กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์


“ โครงการกินอย่างปลอดภัย ใสใจคุณภาพ ”

ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นางเจ๊ะคอดีย๊ะ อาแว

ชื่อโครงการ โครงการกินอย่างปลอดภัย ใสใจคุณภาพ

ที่อยู่ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 64-50110-2-18 เลขที่ข้อตกลง 18

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการกินอย่างปลอดภัย ใสใจคุณภาพ จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการกินอย่างปลอดภัย ใสใจคุณภาพ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการกินอย่างปลอดภัย ใสใจคุณภาพ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 64-50110-2-18 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2564 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 16,600.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แต่หากอาหารนั้นมีสารที่เป็นอันตรายปนเปื้อนหรือแม้แต่มีสารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้แต่มีปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดก็ย่อมให้เกิดพิษภัยกับผู้บริโภคส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วยเป็นสิ่งที่โรงเรียนต้องให้การสนับสนุน ควบคุม ดูแล เฝ้าระวังและป้องกันให้กับนักเรียน เพราะการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์หรือปนเปื้อนด้วยสารพิษ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แต่ในปัจจุบันการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้องมากนัก เพราะเด็กในวัยเรียนยังขาดความรู้ความเข้าใจและความสนใจในการเลือกบริโภคอาหารอย่างถูกหลักอนามัยและโดยส่วนใหญ่แล้วนักเรียนทานอาหารไม่ครบตามสัดส่วนของอาหาร 5 หมู่ ไม่ชอบทานผักและผลไม้ ชอบทานอาหารขยะ เช่น ขนมหวานที่มีสีฉูดฉาด ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารปิ้งย่าง อาหารหมักดอง และน้ำอัดลม เป็นต้น อาหารเหล่านี้มีคลอเรสทอรอลสูงและมีสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย เช่น โรคอ้วน โรคขาดสารอาหาร โรคฟันผุ หรือเจ็บป่วยบ่อยส่งผลกระทบต่อการเรียน ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ถูกต้องและปลอดภัย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ โรงเรียนบ้านท่าพงจึงได้จัดทำโครงการกินอย่างปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพขึ้น เพื่อร่วมมือกันสร้างเสริมสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงและนักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าพงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัยต่อสุขภาพ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  2. เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าพงมีความตระหนักในการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้
  2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน
  3. กิจกรรมตรวจสอบคุณภาพอาหารจากร้านค้าในชุมชน
  4. กิจกรรมเสียงตามสาย
  5. กิจกรรมพี่สอนน้อง เพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1 นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัยต่อสุขภาพ
7.2 นักเรียนสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการได้ 7.3 นักเรียนมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการลดลง


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมเสียงตามสายฯ

วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ให้แกนนำนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกดำเนินการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายเกี่ยวกับการให้ความรู้ในเรื่องโภชนาการ และความปลอดภัยด้านอาหารให้แก่เพื่อนๆ นักเรียนได้รับทราบโดยทั่วกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งสามารถเลือกซื้ออาหารที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัวได้ อีกทั้งยังสามารถเป็นเสียงตามสายให้กับชาวบ้านในพื้นที่ในเรื่องการเลือกซื้ออาหารที่มีคุณภาพภายในร้านค้าของชุมชนได้อีกด้วย

 

2 0

2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร

วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร และมีการฝึกทักษะทดสอบสารปนเปื้อนในอาหารแก่นักเรียนแกนนำ ระดับชั้น ป. 3 - 6 จำนวน 40 คน โดยมีวิทยากรจาก รพ.สต.ตะโละกาโปร์มาให้ความรู้ฯ อาทิ สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลีน สารฟอกขาว และสารกันรา เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร และมีความรู้ในเรื่องการทดสอบสารปนเปื้อนในอาหารอีกด้วย ซึ่งทำให้นักเรียนมีความระมัดระวังในเรื่องการเลือกซื้ออาหารที่สะอาดและปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอีกด้วย

 

0 0

3. กิจกรรมตรวจสอบคุณภาพอาหารจากร้านค้าในชุมชน

วันที่ 30 กันยายน 2564 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

มีการลงพื้นที่ไปยังร้านค้าในชุมชน โดยได้มีการสุ่มเลือกร้านค้า และจัดซื้อวัตถุดิบ อาทิ เช่น ของสด ของดอง และอาหารทะเล เพื่อมาทำการตรวจสอบสารต่างๆที่อยู่ในวัตถุดิบเหล่านั้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นักเรียนทราบถึงคุณภาพของอาหารที่มีการสุ่มตรวจคุณภาพ และทำให้รู้ว่าอาหารชนิดใดที่ควรเลือกซื้อในการรับประทาน และควรระมัดระวัง ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันในแต่ละครัวเรือนของนักเรียนได้

 

0 0

4. กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ฯ

วันที่ 30 กันยายน 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

มีการจัดทำป้ายนิเทศให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารหลัก 5 หมู่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นักเรียนมีความรู้ในเรื่องการรับประทานอาหารหลัก 5 หมู่ และสามารถเลือกซื้อและรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองได้

 

0 0

5. กิจกรรมพี่สอนน้อง เพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ให้แกนนำนักเรียนให้ความรู้ คำแนะนำ แก่น้องๆในห้องเรียน และบอกถึงอาหารที่ควรเลือกซื้ออย่างไร รวมไปถึงการเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง ถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียนของนักเรียน เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

น้องๆแกนนำมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักเรียนรุ่นน้อง และสามารถสร้างเครือข่ายในโรงเรียนได้อีกด้วย

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าพงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัยต่อสุขภาพ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ตัวชี้วัด : ร้อยละนักเรียนมีความรู้มากขึ้น
1.00 80.00

 

2 เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าพงมีความตระหนักในการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
ตัวชี้วัด : ร้อยละนักเรียนมีสุขภาพที่ดี
1.00 70.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 40
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าพงมีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัยต่อสุขภาพ  และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (2) เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าพงมีความตระหนักในการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ (2) กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน (3) กิจกรรมตรวจสอบคุณภาพอาหารจากร้านค้าในชุมชน (4) กิจกรรมเสียงตามสาย (5) กิจกรรมพี่สอนน้อง เพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการกินอย่างปลอดภัย ใสใจคุณภาพ จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 64-50110-2-18

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางเจ๊ะคอดีย๊ะ อาแว )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด