กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนละอาด มลภาวะดี ห่างไกลโรค ด้วยมือเรา หมู่ที่ 1 บ้านท่าชะมวง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5313-02-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์กรอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านท่าชะมวง
วันที่อนุมัติ 10 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 30,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกลิ่น แซ่เบ้
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30,400.00
รวมงบประมาณ 30,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านท่าชะมวงได้ประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดการขยะ เนื่องจากปัจจุบันมีความเติบโตทางเศรษฐกิจและค่านิยมของประชาชนในพื้นที่การซื้ออาหารจากตลาดหรืออาหารเพื่อบริโภคมากกว่าผลิตเองอีกทั้งประชาชนยังขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในด้านการจัดการขยะมูลฝอยซึ่งถ้าไม่มีการจัดการขยะที่ดีจะทำให้เกิดมลพิษเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจได้เพราะเมื่อใดก็ตามทีมีการจัดการขยะไม่ดีเช่นไม่ทิ้งขยะลงถังขยะทิ้งขยะลงในที่สาธารณะต่างๆไม่ได้คัดแยกขยะอันตรายเช่น (ถ่านไฟฉายหลอดไฟสารเคมียาหมดอายุฯ)ออกจากขยะทั่วไปทิ้งขยะอันตรายปะปนไปกับขยะทั่วไปเผาขยะในที่โล่งแจ้งฝังกลบขยะอย่างไม่ถูกวิธีเป็นต้นมลพิษจากขยะก็จะปนเปื้อนลงสู่สิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชนได้
จากการสำรวจข้อมูลปัญหาขยะบ้านท่าชะมวงเบื้องต้น ซึ่งมีครัวเรือนทั้งหมด553ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 2,500 คน พบว่าในแต่ละครัวเรือนมีปริมาณขยะเฉลี่ยประมาณ 90 กิโลกรัม/เดือน สภาพปัญหาการจัดการขยะ คือครัวเรือนไม่มีการคัดแยกขยะ ในถังขยะใบเดียวจะประกอบไปด้วยขยะทั่วไปขยะอันตรายและขยะรีไซเคิลมีการทิ้งขยะสองข้างทางไม่มีการจัดเก็บเมื่อฝนตกน้ำขังก่อให้เกิดลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออกได้ ดังนั้นชุมชนจึงตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหาขยะที่เกิดขึ้น และมีความประสงค์ที่จะดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาขยะในระดับครัวเรือนและชุมชน จึงได้เสนอโครงการชุมชนสะอาด มลภาวะดี ห่างไกลโรค ด้วยมือเรา หมู่ที่ 1 บ้านท่าชะมวง ตำบลละงู โดยเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชนมุ่งหวังให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา วางแผนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหามุ่งเน้นการจัดการขยะ ในครัวเรือน/ชุมชนอย่างถูกวิธี ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุดจากการคัดแยกขยะส่งผลให้ปริมาณขยะในชุมชนลดลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะและการใช้ประโยชน์จากขยะที่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 90 ของครัวเรือนนำร่องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถ จัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดตามหลัก 3r ประกอบด้วย Reduce การลดใช้ reuse การใช้ซ้ำ รีไซเคิลการนำกลับมาใช้ใหม่

0.00
2 2.เพื่อให้เกิดครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะและพัฒนาฐานข้อมูลสถานการณ์ปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในชุมชน

เกิดครัวเรือนต้นแบบและมีฐานข้อมูลสถานการณ์ปัญหาขยะบ้านท่าชะมวงร้อยละ 90

0.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,400.00 0 0.00
??/??/???? 3.กิจกรรม จัดประชุมคืนข้อมูลและพัฒนาศักยภาพครัวเรือนนำร่อง 40ครัวเรือน เรื่องการคัดแยกขยะ การใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ให้ความรู้เรื่องโรคที่มากับขยะ และร่วมกำหนดกติกาการจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน 0 14,000.00 -
??/??/???? 4.กิจกรรม ปฏิบัติการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะในครัวเรือนนำร่องจำนวน 40 ครัวเรือน 0 0.00 -
??/??/???? 5.กิจกรรม คณะทำงานติดตามเยี่ยมเสริมพลัง สร้างแรงจูงใจในการจัดการขยะในครัวเรือน 40 ครัวเรือน โดยคณะทำงานติดตามจำนวน 10 คน 0 650.00 -
??/??/???? 6.กิจกรรม ปฏิบัติการร่วมกันเก็บขยะสองข้างทางในชุมชนบ้านท่าชะมวง เดือนละ 1 ครั้งจำนวน 3 ครั้ง โดยผู้แทนคณะทำงานสีดส่วนอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 30 คน 0 1,650.00 -
??/??/???? 7.กิจกรรม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปบทเรียนการดำเนินงานเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างคณะทำงาน แกนนำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการทำงานหลังสิ้นสุดโครงการ จำนวน 40 คน 0 8,400.00 -
1 - 15 พ.ค. 64 1.กิจกรรม จัดประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ตัวแทนผู้นำศาสนา แกนนำ อสม.จำนวน 40 คน เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงาน ชี้แจงบทบาทการเป็นครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะพื้นที่ ม.1 บ้านท่าชะมวง โดยให้แต่ละครัวเรือนสำร 0 5,450.00 -
16 - 31 พ.ค. 64 2. กิจกรรม ประชุมสังเคราะห์ข้อมูลโดยตัวแทนคณะทำงานวิชาการ จำนวน 10 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาขยะและการคัดแยกของครัวเรือนนำร่องจำนวน 40 ครัวเรือน 0 250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครัวเรือนนำร่องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถ จัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดตามหลัก 3r ประกอบด้วย Reduce การลดใช้ reuse การใช้ซ้ำ รีไซเคิลการนำกลับมาใช้ใหม่
  2. เกิดครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะและมีฐานข้อมูลสถานการณ์ปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในชุมชน
  3. อัตราการป่วยจากโรคติดต่อลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2564 00:00 น.