กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ ๒๕๖๐

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ ๒๕๖๐
รหัสโครงการ 52816001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย
วันที่อนุมัติ 4 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายทรรศนะ สกุลดิษฐ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.871,100.144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 72 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อำเภอเข้มแข็งด้านการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคแบบยั่งยืนจะต้องมีระบบและกลไกการบริหารจัดการการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องทันต่อสถานการณ์โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อลดปัญหาและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน สำหรับในพื้นที่ตำบลทุ่งนุ้ยอำเภอควนกาหลงจังหวัดสตูลพบว่า มีจำนวนผู้ป่วยสงสัยและผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน ๑๘รายและพบการระบาดมากในหมู่ที่ ๕บ้านโตนปาหนันจำนวน ๗ รายหมู่ที่ ๔บ้านน้ำร้อน จำนวน ๖ ราย( ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ) นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเสียชีวิตจำนวน ๑ รายในหมู่ที่ ๕ บ้านโตนปาหนัน คิดเป็น ๑๐๓.๔๑ต่อประชากรแสนคน จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าประชาชนในตำบลทุ่งนุ้ยประสบปัญหาโรคไข้เลือดออกที่กำลังระบาดอยู่
ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลงจังหวัดสตูลขอเสนอโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ยอำเภอควนกาหลงจังหวัดสตูลปีงบประมาณ ๒๕๖๐เพื่อให้สามารถตอบโต้ต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงทีมีระบบการรายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและทีมควบคุมป้องกันโรคทุกหมู่บ้านโดยเฉพาะแหล่งสำคัญที่มีการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมภายในหมู่บ้านได้แก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนโรงงานและศาสนสถานจะต้องมีผู้ประสานความร่วมมือในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายเพื่อลดภาระงานของหน่วยงานสาธารณสุข ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก

 

2 เพื่อสร้างระบบการรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ

 

3 เพื่อจัดตั้งทีมควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วในหมู่บ้านมีการเฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างต่อเนื่อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อสร้างระบบการรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อจัดตั้งทีมควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วในหมู่บ้านมีการเฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นเตรียมการ ๔.๑. เสนอร่างโครงการผ่านเวทีพิจารณาโดยคณะกรรมการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย ๔.๒ศึกษาบริบทของหมู่บ้านเพื่อหาแนวทางการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ๔.๓ประสานผู้รับผิดชอบผู้เกี่ยวข้อง ขั้นดำเนินการ ๔.๔เขียนโครงการและศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ๔.๕.เสนอโครงการผ่านเวทีประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วน ตำบลทุ่งนุ้ยเพื่อขออนุมัติและสนับสนุนงบประมาณ ๔.๖ปรับปรุงแก้ไขโครงการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนุ้ย ๔.๗ดำเนินการตามแผนงานโครงการที่จัดทำขึ้น ขั้นประเมินผล ๔.๘ ประเมินผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ ๔.๙ ประเมินผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับเป้าหมาย ๔.๑๐ประเมินผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับงบประมาณ ๔.๑๑ประเมินผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับผลที่คาดว่าจะได้รับ ๔.๑๒ประเมินผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับความทันเวลาในการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้นำชุมชนผู้นำศาสนาครูอนามัยโรงเรียน ครูศูนย์เด็กเล็กผู้ประกอบการโรงงานมีความรู้ ความเข้าใจโรคไข้เลือดออกมากขึ้น ๒. มีระบบรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านสามารถควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็ว ๓. มีคณะกรรมการภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านประชุมร่วมกันเพื่อติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน ๔. มีทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วสามารถดำเนินการควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2560 14:33 น.