กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ


“ โครงการเฝ้าระวังป้องกันภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีตำบลตะปอเยาะ ปี 2564 ”

จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นางสาวมาดีหะห์ สะอะ

ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีตำบลตะปอเยาะ ปี 2564

ที่อยู่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 64-ศ2497-1-9 เลขที่ข้อตกลง 17/2564

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเฝ้าระวังป้องกันภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีตำบลตะปอเยาะ ปี 2564 จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเฝ้าระวังป้องกันภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีตำบลตะปอเยาะ ปี 2564



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเฝ้าระวังป้องกันภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีตำบลตะปอเยาะ ปี 2564 " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 64-ศ2497-1-9 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 62,680.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย พบมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 8,200 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยพบรายใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 6,000 คนทั่วประเทศการทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap Smearได้มีผลการศึกษาวิจัยทั่วโลกว่าสามารถลดอุบัติการณ์ และอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าร้อยละ80 ถ้าทำได้อย่างมีคุณภาพและมีความครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายทั้งหมดได้สูงจากผลการศึกษาในหลายประเทศแสดงให้เห็นว่าการตรวจคัดกรองด้วยการทำ Pap Smear ให้ครอบคลุมกลุ่มสตรีเป้าหมายทั้งหมด มีความสำคัญต่อการลดอัตราการเกิดและอัตราตายจากโรค มะเร็งปากมดลูกมากกว่าความถี่ที่ได้รับการตรวจแต่ไม่ครอบคลุมประชากรทั้งหมด ส่วนโรคมะเร็งเต้านมผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มแรกดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านมในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจคัดกรองค้นหามะเร็งเต้านมรอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติมะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
กระทรวงสาธารสุขได้กำหนดตัวชี้วัดการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปีงบประมาณ 2563 คิดเป็นร้อยละ 20 การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม คิดเป็นร้อยละ 80 ซึ่งในปีพ.ศ. 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 60 ปี จำนวน 1,521 ราย ได้รับการตรวจคัดกรอง 231 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.19(ข้อมูล HDC วันที่ 09 พฤศจิกายน 2563) พบผู้ป่วยระยะก่อนมะเร็งจากการคัดกรอง จำนวน 9 ราย (ข้อมูลปี 2558 - 2563)และได้รับการรักษาที่เหมาะสม สามารถควบคุมได้ไม่กลายเป็นผู้ป่วยมะเร็ง ทำให้ไม่เกิดการสูญเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 60 ปี2563 จำนวน 1,521ราย ได้รับการตรวจคัดกรอง 989 ราย คิดเป็นร้อยละ 65.02 (ข้อมูล HDC วันที่ 09 พฤศจิกายน 2563)พบความผิดปกติที่ส่งพบแพทย์ 7 ราย ที่ไม่พบความผิดปกติอาจเกิดจากตรวจโดยตนเองไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่ซับซ้อนไม่เข้าใจ พร้อมทั้งกลุ่มเป้าหมายยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะเห็นความสำคัญ จึงได้มีการดำเนินโครงการสตรีตำบลตะปอเยาะ ป้องกันภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมขึ้นโดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุ 30-60ปี

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้กลุ่มสตรีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมโดยแยกรายหมู่บ้าน 5 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ 1 บ้านตะโละมีญอ 50 คน หมู่ 2 บ้านบูเกะบากง 50 คน หมู่ 3 บ้านบลูกา 50 คน หมู่ 4 บ้านบลูกาสนอ 50 คน หมู่ 5 บ้านกูยิ 50 คน
  2. 2. เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 60 ปี จำนวน 250 คน ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear และส่งต่อในรายที่มีผลการตรวจผิดปกติให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม
  3. 3 เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 60 ปี จำนวน 250คนได้รับการคัดกรองโรคเต้านมโดยตนเองและเจ้าหน้าที่ ส่งต่อในรายที่มีความผิดปกติให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. การจัดซื้อชุดโมเดลเต้านมเทียมสำหรับสาธิตการสอนตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
  2. จัดซื้อผ้าถุงสำหรับผู้รับบริการผลัดเปลี่ยนก่อนเข้ารับบริการตรวจ pap smear
  3. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ
  4. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและสาธิตการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองในหมู่บ้าน 5 หมู่ ๆ ละ 50 คน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 250
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม
  2. สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear รายที่มีผลการตรวจผิดปกติได้รับการส่งต่อไปรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมลดอัตราป่วยตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรี
  3. สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปีได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมโดยตนเองและเจ้าหน้าที รายที่มีผลการตรวจผิดปกติได้รับการส่งต่อไปรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมลดอัตราป่วยตายด้วยโรคมะเร็งเต้านมในสตรี

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ

วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-จัดจ้างทำป้ายไวนิลขนาด 1.5* 2.5 เมตร เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการเฝ้าระวังป้องกันภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลและการดำเนินโครงการเฝ้าระวังป้องกันภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม อย่างทั่วถึง

 

0 0

2. การจัดซื้อชุดโมเดลเต้านมเทียมสำหรับสาธิตการสอนตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดซื้อชุดโมเดลเต้านมเทียมสำหรับสาธิตการสอนตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองจำนวน 2 ชุด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เจ้าหน้าที่ได้ใช้ชุดโมเดลเต้านมสำหรับสาธิตการสอนตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองในการดำเนินโครงการและกลุ่มเป้าหมายสามารถสาธิตย้อนกลับโดยใช้ชุดโมเดลเต้านม

 

0 0

3. จัดซื้อผ้าถุงสำหรับผู้รับบริการผลัดเปลี่ยนก่อนเข้ารับบริการตรวจ pap smear

วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดซื้อผ้าถุงสำหรับผู้รับบริการผลัดเปลี่ยนก่อนเข้ารับบริการตรวจ pap smear จำนวน 250 ผืน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับบริการได้รับผ้าถุงสำหรับผลัดเปลี่ยนก่อนเข้ารับบริการตรวจ pap smear

 

0 0

4. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและสาธิตการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองในหมู่บ้าน 5 หมู่ ๆ ละ 50 คน

วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดประชุมชี้แจง อสม.เกี่ยวกับการดำเนินงานการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก 2.      เชิญกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการโครงการ เฝ้าระวังป้องกันภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีตำบลตะปอเยาะ
  2. จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีอายุ 30 ปี - 60 ปี เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปากมดลูก และการตรวจคัดกรองเต้านมด้วยต้นเอง
  3. จัดกิจกรรมคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่กลุ่มสตรีอายุ 30 ปี - 60 ปี 4.    สรุปโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จากการดำงานกลุ่มสตรีอายุ 30 - 60 ปี มีความรู้ในเรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเพิ่มมากขึ้น โดยการถาม - ตอบ ปากเปล่าในขณะอบรมกลุ่มสตรีอายุ 30-60 ปี สามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง จำนวน 243 คน คิดเป็นร้อยละ 97.2
  2. กลุ่มสตรีอายุ 30 - 60 ปี มีความต้องการ เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเอง และได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเจ้าหน้าที่ จำนวน 250 คน คิดเป็นร้อยละ 100
  3. กลุ่มสตรีอายุ 30 - 60 ปี มีความต้องการ เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยเจ้าหน้าที่ จำนวน 250 คน คิดเป็นร้อยละ 100

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้กลุ่มสตรีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมโดยแยกรายหมู่บ้าน 5 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ 1 บ้านตะโละมีญอ 50 คน หมู่ 2 บ้านบูเกะบากง 50 คน หมู่ 3 บ้านบลูกา 50 คน หมู่ 4 บ้านบลูกาสนอ 50 คน หมู่ 5 บ้านกูยิ 50 คน
ตัวชี้วัด : -กลุ่มสตรีอายุ 30 -60 ปีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
55.00 80.00

 

2 2. เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 60 ปี จำนวน 250 คน ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear และส่งต่อในรายที่มีผลการตรวจผิดปกติให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม
ตัวชี้วัด : - สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ร้อยละ 100 ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear
15.19 100.00

 

3 3 เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 60 ปี จำนวน 250คนได้รับการคัดกรองโรคเต้านมโดยตนเองและเจ้าหน้าที่ ส่งต่อในรายที่มีความผิดปกติให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม
ตัวชี้วัด : -สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ร้อยละ 100 ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมโดยตนเองและส่งต่อโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ร้อยละ 100
65.00 100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 250
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 250
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้กลุ่มสตรีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมโดยแยกรายหมู่บ้าน 5 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ 1 บ้านตะโละมีญอ 50 คน หมู่ 2 บ้านบูเกะบากง 50 คน หมู่ 3 บ้านบลูกา 50 คน หมู่ 4 บ้านบลูกาสนอ 50 คน หมู่ 5 บ้านกูยิ 50 คน (2) 2. เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 60 ปี จำนวน 250  คน ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear และส่งต่อในรายที่มีผลการตรวจผิดปกติให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม (3) 3 เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 60 ปี จำนวน 250คนได้รับการคัดกรองโรคเต้านมโดยตนเองและเจ้าหน้าที่ ส่งต่อในรายที่มีความผิดปกติให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การจัดซื้อชุดโมเดลเต้านมเทียมสำหรับสาธิตการสอนตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง (2) จัดซื้อผ้าถุงสำหรับผู้รับบริการผลัดเปลี่ยนก่อนเข้ารับบริการตรวจ pap smear (3) จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ (4) จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและสาธิตการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองในหมู่บ้าน 5 หมู่ ๆ ละ 50 คน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเฝ้าระวังป้องกันภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีตำบลตะปอเยาะ ปี 2564 จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 64-ศ2497-1-9

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวมาดีหะห์ สะอะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด