กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง


“ โครงการควบคุม ป้องกันไข้เลือดออก ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ”

ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นางสาวแอเสาะเหนืองตีบ

ชื่อโครงการ โครงการควบคุม ป้องกันไข้เลือดออก ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ ๒๕๖๐

ที่อยู่ ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 60-L3045-2-04 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 ธันวาคม 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการควบคุม ป้องกันไข้เลือดออก ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการควบคุม ป้องกันไข้เลือดออก ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ ๒๕๖๐



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการควบคุม ป้องกันไข้เลือดออก ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 60-L3045-2-04 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2559 - 30 ธันวาคม 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 28,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ช่วงฤดูฝนมักมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากในทุกภาคของประเทศไทย สาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่(Dengue) เชื้อไวรัสชิคุนกุนย่า(Chikungunya) ซึ่งปัจจุบันจากการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการพบว่าเชื้อไวรัสเด็งกี่มี ๔ ชนิด เชื้อดังกล่าวสามารถทำให้เลือดออกรุนแรงได้ดังนั้นเมื่อเชื้อตัวใดตัวหนึ่งเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อเชื้อตัวนั้นอย่างถาวรและยังต่อต้านข้ามไปเชื้ออื่นๆอีก ๓ ชนิดแต่อยู่ไม่ถาวรโดยทั่วไปอยู่ได้นาน ๖-๑๒ เดือน หลังระยะนี้แล้วคนที่เคยติดเชื้อเด็งกี่ ชนิดหนึ่ง อาจติดเชื้อเด็งกี่ชนิดอื่นต่างจากครั้งแรกก็ได้ถือเป็นการติดเชื้อครั้งที่สอง การติดเชื้อซ้ำๆเชื่อกันว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก เป็นสาเหตุการตายจำนวนมากในแต่ละปี โรคไข้เลือดออกถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมาก โดยมียุงลายเป็นพาหะและจะระบาดตลอดปีซึ่งพบมากในช่วงฤดูฝนยุงลายมักจะวางไข่ในแหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง เพราะในช่วงนี้ยังมีฝนตกในหลายพื้นที่ ซึ่งปี ๒๕๕๙ ถือเป็นปีที่มีการระบาดของโรคสูงและมีการแพร่กระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยทั้งประเทศในแต่ละสัปดาห์จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ๔,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้เกือบ ๑๐ รายต่อสัปดาห์ จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – ๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั่วประเทศ ๘๖,๔๖๐ ราย เสียชีวิต ๘๖ ราย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเป็นในกลุ่มนักเรียน ๔๕.๓ % โดยจังหวัดปัตตานี มีผู้ป่วยสะสม ๓๐๗ ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตจากสถิติปี ๒๕๕๙ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง ซึ่งพบผู้ป่วยจำนวน ๒๖ รายคิดอัตราป่วยเป็น ๗๗๙.๖๑ ต่อแสนประชากร แต่ยังไม่พบอัตราเสียชีวิต สำหรับสถิติผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลปิยามุมังนั้น จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยไข้เลือดออก ๕ ปีย้อนหลัง พบว่าปี ๒๕๕๕ มีจำนวน ๑ ราย คิดอัตราป่วยเท่ากับ ๒๘.๗๒ ต่อแสนประชากร ปี ๒๕๕๖ พบขึ้นเป็น ๖ รายคิดอัตราป่วยเท่ากับ ๑๗๒.๓๖ ต่อแสนประชากรปี ๒๕๕๗ พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น ๑๖ ราย คิดอัตราป่วยเท่ากับ ๔๕๙.๖๓ ต่อแสนประชากร และปี ๒๕๕๘ จำนวน ๙ ราย คิดอัตราป่วยเท่ากับ๒๕๘.๕๔ และปี ๒๕๕๙ จำนวน ๒๖ รายคิดเป็นอัตราเท่ากับ ๗๗๙.๖๑ (ตัวชี้วัดอัตราป่วยไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร ) จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปีเช่นกัน จากการเก็บรวบรวมข้อมูล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง โดยการสำรวจค่า BI CI และ HIในปีที่ผ่านมาพบว่าทั้ง ๕ หมู่บ้าน ยังมีปัญหาอยู่มาก ปัญหาที่เราต้องเร่งแก้ไขปัญหาด่วนคือ โรคไข้เลือดออก เพราะจากการสำรวจดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายยังพบว่ามีความชุกของลูกน้ำในเกณฑ์ที่สูงคือค่าHI เท่ากับ ๖๒.๘๖ (ดัชนีความชุกชุมลูกน้ำยุงลาย CI =0) เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจในการป้องกัน คิดว่าการป้องกันโรคเป็นหน้าที่ของฝ่ายสาธารณสุข
