กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลฉลุง


“ โครงการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันเด็กจมน้ำ เทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2560 ”

ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางศุภัศร์มายี่สุ่นศรี

ชื่อโครงการ โครงการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันเด็กจมน้ำ เทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2560

ที่อยู่ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 60-L7580-2-08 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 25 กรกฎาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันเด็กจมน้ำ เทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2560 จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลฉลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันเด็กจมน้ำ เทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2560



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันเด็กจมน้ำ เทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2560 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 60-L7580-2-08 ระยะเวลาการดำเนินงาน 25 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 91,600.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลฉลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สถานการณ์การตกน้ำจมน้ำของเด็กในประเทศไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นสาเหตุแห่งการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ อัตราการเสียชีวิตต่อประชากรแสนคน (ปี พ.ศ.2548 – 2557) มีจำนวนการเสียชีวิตเฉลี่ย ปีละ 1,177 คนหรือวันละ 3.2 คน อัตราการป่วยตาย (CaseFatalityRate) จากการจมน้ำเท่ากับร้อยละ 37.2 กลุ่มประชากรเสี่ยง ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งมีสัดส่วนการเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำสูงถึงร้อยละ 30 ของทุกกลุ่มอายุ โดยเพศชายมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเพศหญิงประมาณ 2 เท่าตัว และกระทรวงสาธารณสุขพบว่าทุกๆ 8 ชั่วโมง จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 1 คน โดยเฉลี่ยทุกๆ 1 เดือน ประเทศไทยสูญเสียเด็กจากการจมน้ำเสียชีวิตมากกว่า 90 คน ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2549 – 2558) ประเทศไทยสูญเสียเด็กไปแล้วถึง 10,923 คน(ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค) จากข้อมูลการเฝ้าระวัง เด็กมักจะจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันหลายๆ คน เนื่องจากเด็กไม่รู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำและวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้องจึงมักจะกระโดดลงไปช่วยคนที่ตกน้ำ และจากการศึกษาของสำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคพบว่าเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ว่ายน้ำเป็นร้อยละ 23.7 และว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้ (มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการเอาชีวิตรอด และทักษะการช่วยเหลือ) เพียงร้อยละ 4.4 ทั้งนี้เด็กที่เรียนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดจะมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ และทักษะการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำ มากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนถึง 7.4 เท่า, 20.7 เท่า และ 2.7 เท่า ตามลำดับ และช่วงเดือนเมษายนเป็นช่วงที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด เท่ากับ 148 คน รองลงมาคือมีนาคม มีจำนวน 129 คนและพฤษภาคม 125 คน ซึ่งช่วงดังกล่าวเป็นช่วงปิดภาคการศึกษา
ซึ่งพื้นที่เขตเทศบาลตำบลฉลุง เป็นพื้นที่ที่มีลำคลองไหลผ่านทั้ง 4 ชุมชน โดยชุมชนตลาดสด และชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล จะมีลำคลองสายมำบังไหลผ่าน ส่วนชุมชนวัดดุลยารามและชุมชนชุมสายโทรศัพท์ จะมีลำคลองสายห้วยชั่งทองไหลผ่าน ซึ่งลำคลองทั้ง 2 สายต่างก็มีระดับน้ำที่ค่อนข้างสูง และการไหลเชี่ยวของสายน้ำค่อนข้างแรง มีจุดเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจมน้ำอยู่หลายพื้นที่ และในปีที่ผ่านมาพบว่า มีเด็กในเขตพื้นที่ชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูลจมน้ำเสียชีวิต 1ราย บริเวณพื้นที่ชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูลมีคลองมำบังตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของชุมชนที่มีน้ำไหลในลำคลองตลอดปี และมีเด็กนอกเขตจมน้ำเสียชีวิตอีก 1 ราย บริเวณรอยต่อสะพานคลองมำบังระหว่างชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูลและชุมชนนอกเขต ดังนั้นจะเห็นได้ว่า อุบัติเหตุการเสียชีวิตเกิดขึ้นกับเด็ก ซึ่งอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น ขาดความระมัดระวัง ไม่รู้จักวิธีการเอาตัวรอด ขาดการละเลยจากสายตาพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลฉลุง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ และทักษะการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำ จึงได้จัดทำโครงการวัคซีนเด็กจมน้ำ เทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2560 เพื่อให้เด็ก เยาวชน และผู้ปกครองในชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ และมีความรู้พื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ และเพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทักษะในการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ และพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้
  2. เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้
  3. เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
    กลุ่มวัยทำงาน 10
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ พื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้

    2.เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้

    3.เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชน


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องความปลอดภัยทางน้ำ การช่วยเหลือคนจมนำ้ในการเอาชีวิตรอด

    วันที่ 19 สิงหาคม 2560 เวลา 07:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การประเมินความรู้ก่อนการอบรมกลุ่มเป้าหมายมีจำนวนทั้งหมด 50 คน มีความรู้ก่อนการอบรมอยู่ในระดับดี จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 48 มีความรู้ก่อนการอบรมอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 46 และกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ก่อนการอบรมอยู่ในระดับพอใช้ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 6 การประเมินความรู้หลังการอบรม กลุ่มเป้าหมายมีจำนวนทั้งหมด 50 คน มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ และพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้อยู่ในระดับดีมาก จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 26 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้อยู่ในระดับดี จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 48 และกลุ่มเป้าหมายมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 26
    การประเมินทักษะการช่วยเหลือคนตกน้ำ/จมน้ำ โดยใช้ทักษะการตะโกน โยน ยื่น ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการช่วยเหลือคนตกน้ำ/จมน้ำได้ถูกต้อง
    การประเมินการอบรมและสาธิตฝึกทักษะช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำเด็ก เยาวชน และคณะกรรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุง จำนวน 40 คน มีทักษะช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 35 มีทักษะช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำอยู่ในระดับดี จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 42.5 มีทักษะช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 17.5 และมีทักษะช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำอยู่ในระดับพอใช้ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5 ทำให้เด็ก เยาวชน และคณะกรรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงมีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้ การประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการจัดโครงการสร้างภูมิคุ้มกันเด็กจมน้ำ เทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2560 กลุ่มมีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชน นำความรู้ที่ได้ไปบอกต่อให้น้องๆ ในชุมชนและคนในครอบครัว ช่วยเหลือคนใกล้ตัวได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เอาไปใช้ประโยชน์เวลาเล่นน้ำ และนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้จริง

     

    50 50

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    การประเมินความรู้ก่อนการอบรม กลุ่มเป้าหมายมีจำนวนทั้งหมด 50 คน มีความรู้ก่อนการอบรมอยู่ในระดับดี จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 48 มีความรู้ก่อนการอบรมอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 46 และกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ก่อนการอบรมอยู่ในระดับพอใช้ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ6 การประเมินความรู้หลังการอบรม กลุ่มเป้าหมายมีจำนวนทั้งหมด 50 คน มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ และพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้อยู่ในระดับดีมาก จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 26 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้อยู่ในระดับดี จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 48 และกลุ่มเป้าหมายมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 26  การประเมินทักษะการช่วยเหลือคนตกน้ำ/จมน้ำ โดยใช้ทักษะการตะโกน โยน ยื่น ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการช่วยเหลือคนตกน้ำ/จมน้ำได้ถูกต้อง การประเมินการอบรมและสาธิตฝึกทักษะช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำเด็ก เยาวชน และคณะกรรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุง จำนวน 40 คน มีทักษะช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 35 มีทักษะช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำอยู่ในระดับดี จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 42.5 มีทักษะช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 17.5 และมีทักษะช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำอยู่ในระดับพอใช้ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5 ทำให้เด็ก เยาวชน และคณะกรรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงมีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้ การประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการจัดโครงการสร้างภูมิคุ้มกันเด็กจมน้ำ เทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2560 กลุ่มมีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชน นำความรู้ที่ได้ไปบอกต่อให้น้องๆ ในชุมชนและคนในครอบครัว ช่วยเหลือคนใกล้ตัวได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เอาไปใช้ประโยชน์เวลาเล่นน้ำ และนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้จริง

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ และพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้
    ตัวชี้วัด : เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ พื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ ร้อยละ 80

     

    2 เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้
    ตัวชี้วัด : เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้ ร้อยละ 80

     

    3 เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชน
    ตัวชี้วัด : เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชน ร้อยละ 80

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
    กลุ่มวัยทำงาน 10
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ และพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ (2) เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้ (3) เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันเด็กจมน้ำ เทศบาลตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2560 จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 60-L7580-2-08

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางศุภัศร์มายี่สุ่นศรี )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด