กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหริ่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการและการเจริญเติบโต ในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหริ่ง

โรงเรียนยะหริ่งอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

นางรอสือเมาะ อภิบาลบำรุง
นายกฤติเดช ปิ่นหอม

โรงเรียนยะหริ่งอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

 

50.00
2 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

 

60.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ บริโภคอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

50.00 70.00
2 เพื่อลด เด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกินภาวะอ้วนลงพุง

ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

60.00 40.00

หลักการและเหตุผล
โภชนาการที่ดีเป็นรากฐานที่สำคัญของการมีสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะเด็กวัยเรียน เนื่องจากเด็กวัยนี้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงเป็นโอกาสที่จะส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ หากเด็กได้รับอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายหรือมากเกินไป จะทำให้การเจริญเติบโตไม่ดีและผอม หรืออ้วนจนเกินไป หากขาดอาหารเป็นเวลานานเรื้อรังจะทำให้เด็กเตี้ยและผอม ส่งผลต่อการพัฒนาสมอง พัฒนาการล่าช้า อีกทั้งพบว่า เสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคเรื้อรังเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เช่น โรคขาดสารอาหาร โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง พัฒนาการทางด้านสมองล่าช้า ซึ่งการส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนได้กินอาหารในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดี มีส่วนสูงในระดับดีและรูปร่างสมส่วนและสมวัย รวมทั้งป้องกันปัญหาภาวะทุพโภชนาการ (อ้วน ผอม เตี้ย) ได้ จากรายงานผลภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียนของโรงเรียนยะหริ่งภาด 1/2563พบภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนอายุ 6-12ปีสูงดีสมส่วนเพียง ร้อยละ 60.60น้ำหนักน้อย เตี้ย และเริ่มอ้วน พบร้อยละ21.28 ,18.41และ 9.12ตามลำดับดังนั้นการส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ครบถ้วน เหมาะสมตามวัย ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดีทั้งร่างกายและสมอง โดยเด็กวัยเรียนควรดื่มนมจืดวันละ 2 แก้ว หรือ 400 มิลลิลิตร ทุกวัน เนื่องจากนมเป็นแหล่งของโปรตีนและแคลเซียม ช่วยสร้างมวลกระดูก ทำให้กระดูกแข็งแรง มีผลต่อการเจริญเติบโตด้านความสูง ร่วมกับการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกของข้อต่อ เพื่อให้การเจริญเติบโตของกระดูก โดยเฉพาะกลุ่ม long bone เพิ่มขึ้น รวมถึงการนอนหลับที่มีคุณภาพอย่างน้อย วันละ 8 ชั่วโมง จะมีผลต่อความสูงที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ควรให้กินไข่ วันละ 1 ฟอง เพราะไข่เป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูง เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย มีแร่ธาตุและวิตามิน ช่วยเพิ่มความจำและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กนอกจากนี้ยังพบปัญหาว่าเด็กวัยเรียนบริโภคผัก ผลไม้น้อยกว่าปริมาณตามคำแนะนำจากความสำคัญดังกล่าว กรมอนามัย ได้กำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนให้แข็งแรงและฉลาด โดยมีเป้าประสงค์ คือ เด็กวัยเรียนเจริญเติบโตเต็มศักยภาพและมีทักษะสุขภาพ กำหนดตัวชี้วัดร้อยละของเด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 66 และเด็กอายุ 12 ปีมีส่วนสูงเฉลี่ยตามเกณฑ์ เป้าหมายระยะ5 ปี ข้างหน้า (ปี 2564 ) เด็กผู้ชายสูง 154 เซนติเมตร และ เด็กผู้หญิง 155 เซนติเมตรเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเด็กวัยเรียนสูงดีสมส่วน แข็งแรงและฉลาด เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน เติบโตเต็มศักยภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงต่อไปในอนาคต อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

1.วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมเด็กวัยเรียนมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน
2.เพื่อส่งเสริมเด็กวัยเรียนให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
3.เพื่อส่งเสริมเด็กวัยเรียนให้มีภาวะโภชนาการที่ดีขี้น (ภาวะอ้วน ผอม เตี้ยดีขี้น)
2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมาย
กลุ่มเด็กวัยเรียนที่อยู่ในภาวะ อ้วน ผอม เตี้ย จำนวน 100คน(22+45+47= 114 คน)
3. วิธีดำเนินการ/รายละเอียดกิจกรรม
3.1 การเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโตโดยครูผู้ดูแล
3.1.1 จัดทำทะเบียน/บัญชีเด็กภาวะ อ้วน ผอม เตี้ย และติดตามเป็น ระยะๆ
3.1.2 จัดหาเครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดส่วนสูง ที่มีมาตรฐาน
3.1.3 ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กทุกเดือน พร้อมกับประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก
3.1.4 นำข้อมูลบันทึกลงในโปรแกรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียนหรือสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก
3.1.5 นำข้อมูลจากโปรแกรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโต แจ้งผลประเมินภาวะการเจริญเติบโตและแนวโน้มการเพิ่มน้ำหนักส่วนสูง และให้คำแนะนำแก่พ่อแม่/ผู้ปกครอง (แนบเอกสาร)ในการดูแลด้านโภชนาการและการเล่น รวมไปถึงการออกกำลังกาย
3.2 การสนับสนุนกิจกรรมแก้ไขเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม
3.2.1 จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม และประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการแก้ไข
3.2.2 กรณีเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม แนะนำให้ผู้ปกครองจัดหาไข่หรือนมให้รับประทานติดต่อกัน เป็นเวลาอย่างน้อย180 วัน หรือจนกว่าเด็กกลับมาอยู่ในระดับค่อนข้างเตี้ย ค่อนข้างผอมหรือจนกว่าเด็กอยู่ในระดับสูงตามเกณฑ์และสมส่วนหรือเพิ่มอาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ รวมทั้งแนะนำเด็กได้เล่นออกกำลังตามปกติอย่างน้อยวันละ 60 นาที
3.2.3 กรณีเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น
3.3 การจัดอาหาร (อาหารกลางวันและอาหารว่าง) ปรับปรุง จัดเตรียมและจัดอาหารที่มีคุณค่าทาง
โภชนาการ ตามข้อแนะนำชุดกิจกรรมพื้นฐานด้านโภชนาการ
3.4 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพร้อมแบบรายงาน (ภาคผนวก) ส่งให้กองทุนหลักประกัน
สุขภาพ เทศบาลอำเภอยะหริ่ง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมดำเนินการ 4.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามกลุ่มเป้าหมาย 100 คน(มกราคม 2564 ) 4.1.1 จัดแบ่งกลุ่มย่อย เป็น 4 กลุ่ม พร้อมตั้งชื่อกลุ่ม และสโรแกนของกลุ่ม - คัดเลือกประธาน รองประธาน
- จับคู่ Buddy เราจะก้าวข้ามไปด้วยกัน - ข้อตกลงของกลุ่ม 4.1.2 กิจกรรมฐานการเรียนรู้ – ฐานความรู้ทั่วไป - ฐานเรียนรู้อาหารและธงโภชนาการ - ฐานการออกกำลังกาย - ฐานการตรวจสุขภาพและตรวจร่างกาย (น้ำหนัก ส่วนสูง วัดความดัน รอบ เอว ตรวจสุขภาพร่างกาย) 4.1.3 แบบสอบถาม พฤติกรรมการรอบรู้ด้านสุขภาพ ป.3-ป.5จำนวน 100 ชุด ครั้งที่ 1)

  • จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ จำนวน 1 วันรายละเอียดดังนี้
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100คนๆ ละ 25บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน5,000 บาท
    • ป้ายไวล์นิล เป็นเงิน750บาท
    • จัดทำสมุดประจำตัว100 เล่ม พร้อมเอกสารความรู้และการปฏิบัติตนเอง เป็นเงิน 2,000บาท
  • ถ่ายเอกสารแบบสอบถามพฤติกรรมการรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็นเงิน500บาท
  • วัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน1,750บาท รวมเป็นเงิน10,000บาท

    4.2 กิจกรรม

  1. ระยะเวลาดำเนินการ วันที่เดือนมกราคม พ.ศ.2564- วันที่30เดือนกันยายน พ.ศ.2564
  2. งบประมาณ
    จากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เทศบาล/องค์การบริหารส่วนตำบลยะหริ่ง จำนวนทั้งสิ้น 20,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้ ให้ระบุรายละเอียดค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับวิธีการดำเนินงาน/กิจกรรม
    กิจกรรม ที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามกลุ่มเป้าหมาย 100 คน

- จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ จำนวน 1 วันรายละเอียดดังนี้ - อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100คนๆ ละ 25บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน5,000 บาท - ป้ายไวล์นิล เป็นเงิน750บาท
- จัดทำสมุดประจำตัว100 เล่ม พร้อมเอกสารความรู้และการปฏิบัติตนเอง เป็นเงิน 2,000บาท - ถ่ายเอกสารแบบสอบถามพฤติกรรมการรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็นเงิน500บาท
- วัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน1,750บาท รวมเป็นเงิน10,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เด็กน้ำหนักเกิน/อ้วน หรือเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงทุก 1 เดือน
  • เด็กน้ำหนักเกิน/อ้วน หรือเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ได้รับการดูแลและมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
  • เด็กน้ำหนักเกิน/อ้วน หรือเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเพิ่มศักยภาพและติดตาม ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งที่ 2 (เดือนมีนาคม2564)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเพิ่มศักยภาพและติดตาม ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งที่ 2 (เดือนมีนาคม2564)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

– ฐานความรู้ทั่วไป - ฐานเรียนรู้อาหารและธงโภชนาการ - ฐานการออกกำลังกาย - ฐานการตรวจสุขภาพและตรวจร่างกาย (น้ำหนัก ส่วนสูง วัดความดัน รอบ เอว ตรวจสุขภาพร่างกาย) 4.1.3 แบบสอบถาม พฤติกรรมการรอบรู้ด้านสุขภาพ ป.3-ป.5จำนวน 100 ชุด ครั้งที่ 1) อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100คนๆ ละ 25บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เด็กน้ำหนักเกิน/อ้วน หรือเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงทุก 1 เดือน
  • เด็กน้ำหนักเกิน/อ้วน หรือเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ได้รับการดูแลและมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
  • เด็กน้ำหนักเกิน/อ้วน หรือเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเพิ่มศักยภาพและติดตาม ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรมครั้งที่ 2(เดือนกรกฎาคม 2564)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเพิ่มศักยภาพและติดตาม ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรมครั้งที่ 2(เดือนกรกฎาคม 2564)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

– ฐานความรู้ทั่วไป - ฐานเรียนรู้อาหารและธงโภชนาการ - ฐานการออกกำลังกาย - ฐานการตรวจสุขภาพและตรวจร่างกาย (น้ำหนัก ส่วนสูง วัดความดัน รอบ เอว ตรวจสุขภาพร่างกาย) 4.1.3 แบบสอบถาม พฤติกรรมการรอบรู้ด้านสุขภาพ ป.3-ป.5จำนวน 100 ชุด ครั้งที่ 1) อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100คนๆ ละ 25บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เด็กน้ำหนักเกิน/อ้วน หรือเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงทุก 1 เดือน
  • เด็กน้ำหนักเกิน/อ้วน หรือเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ได้รับการดูแลและมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
  • เด็กน้ำหนักเกิน/อ้วน หรือเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน( เดือนสิงหาคม 2564 )

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน( เดือนสิงหาคม 2564 )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมถอดบทเรียนฐานการเรียนรู้ – ฐานความรู้ทั่วไป - ฐานเรียนรู้อาหารและธงโภชนาการ - ฐานการออกกำลังกาย - ฐานการตรวจสุขภาพและตรวจร่างกาย (น้ำหนัก ส่วนสูง วัดความดัน รอบ เอว ตรวจสุขภาพร่างกาย) 4.1.3 แบบสอบถาม พฤติกรรมการรอบรู้ด้านสุขภาพ ป.3-ป.5จำนวน 100 ชุด
- อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ 25บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน5,000 บาท รวม เป็นเงินทั้งสิ้น 5,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เด็กน้ำหนักเกิน/อ้วน หรือเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงทุก 1 เดือน
  • เด็กน้ำหนักเกิน/อ้วน หรือเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ได้รับการดูแลและมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
  • เด็กน้ำหนักเกิน/อ้วน หรือเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
20000 บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เด็กน้ำหนักเกิน/อ้วน หรือเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงทุก 1 เดือน
- เด็กน้ำหนักเกิน/อ้วน หรือเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ได้รับการดูแลและมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
- เด็กน้ำหนักเกิน/อ้วน หรือเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น


>