กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการชุมชนละอาด มลภาวะดี ห่างไกลโรค ด้วยมือเรา หมู่ที่ 1 บ้านท่าชะมวง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนละอาด มลภาวะดี ห่างไกลโรค ด้วยมือเรา หมู่ที่ 1 บ้านท่าชะมวง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

องค์กรอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านท่าชะมวง

1.นางกลิ่น แซ่เบ้
2.นางฟารีดา นาคสง่า
3.นางทัศนีวรรณ เต๊ะซ่วน
4.นางสาวรมหยัน หนูยาหมาด
5.นายสมยศ เร่สัน

หมู่ที่1 บ้านท่าชะมวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

บ้านท่าชะมวงได้ประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดการขยะ เนื่องจากปัจจุบันมีความเติบโตทางเศรษฐกิจและค่านิยมของประชาชนในพื้นที่การซื้ออาหารจากตลาดหรืออาหารเพื่อบริโภคมากกว่าผลิตเองอีกทั้งประชาชนยังขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในด้านการจัดการขยะมูลฝอยซึ่งถ้าไม่มีการจัดการขยะที่ดีจะทำให้เกิดมลพิษเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจได้เพราะเมื่อใดก็ตามทีมีการจัดการขยะไม่ดีเช่นไม่ทิ้งขยะลงถังขยะทิ้งขยะลงในที่สาธารณะต่างๆไม่ได้คัดแยกขยะอันตรายเช่น (ถ่านไฟฉายหลอดไฟสารเคมียาหมดอายุฯ)ออกจากขยะทั่วไปทิ้งขยะอันตรายปะปนไปกับขยะทั่วไปเผาขยะในที่โล่งแจ้งฝังกลบขยะอย่างไม่ถูกวิธีเป็นต้นมลพิษจากขยะก็จะปนเปื้อนลงสู่สิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชนได้
จากการสำรวจข้อมูลปัญหาขยะบ้านท่าชะมวงเบื้องต้น ซึ่งมีครัวเรือนทั้งหมด553ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 2,500 คน พบว่าในแต่ละครัวเรือนมีปริมาณขยะเฉลี่ยประมาณ 90 กิโลกรัม/เดือน สภาพปัญหาการจัดการขยะ คือครัวเรือนไม่มีการคัดแยกขยะ ในถังขยะใบเดียวจะประกอบไปด้วยขยะทั่วไปขยะอันตรายและขยะรีไซเคิลมีการทิ้งขยะสองข้างทางไม่มีการจัดเก็บเมื่อฝนตกน้ำขังก่อให้เกิดลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออกได้
ดังนั้นชุมชนจึงตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหาขยะที่เกิดขึ้น และมีความประสงค์ที่จะดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาขยะในระดับครัวเรือนและชุมชน จึงได้เสนอโครงการชุมชนสะอาด มลภาวะดี ห่างไกลโรค ด้วยมือเรา หมู่ที่ 1 บ้านท่าชะมวง ตำบลละงู โดยเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชนมุ่งหวังให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา วางแผนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหามุ่งเน้นการจัดการขยะ ในครัวเรือน/ชุมชนอย่างถูกวิธี ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุดจากการคัดแยกขยะส่งผลให้ปริมาณขยะในชุมชนลดลง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะและการใช้ประโยชน์จากขยะที่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 90 ของครัวเรือนนำร่องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถ จัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดตามหลัก 3r ประกอบด้วย Reduce การลดใช้ reuse การใช้ซ้ำ รีไซเคิลการนำกลับมาใช้ใหม่

0.00
2 2.เพื่อให้เกิดครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะและพัฒนาฐานข้อมูลสถานการณ์ปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในชุมชน

เกิดครัวเรือนต้นแบบและมีฐานข้อมูลสถานการณ์ปัญหาขยะบ้านท่าชะมวงร้อยละ 90

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรม จัดประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ตัวแทนผู้นำศาสนา แกนนำ อสม.จำนวน 40 คน เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงาน ชี้แจงบทบาทการเป็นครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะพื้นที่ ม.1 บ้านท่าชะมวง โดยให้แต่ละครัวเรือนสำร

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรม จัดประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ตัวแทนผู้นำศาสนา แกนนำ อสม.จำนวน 40 คน เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงาน ชี้แจงบทบาทการเป็นครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะพื้นที่ ม.1 บ้านท่าชะมวง โดยให้แต่ละครัวเรือนสำร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 50บ.x40 คน=2,000 บ. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25.บ.x 40คนx 2 ครั้ง= 2,000 บ.
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจจำนวน 2 ครั้ง=500 บ. -ค่าป้ายโครงการ 3x 1 ม. = 450 บ.
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ = 500 บ. รวม 5,450 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 15 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5450.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรม ประชุมสังเคราะห์ข้อมูลโดยตัวแทนคณะทำงานวิชาการ จำนวน 10 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาขยะและการคัดแยกของครัวเรือนนำร่องจำนวน 40 ครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรม ประชุมสังเคราะห์ข้อมูลโดยตัวแทนคณะทำงานวิชาการ จำนวน 10 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาขยะและการคัดแยกของครัวเรือนนำร่องจำนวน 40 ครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25.บ.x 10คน= 250 บ. รวม 250 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250.00

