กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลทุ่งหว้า ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65 - L8009-04- 001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลทุ่งหว้า
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 52,204.17 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลฃทุ่งหว้า
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ณ ห้องประชุมเทศบาล ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 42 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งหว้าได้ดำเนินงานหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อให้บริหารจัดการกองทุนฯให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความคล่องตัวและมีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยดำเนินกิจกรรม 4 ประเภทคือ กิจกรรมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุข,สนับสนุนและส่งเสริมการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคขององค์กรหรือกลุ่มประชาชน หรือหน่วยงาน อื่น ,สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบศูนย์พัฒนาคุณภาพคุณภาพชีวิตหรือศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือการพัฒนาฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือคนพิการในชุมชนโดยดำการนินกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม คือ กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งหว้าเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต ๑๒ สงขลา กองทุนฯจึงต้องจัดกิจกรรมการประชุม จัดกิจกรรมการทำแผนสุขภาพเพื่อรับฟังปัญหาด้านสุขภาพที่ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนและการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนฯซึ่งเป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพราะคณะกรรมการเป็นบุคคลสำคัญในการประสานความร่วมมือของภาครัฐและภาคประชาชนที่จะทำให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนฯและเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและใจและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่ ดังนั้นคณะกรรมการจึงควรพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการบริหารกองทุนอยู่เสมอ ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งหว้า จึงจัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลทุ่งหว้าขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนฯต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ข้อที่ 1 เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนฯพิจารณาอนุมัติแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

1.โครงการได้รับพิจารณาอนุมัติแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

100.00 0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนฯพิจารณาออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน

มีระเบียบที่มีประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน

100.00 0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนฯควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

3.การควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

100.00 0.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนฯกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด

4.หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด

100.00 0.00
5 ข้อที่ 5 คณะกรรมการกองทุนฯให้ความเห็นชอบการจัดทำสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ

จัดทำสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ

100.00 0.00
6 ข้อที่ 6.ประชาชนรู้และเข้าใจในหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนฯ

6.ประชาชนรู้และเข้าใจในหลักเกณฑ์ของกองทุนฯมากขึ้น

100.00 0.00
7 ข้อที่ 7. คณะอนุกรรมการกองทุนฯจัดทำโครงการเพื่อของบสนับสนุนจากกองทุนฯ

7.โครงการได้รับงบสนับสนุนจากกองทุน

100.00 0.00
8 ข้อที่ 8. เพื่อให้คณะอนุกรรมการประสานกองทุนกับชุมชนและประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกองทุนฯ

8.ชุมชนและประชาชนได้รับการประสานงานเพื่อดำเนินงานกองทุนฯ

100.00 0.00
9 ข้อที่ 9. เพื่อให้คณะอนุกรรมการLTC เสนอ care plan และรายงานการบริการจัดดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ต่อคณะกรรมการกองทุนฯ

9.มี care plan เพื่อบริการจัดดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

100.00 0.00
10 ข้อที่ 10. เพื่อใช้จ่ายในการเข้าร่วมอบรมต่างๆ ตามที่กองทุนฯ และ สปสช. กำหนด

10.ได้เข้าร่วมการอบรมต่างๆ ตามที่กองทุนฯและ สปสช. กำหนด

100.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 52,204.17 1 28,650.00
1 ต.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 บริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งหว้า ประจำปีงบประมาณ 2565 0 52,204.17 28,650.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) กิจกรรมที่ ๑ จัดประชุม คณะกรรมการกองทุนฯ /คณะอนุกรรมการกองทุน/คณะอนุกรรมการLTC /การอบรมตามที่กองทุนฯและ สปสช. กำหนด 1.พิจารณาอนุมัติแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน 2. พิจารณาออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน
3. ควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด 4. กำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด 5. พิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทำสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ
6. คณะอนุกรรมการกองทุนฯแนะนำให้ประชาชนรู้และเข้าใจในหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนฯ 7. คณะอนุกรรมการกองทุนฯจัดทำโครงการเพื่อของบสนับสนุนจากกองทุนฯ 8. คณะอนุกรรมการประสานกองทุนกับชุมชนและประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกองทุนฯ 9. คณะอนุกรรมการLTC เสนอ care plan และรายงานการบริการจัดดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ต่อคณะกรรมการกองทุนฯ 10. อบรมต่างๆ ตามที่กองทุนฯและ สปสช. กำหนด กิจกรรมที่ 2. อบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯเทศบาลตำบลทุ่งหว้า กิจกรรมที่ 3. จัดทำแผนสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งหว้า

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.คณะกรรมการกองทุนฯได้พิจารณาอนุมัติแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน 2.คณะกรรมการกองทุนฯพิจารณาออกระเบียบการบริหารกองทุน
3.คณะกรรมการกองทุนฯควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด 4.คณะกรรมการกองทุนฯกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด 5.คณะกรรมการกองทุนฯให้ความเห็นชอบการจัดทำสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ
6.ประชาชนรู้และเข้าใจในหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนฯ 7.คณะอนุกรรมการกองทุนฯทำโครงการ
8.คณะอนุกรรมการประสานกองทุนกับหมู่บ้านและประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกองทุนฯ 9.คณะอนุกรรมการLTC ได้เสนอ care plan และรายงานการบริการจัดดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ต่อคณะกรรมการกองทุนฯ 10.ได้ดำเนินการอบรมตามที่กองทุนฯ และ สปสช. กำหนด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2564 00:00 น.