กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกินอยู่อย่างไร ห่างไกล Stroke ชุมชนตันหยงมะลิ ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L6961-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสุขศึกษา โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 47,826.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิราวรรณ ศุลกะนุเคราะห์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลก องค์การอัมพาตโลก (World Stroke Organization: WSO) รายงานว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลก 17 ล้านคน และเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 6.5 ล้านคน สถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับบริการที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ปี พ.ศ. 2562-2564 พบจำนวน๕๒๑, 504 และ 450 ราย ตามลำดับ ร้อยละผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเสียชีวิตปี พ.ศ.2562-2564 พบร้อยละ 6.14 (32/521), 3.8 (19/504) และ 9.99 (42/450) ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ร้อยละผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มาทันเวลา 3 - 4.5 ชั่วโมง ปี พ.ศ. 2562-2564 ร้อยละ ๓๕.๔๒ ๓๘.๒๔ และ 39.21 ตามลำดับ ซึ่งยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการนี้ได้ทันเวลา เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค อาการเตือน และการจัดการหรือการตระหนักถึงการป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ การสูบบุหรี่ รวมทั้งภาวะไขมันในเลือดสูง และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยของโรคหลอดเลือดสมองในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับ Stroke Fast Track การฉีดยาละลายลิ่มเลือดในเวลา 4.5 ชั่วโมง ลดอัตราตายและความพิการได้
ในเขตรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 มีผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง จำนวน 1,862 ราย โรคเบาหวาน จำนวน 767 ราย โรคความดันโลหิตสูงร่วมกับเบาหวาน 612 และโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 84 ราย และมารับการตรวจรักษาและรับยาที่ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 3 จำนวน 100 ราย/สัปดาห์ (ในวันคลินิกเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง) และในชุมชนตันหยงมะลิ มีผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง 98 ราย โรคเบาหวาน 12 ราย ความดันโลหิตสูงร่วมกับโรคเบาหวาน 39 ราย และโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 2 ราย ผู้ป่วยติดเตียง 1 ราย ซึ่งสอดคล้องกับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งพบว่ากลุ่มที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเป็นกลุ่มที่มีมากที่สุด และจากการสำรวจข้อมูลในชุมชนนี้พบว่ามีอุบัติการณ์และความชุกของผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองยังสูง และคนในชุมชนไม่ทราบแนวทางและการป้องกัน เมื่อมีบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อมีอาการแสดงเกิดขึ้น ซึ่งถ้าการช่วยเหลือมีความล่าช้า จะส่งผลให้ภาวะโรคมีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความพิการได้
ดังนั้นเพื่อให้ภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าวได้รับการส่งเสริม ป้องกันและควบคุมโรค โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย สอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น งานการพยาบาลชุมชน ฝ่ายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก เจ้าหน้าที่ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ร่วมกับ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านชุมชนตันหยงมะลิ จึงจัดทำโครงการกินอยู่อย่างไร ห่างไกล Stroke ชุมชนตันหยงมะลิ ปี 2565 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง อาการเตือน และการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
  • ร้อยละของประชาชนมีระดับคะแนนความรู้ความเข้าใจของโรคหลอดเลือดสมองอาการเตือน และการป้องกันโรคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานมีการจัดการตนเอง มีทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง
  • ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีการจัดการตนเองมีทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
0.00
3 เพื่อให้กลุ่มป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นความเสี่ยงต่อโรคหลอดหลอดเลือดสมองเพื่อป้องกันการเกิดโรค ป้องกันการกลับเป็นซ้ำหรือควบคุมอาการของโรคไม่ให้รุนแรงมากขึ้น
  • ร้อยละของผู้ป่วยมีระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยลดลงอยู่ในเกณฑ์ ร้อยละ 50
0.00
4 เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

อัตราตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองน้อยกว่าร้อยละ 7

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 47,826.00 0 0.00
18 มี.ค. 65 กิจกรรมที่ 1 แต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงาน และจัดทำเวทีประชาคม 0 1,450.00 -
26 - 30 มี.ค. 65 กิจกรรมที่ 3 ฝึกการกายบริหารด้วยวิถีชุมชน เดิน-วิ่ง/รองเง็งแอโรบิค 0 4,250.00 -
31 มี.ค. 65 กิจกรรมที่ 2 วันเปิดโครงการ กินอยู่อย่างไร ห่างไกล Stroke 0 32,126.00 -
20 มิ.ย. 65 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสาธิตเมนูอาหารลดหวาน มัน เค็ม เพื่อสุขภาพ 0 7,500.00 -
16 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 5 ติดตามความก้าวหน้าหลังให้ความรู้และติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมอง 0 2,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองที่ถูกต้องมีทักษะ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรคที่เหมาะสม กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องได้รับการรักษาตามแนวทางมาตรฐานการรักษาและมีสุขภาพดีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองลดลง
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเรื่องอาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และการงดสูบบุหรี่ ดื่มสุราได้อย่างถูกต้อง
  3. อาสาสมัครประจำหมู่บ้านมีศักยภาพและความสามารถในการบริการเชิงรุกในชุมชนเพื่อประเมินสภาวะสุขภาพของครอบครัวและชุมชนได้
  4. ลดอัตราการเสียชีวิตและลดความพิการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2565 00:00 น.