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิยามุมัง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจ ป้องภัยไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ขึ้นเพื่ออบรมให้ความรู้ ตระหนักถึงสาเหตุของปัญหา กิจกรรมป้องกันและรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยวิธีกำจัดลูกน้ำยุงลายและกำจัดตัวยุงลายทั้งวิธีกายภาพ และชีวภาพและทางเคมีในบ้านวัดและโรงเรียนเพื่อไม่ให้มีการระบาดในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ๒.๑ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทัศนคติสร้างความตระหนักถึงอันตราย และปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคได้ถูกต้อง
  2. ๒.๒ เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    ๑. อาสาสมัครสาธารณสุขมีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่และมีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ๒. ประชาชนมีความรู้ ทัศนคติ และปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง ๓. ดัชนีความชุกชุมลูกน้ำยุงลาย CI =0 ๔. มีการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนนวัตกรรมในการควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการควบคุม ป้องกันไข้เลือดออกตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง  จังหวัดปัตตานี  ปี ๒๕๖๐
      ๑.กิจกรรม / วิธีดำเนินการ ๑.๑ ประชุมชี้แจงการดำเนินงานและมอบหมายหน้าที่แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในหน่วยงาน และอื่นๆ         ๑.๒ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้กับ อสม.ในพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายประชาชนที่สมัครใจเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนตระหนัก รับรู้ปัญหา การรับรู้บทบาทหน้าที่ การสร้างพลังความความสามารถในการดำเนินงานควบคุมลูกน้ำยุงลายโดยเน้นวิธีการควบคุมโรคด้วยวิธีกายภาพและชีวภาพ จัดแบ่งฐานการเรียนรู้       ๑.๓ ออกให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์โรงเรียน ๓ โรง เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ และกำจัดลูกน้ำยุงลาย
          ๑.๔ กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ ๕ หมู่บ้านๆละ ๑ ครั้ง โดยอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ
          ๑.๕ ดำเนินการพ่นหมอกควัน ทั้งพื้นที่เสี่ยงและเมื่อมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบพ่นหมอกควันภายใน ๒๔ ชั่วโมงที่รับรายงานผู้ป่วยและพ่นซ้ำหลังจากพ้นครั้งแรก ๗วัน
          ๑.๖ ประกวด อสม.ดีเด่นด้านการควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยพิจารณาจากกิจกรรมการดำเนินงานของกลุ่ม พื้นที่เขตรับผิดชอบไม่มีลูกน้ำ ความคิดสร้างสรรค์ในการควบคุมไม่ให้เกิดลูกน้ำ ส่งรายงานสำรวจลูกน้ำครบทุกเดือน พร้อมป้ายประกาศ เขตปลอดลูกน้ำยุงลาย
    ๒.ผลการดำเนินโครงการ ๒.๑ อาสาสมัครสาธารณสุขมีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่และมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีการออกรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกหมู่บ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่อาทิตย์ละครั้งและทำเป็นแบบอย่างเพื่อให้ชาวบ้านเห็นและทำตาม และจะมีการควบคุมโรคทันทีหากมีผู้ป่วยโดยจะไปพ่นหมอกวันในบ้านผู้ป่วยและรอบๆบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร และจะพ่นซ้ำเป็นครั้งที่ 2 จากนั้น 2 สัปดาห์  มีการแจกทรายอะเบต โลชั่นทากันยุง สเปรย์พ่นยุงในบ้าน รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้ตระหนักภัยพิษภัยของโรคไข้เลือดออก ๒.๒ ประชาชนมีความรู้ ทัศนคติ และปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง โดยการวัดความรู้ก่อนและหลังการอบรมให้ความรู้

