกส่งเสริมเป็นอาหารกลางวัน และนำสมุนไพรมาแปรรูป


กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2 ครั้ง

4.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

4.2 จัดทำรูปเล่มรายงานโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
  2. นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการแก้ไขและมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
  3. นักเรียนมีการบริโภคผักเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2563 11:56 น.