กิจกรรมที่ 3 3.กิจกรรม จัดประชุมคืนข้อมูลและพัฒนาศักยภาพครัวเรือนนำร่อง 40ครัวเรือน เรื่องการคัดแยกขยะ การใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ให้ความรู้เรื่องโรคที่มากับขยะ และร่วมกำหนดกติกาการจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน

ชื่อกิจกรรม
3.กิจกรรม จัดประชุมคืนข้อมูลและพัฒนาศักยภาพครัวเรือนนำร่อง 40ครัวเรือน เรื่องการคัดแยกขยะ การใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท เรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ให้ความรู้เรื่องโรคที่มากับขยะ และร่วมกำหนดกติกาการจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 50บ.x40 คน=2,000 บ. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25.บ.x 40คนx 2 ครั้ง= 2,000 บ.
  • ค่าวิทยากรจำนวน 2 คน x 6 ชม.x 400 บ. = 2,400 บ.
  • ถังพลาสติก 75 ลิตร x 40 ใบ x 200 บ. = 8,000 บ.
  • กากน้ำตาล 80 กกๆละ 20บาท = 1,600 บ.
  • เอกสารประกอบการประชุมจำนวน 40 ชุด x 10 บ. = 400 บ. รวม 14,000 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

กิจกรรมที่ 4 4.กิจกรรม ปฏิบัติการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะในครัวเรือนนำร่องจำนวน 40 ครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
4.กิจกรรม ปฏิบัติการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะในครัวเรือนนำร่องจำนวน 40 ครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 5.กิจกรรม คณะทำงานติดตามเยี่ยมเสริมพลัง สร้างแรงจูงใจในการจัดการขยะในครัวเรือน 40 ครัวเรือน โดยคณะทำงานติดตามจำนวน 10 คน

ชื่อกิจกรรม
5.กิจกรรม คณะทำงานติดตามเยี่ยมเสริมพลัง สร้างแรงจูงใจในการจัดการขยะในครัวเรือน 40 ครัวเรือน โดยคณะทำงานติดตามจำนวน 10 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25.บ.x 10คน= 250 บ. - ค่าสมุดบันทึกจำนวน 40 ชุด x 10 บ. = 400 บ. รวม 650 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
650.00

กิจกรรมที่ 6 6.กิจกรรม ปฏิบัติการร่วมกันเก็บขยะสองข้างทางในชุมชนบ้านท่าชะมวง เดือนละ 1 ครั้งจำนวน 3 ครั้ง โดยผู้แทนคณะทำงานสีดส่วนอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 30 คน

ชื่อกิจกรรม
6.กิจกรรม ปฏิบัติการร่วมกันเก็บขยะสองข้างทางในชุมชนบ้านท่าชะมวง เดือนละ 1 ครั้งจำนวน 3 ครั้ง โดยผู้แทนคณะทำงานสีดส่วนอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25.บ.x 30คน= 750 บ. - ค่าถุงดำขนาด 40x30 จำนวน 10 แพ็คx 50 บ. = 500 บ. - ค่าถุงมือยางจำนวน 2 กล่อง x 200 บ. = 400 บ. รวม 1,650 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1650.00

กิจกรรมที่ 7 7.กิจกรรม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปบทเรียนการดำเนินงานเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างคณะทำงาน แกนนำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการทำงานหลังสิ้นสุดโครงการ จำนวน 40 คน

ชื่อกิจกรรม
7.กิจกรรม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปบทเรียนการดำเนินงานเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างคณะทำงาน แกนนำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการทำงานหลังสิ้นสุดโครงการ จำนวน 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 50บ.x40 คน=2,000 บ. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25.บ.x 40คนx 2 ครั้ง  = 2,000 บ.
  • ค่าวิทยากรจำนวน  6ชม.x 400 บ. = 2,400 บ.
  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการ 2เล่มx1,000 บ. = 2,000 บ รวม  8,400 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครัวเรือนนำร่องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถ จัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดตามหลัก 3r ประกอบด้วย Reduce การลดใช้ reuse การใช้ซ้ำ รีไซเคิลการนำกลับมาใช้ใหม่
2. เกิดครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะและมีฐานข้อมูลสถานการณ์ปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในชุมชน
3. อัตราการป่วยจากโรคติดต่อลดลง


>