    ๓.ปัญหา อุปสรรค                                                                                                      และแนวทางแก้ไข ๑. เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานระบาดคนเดียวและเจ้าหน้าที่คนอื่นๆไม่ถนัดมาก        - ให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบตาม Cashments area ลงไปควบคุม ป้องกันร่วมกับเจ้าหน้าที่ระบาดเวลามีผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบหรือช่วยกันรณรงค์

    ๒. อสม.ที่รับผิดชอบละแวกบ้านของผู้ป่วยไม่สะดวกออกมาควบคุม                  - ประสานกับ อสม.คนอื่นที่สามารถออกมาได้ มา ควบคุม ป้องกัน และสอบสวนบ้านผู้ป่วยแทนหรือ     ป้องกันกรณีมีการระบาดและไม่ตระหนักต่อบทบาทที่ได้รับมอบหมาย              สร้างทีมงานควบคุมโรคระดับหมู่บ้านขึ้นมา

    ๓.เจ้าหน้าที่, อสม รวมทั้งอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ยังขาดความรู้ เทคนิค                      - จัดอบรมเจ้าหน้าที่ อสม. และอื่นๆให้ครบทุกคนแบบละเอียด     ประสบการณ์การทำงาน

    ๔. ชาวบ้านไม่มีความตระหนักในเรื่องการป้องกันการเกิดโรค                          - ต้องอาศัยทุกหน่วยงานในการประชาสัมพันธ์และเป็นสื่อ     ไข้เลือดออกยังคิดว่าเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่หรือ อสม.                                หรือพูดคุยให้ชาวบ้านสร้างความตระหนัก เช่น นายก อบต.                                                                                                           ผู้นำศาสนา เป็นต้น
        วัสดุ/อุปกรณ์   ๕.  เครื่องพ่นชำรุดทุกตัวไม่พร้อมใช้งานได้ทันที และเครื่องพ่น                          - ส่งซ่อมศูนย์ หรือซื้อเครื่องใหม่แทน
            เล็กไม่สามารถนำไปซ่อมได้
      ๖. ขาดงบประมาณในการส่งซ่อม                                                                - จัดหางบประมาณในการส่งซ่อมเช่น งบบำรุง,งบโครงการ เป็นต้น

        ๗. ขาดความรู้ในการใช้อุปกรณ์ และการซ่อมเบื้องต้น                                    - จัดอบรมให้ความรู้เพิ่มเติม

    ๔.ข้อเสนอแนะ ๔.๑ จัดตั้งทีมงานควบคุมโรคในระดับหมู่บ้านขึ้นและมีความพร้อมเสมอเวลามีผู้ป่วยขึ้นมา ในการลงไปดำเนินการควบคุมป้องกันโรคได้ทันทีทันที พรอมทั้งมีวัสดุอุปกรณ์พร้อมทุกเมื่อ
    ๔.๒ ต้องอาศัยผู้มีอำนาจในพื้นที่ช่วยเป็นสื่อกลางสร้างให้ชาวบ้านมีความตระหนัก เช่น นายก อบต., ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เป็นต้น

    ๔.๓ อยากให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เช่น ช่วยประชาสัมพันธ์ตามหอกระจายข่าว รถกระจายเสียงตามหมู่บ้าน และชาวบ้านร่วมกันรณรงค์ เป็นต้น ๔.๔ ร่วมกันจัดทำ Big cleaning day ร่วมกันโดยการนำของทุกภาคส่วนและชาวบ้าน ๔.๕ เพิ่มหลักสูตรเสริมในการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกทุกอาทิตย์เพื่อสร้างความเคยชินให้กับนักเรียนและสามารถนำกลับไปปฏิบัติต่อที่บ้านได้


                                                                                                               

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 ๒.๑ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทัศนคติสร้างความตระหนักถึงอันตราย และปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคได้ถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : มีความรู้ ทัศนคติสร้างความตระหนักถึงอันตราย และปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคได้ถูกต้อง มากกว่า ร้อยละ 80

     

    2 ๒.๒ เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร
    ตัวชี้วัด : ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ๒.๑ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทัศนคติสร้างความตระหนักถึงอันตราย และปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคได้ถูกต้อง (2) ๒.๒ เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการควบคุม ป้องกันไข้เลือดออก ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ จังหวัด ปัตตานี

    รหัสโครงการ 60-L3045-2-04

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาวแอเสาะเหนืองตีบ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด