กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ ๒๕๖๐

assignment
บันทึกกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน ๔ วัน 12 กันยายน 2560
12
กันยายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ทุ่งนุ้ย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินการโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย  อำเภอควนกาหลง  จังหวัดสตูล
ปีงบประมาณ ๒๕๖๐

ตอนที่ ๑.  ประเมินประสิทธิผลโครงการ

๑.๑  ผลการปฏิบัติงานเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ จากผลการดำเนินงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย  อำเภอควนกาหลง  จังหวัดสตูล  ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๕  กันยายน  ๒๕๖๐  ณ  ห้องประชุมศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สตูล  เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก  สร้างระบบการรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ  จัดตั้งทีมควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วในหมู่บ้าน  มีการเฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างต่อเนื่อง

๑.๒  เปรียบเทียบผลงานกับกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมรับการอบรมเป็นผู้นำชุมชน  จำนวน ๗๒ คน มีผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวรวมทั้งสิ้น  ๗๒ คนผลงานเท่ากับร้อยละ ๑๐๐

๑.๓  เปรียบเทียบผลงานกับผลที่คาดว่าจะได้รับ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมอบรม  มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น  คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๖๓  ของผู้ที่เข้าร่วมอบรมทั้งหมด  มีระบบรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านผ่าน Line Application  มีความสามรถในการควบคุมโรคตามมาตรการ ๓ : ๓ : ๑มีคณะกรรมการภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน

๑.๔  เปรียบเทียบผลงานกับงบประมาณที่ใช้ไป งบประมาณได้รับการสนับสนุนจากกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนุ้ย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ จำนวนเงิน ๓๑,๘๐๐  บาท ใช้จ่ายไปในการจัดทำโครงการฯ  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๓๑,๘๐๐  บาท  คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐  ของงบประมาณที่ได้รับสนับสนุนโดยมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งหมด ๗๒ คน คิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ต่อผู้เข้าร่วมโครงการฯจำนวน ๑ คน เฉลี่ยคนละ  ๔๔๑.๖๗  บาท
การประเมินประสิทธิภาพทางค่าใช้จ่ายต่อหน่วยของโครงการ

ทรัพยากรที่ใช้    =  จำนวนงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน  =  ๓๑,๘๐๐        =    ๔๔๑.๖๗   ผลผลิต          จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ                ๗๒

๑.๕  เปรียบเทียบผลงานกับความทันเวลาในการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาตามโครงการฯที่กำหนด ผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริง วัน / เดือน / ปี กิจกรรมที่วางแผน วัน / เดือน / ปี กิจกรรมที่ดำเนินการ มิถุนายน ๖๐ -เสนอร่างโครงการ ๒ มิถุนายน ๖๐ -ได้ดำเนินการตามโครงการฯ มิถุนายน ๖๐ -ศึกษาบริบทของหมู่บ้าน  ๒ – ๑๐ มิ.ย. ๖๐ -ได้ดำเนินการตามโครงการฯ มิถุนายน ๖๐ -จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุข  แกนนำชุมชน  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อเสนอข้อมูล  พิจารณาปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ๑๑ – ๑๔ มิ.ย.๖๐ -ได้ดำเนินการตามโครงการฯ มิ.ย. ๖๐ -เขียนโครงการและศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ  ๑๑ – ๑๔ มิ.ย. ๖๐ -ได้ดำเนินการตามโครงการฯ       มิ.ย. ๖๐ -เสนอโครงการผ่านเวทีประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ  องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนุ้ย  เพื่อขออนุมัติและสนับสนุนงบประมาณ   ๔  ก.ค. ๖๐ -ได้ดำเนินการตามโครงการฯ    แต่ล่าช้ากว่าปกติเนื่องจากพิจารณาอนุมัติโครงการฯล่าช้า มิ.ย.๖๐ – ก.ย.๖๐ ดำเนินการตามแผนงานโครงการที่จัดทำขึ้น จัดเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน  จำนวน ๔ ครั้ง  ระยะเวลา ๔ วัน  ๑ มิ.ย.– ๓๐ก.ย. ๖๐ -ได้ดำเนินการตามโครงการฯ    แต่ล่าช้ากว่าปกติเนื่องจากพิจารณาอนุมัติโครงการฯล่าช้า กันยายน  ๖๐ -สรุปผลการดำเนินงานพร้อมปัญหาและอุปสรรค ๒๑ – ๒๕ ก.ย. ๖๐ -ได้ดำเนินการตามโครงการฯ    แต่ล่าช้ากว่าปกติเนื่องจากการรวบรวมเอกสารหลักฐาน

 





  ๑.๖ ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย ( ผู้เข้าร่วมโครงการฯ , เจ้าหน้าที่ )

ประเภทผู้เข้าร่วมโครงการฯ ความพึงพอใจต่อการจัดทำโครงการ ฯ จำนวน  ( ร้อยละ ) ดีมาก ดี ปานกลาง ต้องปรับปรุง กลุ่มเป้าหมาย      ( ๑๐๐ ) ๓๒    ๔๔.๔๔%) ๔๐    (๕๕.๕๖%) ๐ ๐ เจ้าหน้าที่            ( ๘  ) ๘      ( ๑๐๐% ) ๐ ๐ ๐

สรุป จากการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งหมดจำนวน ๗๒  คน พบว่า
ความพึงพอใจระดับดีมาก  คิดเป็นร้อยละ  ๔๔.๔๔  ความพึงพอใจระดับดี  คิดเป็นร้อยละ ๕๕.๕๖     จากการประเมินความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ทั้งหมดจำนวน ๘ คน พบว่า
มีความพึงพอใจระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

ตอนที่ ๒  ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ - ไม่มี

ตอนที่ ๓.ข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการ

    ๓.๑  การดำเนินโครงการฯเสร็จสิ้น เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ ควรมีการติดตามผลเป็นระยะๆ เพื่อความต่อเนื่องและเป็นขวัญกำลังใจ จะได้มีความมุ่งมั่นในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

    ๓.๒ การดำเนินโครงการฯในครั้งต่อไป ใช้รูปแบบการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรม แบบองค์รวม มีกิจกรรมที่หลากหลายโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน อย่างต่อเนื่อง งบประมาณและระยะเวลา จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการขับเคลื่อนให้โครงการฯดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จได้.

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 72 คน จากที่ตั้งไว้ 72 คน
ประกอบด้วย