กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดบริการคลินิกใกล้บ้าน ลดเสี่ยง ลดโรค
รหัสโครงการ 2565-L3351-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 30 กันยายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 29 กรกฎาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2565
งบประมาณ 23,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอนก กลิ่นรส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน
130.00
2 2. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาโรคเรื้อรังกำลังเป็นภัยคุกคามสุขภาพที่สำคัญของคนไทยเนื่องจากโรคเรื้อรังที่เมื่อเริ่มเป็นแล้วมักไม่หายขาดจะต้องให้การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมอาการของโรคไม่ให้ลุกลามจนเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเป็นอันตรายรุนแรงจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าประชาชนไทยเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งโรคเรื้อรังที่พบมากได้แก่โรคหัวใจโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นทุกปีและจากข้อมูลการรักษาที่แผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพัทลุงด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆเพิ่มขึ้นทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นและผู้ป่วยเกิดความท้อแท้เหนื่อยหน่ายหมดกำลังใจจากการศึกษาและวิเคราะห์หาสาเหตุพบว่าสาเหตุที่ผู้ป่วยต้องกลับเข้ามารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในเป็นประจำเรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้1) การเดินทางมารับบริการไม่สะดวกทำให้ผู้ป่วยขาดนัดและการรักษาไม่ต่อเนื่อง2) ผู้ป่วยขาดความรู้มีทัศนะคติและการปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องทำให้การดูแลสุขภาพไม่ถูกต้อง3) ผู้ป่วยท้อแท้หมดกำลังใจจากการเจ็บป่วยทำให้ละเลยในการดูแลสุขภาพ4) ญาติครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพน้อยดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโคกชะงายร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวจึงจัดทำโครงการให้บริการคลินิกผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานโรคเก๊าต์ในพื้นที่เขตบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวและใกล้เคียงกำหนดเดือนละ1ครั้งตรงกับวันศุกร์แรกของทุกเดือนโดยได้รับความร่วมมือจากพยาบาลเวชปฏิบัติเครือข่ายบริการปฐมภูมิหัวถนนคือโรงพยาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน หัวถนนและทีมสหสาขาวิชาชีพโรงพยาบาลพัทลุงให้บริการดูแลผู้ป่วยและกระตุ้นให้ผู้ป่วยญาติชุมชนเห็นความสำคัญและร่วมกันดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและไขมันทุกราย

กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและไขมันทุกราย ไม่พบภาวะแทรกซ้อน

160.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 40

ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 40

28.00 40.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 50

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 50

32.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,200.00 4 23,200.00
18 มี.ค. 65 - 29 ก.ค. 65 ให้สุุขศึกษารายกลุ่มลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 0 0.00 0.00
13 พ.ค. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 30 คนโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 130 คน (แบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 80 คน) 0 23,200.00 23,200.00
15 มิ.ย. 65 ติดตามเยี่ยมและประเมินผล 0 0.00 0.00
22 มิ.ย. 65 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทุกรายไม่มีภาวะแทรกซ้อน
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 40
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมความดันโลหิต ได้ดี ร้อยละ 50
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565 00:00 น.